ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญานานกิง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 7:
=== การค้ากับต่างประเทศ ===
จุดประสงค์หลักของสนธิสัญญาคือเพื่อเปลี่ยนแปลงเค้าโครงการค้ากับต่างประเทศซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1760 ([[ระบบกว่างโจว]]) สนธิสัญญาดังกล่าวได้ยกเลิกการผูกขาดการค้าระหว่างประเทศของ[[สิบสามโรงงาน]] (มาตรา 5) ใน[[กว่างโจว]] และให้เปิดเมืองท่า 5 แห่งค้าขายกับต่างประเทศแทน ได้แก่ กว่างโจว (เกาะชามีม กระทั่ง ค.ศ. 1943) อามอย ([[เซียะเหมิน]] กระทั่ง ค.ศ. 1930) [[ฝูโจว]] [[หนิงโบ]] และ[[เซี่ยงไฮ้]] (จนถึง ค.ศ. 1943) ที่ซึ่งชาวอังกฤษได้รับอนุญาตให้ค้าขายได้อย่างเสรี อังกฤษยังได้รับสิทธิ์ในการส่งกงสุลไปยังเมืองท่าสนธิสัญญาได้ ซึ่งได้รับสิทธิ์ให้ติดต่อโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ทางการท้องถิ่นจีน (มาตรา 2) สนธิสัญญาดังกล่าวยังได้กำหนดเงื่อนไขว่าการค้าในเมืองท่าสนธิสัญญาควรจะมีการเก็บภาษีศุลกากรในอัตราที่แน่นอน ซึ่งได้รับการตกลงระหว่างอังกฤษและรัฐบาลราชวงศ์ชิง (มาตรา 10)
 
=== ค่าปฏิกรรมสงครามและการเลิกระดมพล ===
[[ราชวงศ์ชิง]]ถูกบีบบังคับให้จ่ายเงินเป็นมูลค่าหกล้านดอลล่าร์เงินเป็นค่า[[ฝิ่น]]ที่ถูกยึดโดยหลิน ซีซู ใน ค.ศ. 1839 (มาตรา 4) อีกสามล้านดอลล่าร์เป็นค่าชดเชยหนี้ที่พ่อค้าพ่อค้าจีนในกว่างโจวติดหนี้พ่อค้าอังกฤษ (มาตรา 5) และอีกสิบสองล้านดอลล่าร์เป็น[[ค่าปฏิกรรมสงคราม]]ชดเชยความเสียหายจากสงคราม (มาตรา 6) รวมเป็นมูลค่า 21 ล้านดอลล่าร์ โดยจะต้องผ่อนชำระจนหมดในเวลาสามปีและราชวงศ์ชิงจะถูกคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5 ต่อปีหากชำระเงินไม่เป็นไปตามกำหนด (มาตรา 7)
 
ราชวงศ์ชิงรับรองจะปล่อยตัวเชลยศึกชาวอังกฤษทุกคน (มาตรา 8) และให้ประกาศนิรโทษกรรมชาวจีนที่ให้ความร่วมมือกับอังฤษระหว่างสงคราม (มาตรา 9)
 
ในส่วนของอังกฤษ รับรองว่าจะถอนกำลังทั้งหมดจากนานกิงและคลองต้ายุ่นเหอ (คลองหลวง) หลังจากจักรพรรดิจีนทรงเห็นชอบในสนธิสัญญาดังกล่าวและได้รับเงินชำระงวดแรกแล้ว (มาตรา 12) ทหารอังกฤษจะยังคงประจำอยู่ในกู่ลั่งอวี่และโจวซานจนกระทั่งรัฐบาลชำระค่าปฏิกรรมสงครามจนหมด
 
 
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจีน]]