ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญาคานางาวะ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: '''สนธิสัญญาคะนะงะวะ''' ({{Nihongo|Kanagawa Treaty|神奈川条約|Kanagawa Jōyaku}}) หรือ '''ข้อตกลงคะนะ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:34, 29 ธันวาคม 2553

สนธิสัญญาคะนะงะวะ (ญี่ปุ่น: Kanagawa Treatyโรมาจิ神奈川条約ทับศัพท์: Kanagawa Jōyaku) หรือ ข้อตกลงคะนะงะวะ (ญี่ปุ่น: Convention of Kanagawaโรมาจิ日米和親条約ทับศัพท์: Nichibei Washin Jōyaku; "สนธิสัญญาสัมพันธไมตรีและมิตรภาพญี่ปุ่น-สหรัฐอเมริกา") เป็นสนธิสัญญาที่ได้ทำขึ้นระหว่างพลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพอร์รี แห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลโชกุนโทะกุงะวะ สนธิสัญญาดังกล่าวมีผลให้ญี่ปุ่นต้องเปิดเมืองท่าชิโมดะและฮาโกดาเตะให้ค้าขายกับสหรัฐอเมริกาและรับประกันความปลอดภัยของกะลาสีเรือแตกชาวอเมริกัน อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาดังกล่าวมิได้สร้างพื้นฐานสำหรับการตั้งถิ่นฐานถาวรในบริเวณดังกล่าว[1] สนธิสัญญาได้วางรากฐานสำหรับสหรัฐในการรักษากงสุลถาวรในชิโมดะ การมาถึงของกองเรือของเพอร์รีนำมาซึ่งการสิ้นสุดของนโยบายตัดขาดจากโลกภายนอกเป็นเวลา 200 ปีของญี่ปุ่น (ซาโกกุ)[2]

เพอร์รีเดิมปฏิเสธที่จะเจรจากับเจ้าหน้าที่ทางการของญี่ปุ่นและต้องการเจรจากับประมุขแห่งรัฐของญี่ปุ่นโดยตรง ในเวลานั้น โชกุน โทะกุงะวะ อิเอโยชิ เป็นผู้ปกครองโดยพฤตินัยของญี่ปุ่น สำหรับจักรพรรดิ ในการที่จะมีปฏิสัมพันธ์ในทางใดกับชาวต่างประเทศเป็นสิ่งที่ปราศจากข้อสงสัย เพอร์รีจึงทำสนธิสัญญากับผู้แทนของโชกุน และได้รับการอนุมัติอย่างไม่ค่อยเต็มใจในเวลาต่อมาโดยสมเด็จพระจักรพรรดิเคโม[3]

สนธิสัญญาคะนะงะวะ ตามมาด้วยสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีและการค้า หรือ "สนธิสัญญาแฮริส" ใน ค.ศ. 1858 ซึ่งอนุญาตให้สัมปทานแก่ชาวต่างประเทศ การมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่ชาวต่างประเทศ และการจำกัดภาษีขาเข้าของสินค้าต่างประเทศ ญี่ปุ่นในเวลาต่อมาจะอยู่ภายใต้ "ระบบสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรม" อันเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างชาติเอเชียและชาติตะวันตกในยุคสมัยดังกล่าว[4]

เชิงอรรถ

  1. "From Washington; The Japanese Treaty-Its Advantages and Disadvantages-The President and Col. Rinney, &c.," New York Times. October 18, 1855.
  2. Perry, Matthew Calbraith. (1856). Narrative of the expedition of an American Squadron to the China Seas and Japan, 1856.
  3. Cullen, Louis M. (2003). A History of Japan, 1582-1941: Internal and External Worlds, p. 173-185.
  4. Bert Edström, Bert. (2000). The Japanese and Europe: Images and Perceptions, p. 101.

แหล่งข้อมูลอื่น