ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำบลรังกาใหญ่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aaroadsthai (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล เทศบาล <!-- ข้อมูลจำเป็น --> |เทศบาล= ตำบลรังกาใหญ่ |[[ไฟ...
 
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ลอก http://www.rungkayai.go.th/index.php?mod=blog&path=blog&id_sub=144
บรรทัด 29:
* '''ทิศใต้''' ติดต่อกับ [[องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมสร้างตนเอง]] [[อำเภอพิมาย]] [[จังหวัดนครราชสีมา]]
* '''ทิศตะวันตก''' ติดต่อกับ [[องค์การบริหารส่วนตำบลในเมือง]] [[อำเภอพิมาย]] [[จังหวัดนครราชสีมา]]
 
==ประวัติศาสตร์ ตำบลรังกาใหญ่==
บันทึกจากคำบอกเล่าของ คุณตาแปลก กาศก้อง ตำบลรังกาใหญ่ เริ่มต้นจากการตั้งเป็นหมู่บ้านก่อน เมื่อประมาณพุทธศักราช ๒๓๖๙ โดย ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดข้าพเจ้านายแปลก กาศก้อง อยู่บ้านเลขที่ ๙๘/๑ หมู่ที่ ๘ ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้รับคำบอกเล่าจาก ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติผู้ใหญ่บางท่านว่า เมื่อประมาณ ๑๖๐ ปี ที่ผ่านมาแถบบ้านรังกา มีสภาพพื้นที่เป็นป่าดงใหญ่ มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย มีหนองน้ำใหญ่ ในเขตหมู่บ้าน อาทิ ลำน้ำเค็ม (เป็นลำน้ำสาขาของลำน้ำมูลชื่อลำน้ำเค็มแต่น้ำไม่มีรสเค็ม) หนองรังกาใหญ่ หนองโสมง ( อ่านว่าหนอง – สะ – โหมง ) หนองเสือเฒ่า หนองสาน หนองเรือ หนองรัง หนองโป่ง เป็นต้น ด้วยเหตุที่มีภูมิประเทศเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีลำน้ำและลำธารมากมายจึงทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ทำนา โดยใช้พื้นที่ส่วนที่เป็นดงดอนปลูกพืชไร่ จำพวก มันสำปะหลัง ถั่วลิสง ข้าวโพด อ้อย ( เรียกว่าอ้อยคันร่ม ) แตงโม แตงไทย เป็นต้น
ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าให้ฟังว่า หลังจากสงครามการสู้รบระหว่าง เจ้าอนุวงศ์เจ้าเมืองเวียงจันทน์ กับพระยาปลัดเมืองนครราชสีมา ราวปี พุทธศักราช ๒๓๖๐ - ๒๓๗๐ มีทหารคนหนึ่งชื่อดำเป็นคนพิมาย มีถิ่นกำเนิดและตั้งบ้านเรือนอยู่ข้างเมรุพรหมทัต รับราชการทหารสู้รบ กับกองทัพเจ้าอนุวงศ์ มีความสามารถในการยิงปืนได้อย่างแม่นยำ ทหารดำ ช่วยคุณหญิงโมสู้รบจนชนะเจ้าอนุวงศ์ป้องกันเมืองนครราชสีมาไว้ได้และต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็นท่านขุนชื่อ “ ขุนชาญ ”
