ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญานานกิง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
r2.5.2) (โรบอต เพิ่ม: ca, de, eo, es, eu, fa, fi, fr, he, hu, id, it, ja, ko, my, nl, no, pl, pt, ru, sv, ta, tr, uk, zh, zh-yue
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 15:
ในส่วนของอังกฤษ รับรองว่าจะถอนกำลังทั้งหมดจากนานกิงและคลองต้ายุ่นเหอ (คลองหลวง) หลังจากจักรพรรดิจีนทรงเห็นชอบในสนธิสัญญาดังกล่าวและได้รับเงินชำระงวดแรกแล้ว (มาตรา 12) ทหารอังกฤษจะยังคงประจำอยู่ในกู่ลั่งอวี่และโจวซานจนกระทั่งรัฐบาลชำระค่าปฏิกรรมสงครามจนหมด
 
=== การยกฮ่องกงให้แก่อังกฤษ ===
ใน ค.ศ. 1841 ต้นร่างคร่าว ๆ ของสนธิสัญญาถูกส่งไปเพื่อขอคำชี้แนะจากอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็ม ชาร์ลส์ อีเลียต โดยฉบับร่างดังกล่าวมีข้อความว่า "การยกเกาะ [islands] _____" พอตทิงเจอร์ส่งฉบับร่างเก่าของสนธิสัญญาขึ้นฝั่ง โดยมีอักษร s ถูกตัดออกจากคำว่า "เกาะ" (เปลี่ยนจากพหูพจน์เป็นเอกพจน์) และคำว่า "ฮ่องกง" ได้ถูกเติมลงไปในช่องว่างดังกล่าว โรเบิร์ต มอนต์โกเมรี มาร์ติน เสนาบดีการคลังฮ่องกง ได้เขียนในรายงานอย่างเป็นทางการว่า:
<blockquote>
หลังจากที่ได้มีการอ่านเงื่อนไขสนธิสัญญาสันติภาพ อีหลี่ปู้ ข้าหลวงอาวุโส ชะงักไปชั่วคราว รอคอยว่าจะกล่าวอะไรเพิ่มหรือไม่ และในที่สุดก็ได้กล่าวว่า "มีอะไรอีกไหม" คุณมอร์ริสันถามพันโทมัลคอล์มว่ามีอะไรเพิ่มอีกไหม และได้รับการปฏิเสธ อีหลี่ปู้ได้กล่าวปิดการเจรจาอย่างรวดเร็วและด้วยไหวพริบโดยกล่าวว่า "ทุกอย่างได้รับการยินยอม ถือว่าเป็นอันตกลง มันจบแล้ว"
</blockquote>
 
รัฐบาลชิงได้ตกลงที่จะยกเกาะฮ่องกงให้เป็นราชอาณานิคมของอังกฤษ โดยผนวกเข้ากับสมเด็จพระราชินีอังกฤษ "ทรงดำรงอยู่ตลอดกาล" เพื่อให้พ่อค้าชาวอังกฤษมีท่าเรือไว้สำหรับขนสินค้าขึ้นฝั่ง (มาตรา 3) ในภายหลัง พอตทิงเจอร์ได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าราชการฮ่องกงคนแรก
 
ใน ค.ศ. 1860 อาณานิคมได้ขยายออกไปรวมกับคาบสมุทรเกาลูน และใน ค.ศ. 1898 ข้อตกลงปักกิ่งที่สองได้ขยายอาณานิคมออกไปเป็นการเช่านิวเทอร์ริทอรีส์ ใน ค.ศ. 1984 รัฐบาล[[สหราชอาณาจักร]]และ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ได้สรุปปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษต่อปัญหาฮ่องกง โดยที่อธิปไตยเหนือดินแดนที่อังกฤษเช่า ร่วมกับเกาะฮ่องกงและเกาลูน (ทางใต้ของถนนบาวน์เดอรี) ผนวกเข้าภายใต้ข้อตกลงปักกิ่ง (1860) มีกำหนดจะโอนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997
 
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจีน]]