เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 193:
 
ไม่ทราบว่าทำไมไม่ใช้ชื่อที่คุ้นเคย (ฟรังซิส เซเวียร์) ล่ะครับ --[[ผู้ใช้:Rattakorn c|Rattakorn]] 11:19, 28 ธันวาคม 2553 (ICT)
 
==ชี้แจงการตอบข้อปรึกษาของคุณ Rattakorn c==
ก่อนอื่นผมต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่งกับข้อวินิจฉัยที่ผิดพลาดเกี่ยวกับการตั้งชื่อบทความเทศกาลทางศาสนา เนื่องจากพบชื่อบทความ[[คริสต์มาส]] [[อีสเตอร์]] ซึ่งละคำว่าวันไว้ ต้องขออภัยจริงๆ ครับ
 
ที่คุณ Clumsy ถามว่าเอาศัพท์มาจากไหน ขอเรียนว่า ทุกคำผมได้ยึดตาม ''พจนานุกรม ศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน'' พิมพ์ครั้งที่ ๓ (แก้ไขเพิ่มเติม) ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด เพื่อความกระจ่างของคุณ จึงขอเพิ่มที่มาดังนี้ครับ
* Advent แปลว่า เทศกาลเตรียมรับเสด็จ (หน้า 20)
* Pentecost แปลว่า เทศกาลเพนเทคอสต์ (หน้า 420)
* Easter แปลว่า วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์ (หน้า 199)
* Christmas แปลว่า คริสต์มาส (หน้า 161)
* Canon law แปลว่า กฎบัญญัติของคริสตจักร (หน้า 143) คำนี้พจนานุกรมดังกล่าวแสดงไว้ในภาคอธิบาย ส่วน "ประมวลกฎหมายโรมันเกี่ยวกับศาสนา" อยู่ในพจนานุกรมศัพท์นิติศาสตร์ ซึ่งแสดงเป็นคำหลัก ผมเพิ่งทราบว่าได้ระบุไว้ด้วย และเห็นด้วยที่จะยึดตามราชบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ เป็นหลัก เพราะถือเป็นศัพท์กฎหมาย
 
อย่างไรก็ตาม กฎของวิกิให้ยึดศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าไม่มีให้ใช้ศัพท์ที่เป็นที่คุ้นเคยโดยทั่วไป ถ้าไม่มีอีกก็ให้ทับศัพท์ตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตฯตามลำดับ (ดูจาก[[วิกิพีเดีย:หลักการตั้งชื่อบทความ|หลักการตั้งชื่อบทความ]] หัวข้อการทับศัพท์) ไม่ได้ระบุให้ยึดตามคัมภีร์ก่อน
 
การยึดศัพท์ตามคัมภีร์ไบเบิลมักจะพบปัญหาที่ภาคภาษาไทยมีหลาย version ฉบับคาทอลิกใช้ศัพท์อย่างหนึ่ง โปรเตสแตนต์ก็ใช้อีกอย่างหนึ่ง แม้แต่ภายในโปรเตสแตนต์เองก็มีหลายฉบับ ทั้งไบเบิลฉบับอมตธรรมร่วมสมัย ฉบับสมาคมพระคริสตธรรมไทย ซึ่งมีทับศัพท์ต่างๆแตกต่างกันไป กรณี Pentecost ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง เพราะของคุณ Clumsy ใช้ '''เพ็นเทคศเต''' ของคุณ Rattakorn c ใช้ '''เปนเตกอสเต''' แต่ไบเบิ้ลฉบับที่ผมถืออยู่คือฉบับสมาคมพระคริสตธรรมไทย ได้ทับศัพท์ว่า '''เพ็นเทคอสต์''' (หน้า 183) ครับ
 
การที่คุณเห็นว่า การใช้ชื่อบทความอีกอย่าง ในเนื้อหาอีกอย่าง ทำให้ไม่เป็นเอกภาพของเนื้อหา แต่ผมมองว่าไม่เสียหาย เพราะถ้าอธิบายให้ชัดว่าศัพท์ว่าอันไหนเป็นคำที่นิยมเรียก อันไหนเป็นศัพท์ที่ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติ การใช้ควบคู่กันจะทำให้ไม่น่าเชื่อถือตรงไหน
 
ประการสุดท้าย ผมอยากให้คุณ Clumsy ได้เห็นพจนานุกรม ศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ ๓ (แก้ไขเพิ่มเติม) โดยเร็วจะได้เข้าใจศัพท์ต่างๆไปในทางเดียวกันด้วยครับ--[[ผู้ใช้:พุทธามาตย์|พุทธามาตย์]] 22:01, 28 ธันวาคม 2553 (ICT)