หลังจาก “ ขุนชาญ ” ปลดจากราชการแล้วได้ยึดอาชีพเป็นนายพรานเที่ยวล่าเนื้อไปจนถึงบริเวณพื้นที่บ้านรังกา เห็นภูมิประเทศแถบนี้เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือน จึงได้ชักชวนเพื่อนบ้านมา ตั้ง ถิ่นฐานที่นี่ โดยตั้งเป็นหมู่บ้านทางทิศใต้ห่างจากหนองน้ำใหญ่ประมาณ ๔๐๐ - ๕๐๐ เมตร ในหนองน้ำนั้นมีหญ้าชนิดหนึ่งขึ้นอยู่เต็มเรียกว่า “ หญ้ารังกา ” ต่อมาได้มีชาวบ้านจากถิ่นอื่นอพยพมาตั้งถิ่นฐานมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เป็นหมู่บ้านใหญ่ขึ้นจึงเพิ่มคำว่า “ ใหญ่ ” ต่อท้ายชื่อหมู่บ้านเรียกชื่อใหม่ว่า “ บ้านหนองรังกาใหญ่ ” นานวันเข้าคำว่า “ หนอง ” หายไปเหลือชื่อเป็น “บ้านรังกาใหญ่ ” มาจนถึงปัจจุบันนี้
จากการที่ประชาชนในหนองบ้านรังกาใหญ่นับถือศาสนาพุทธ อยู่แล้วลูกชายของขุนชาญ ชื่อ “ รอด ” จึงได้ชักชวนชาวบ้านสร้างวัดขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจและประกอบศาสนกิจ โดยนิมนต์ “ หลวงพ่อเพ็ง และหลวงพ่อรอด ” จากวัดกลางนคร หรือวัดพระนารายณ์มหาราช อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาในปัจจุบันมาเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างวัด ตั้งชื่อว่า “ วัดใหม่เรไรร้อง ” เพื่อให้คล้องจองกับชื่อหมู่บ้าน “ หนองรังกาใหญ่ ” ในปีพุทธศักราช ๒๔๒๔ ได้สร้างโบสถ์ขึ้น ๑ หลัง แต่การก่อสร้างวัดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานว่าก่อสร้างขึ้นในปีใด ต่อมากุฏิถูกไฟไหม้หมดทั้งหลัง ชาวบ้านรังกาใหญ่จึงได้ร่วมกันก่อสร้างขึ้นใหม่ อีกครั้ง และเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “ วัดการเวก ” จนถึงปัจจุบันนี้
บ้านรังกาใหญ่นั้น สันนิษฐานกันว่าครั้งแรกคงจะขึ้นกับตำบล ประตูชัย (ตำบลในเมือง อำเภอพิมายในปัจจุบัน) ต่อมาแยกเป็นตำบล รังกาใหญ่ โดยรวมเอาหมู่บ้านฉกาจ - ช่องโค บ้านตะปัน บ้านรังกาน้อย บ้านรังกาใหญ่ บ้านหนองน้ำกิน บ้านพุทรา
:* กำนันคนแรก ชื่อกำนันคุ้ม ค้าขาย
:* คนที่ ๒ ชื่อกำนันบัว ค้าขาย
:* คนที่ ๓ ชื่อกำนันเขียว สุขสบาย
:* คนที่ ๔ ชื่อกำนันพูน สุขสบาย
ต่อมาราวปีพุทธศักราช ๒๔๘๔ ตำบลรังกาใหญ่ถูกยุบให้ไปขึ้นกับตำบลในเมืองอีกครั้ง จนถึงปีพุทธศักราช ๒๔๙๐ ชาวตำบลรังกาใหญ่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตำบลรังกาใหญ่ใหม่อีกครั้งหนึ่ง
:* กำนันคนแรกชื่อกำนันพรหม กาศก้อง
:* คนที่ ๒ ชื่อกำนันฉัตร พันธุ์ดี
:* คนที่ ๓ ชื่อกำนันเกษม ซื่อตรง
:* คนที่ ๔ ชื่อกำนันอนุกูล ศรีชมภู
:* คนปัจจุบัน ชื่อกำนันสุรชาติ กลุ่มกลาง
เล่ากันว่าในช่วงที่ขุนชาญปกครองดูแลชาวบ้านอยู่นั้น ได้มีชาวจีนคนหนึ่ง ชื่อ “ โค่ย ” ชาวบ้านแถบนี้นิยมเรียกว่า “ เจ็กโค่ย ” หรือ “ เจ็กค่วย ” เดินทางมาจากเมืองจีนได้แจวเรือเข้ามาเร่ขายสินค้าในแถบพื้นที่บ้านรังกาใหญ่ โดยจอดเรืออยู่ที่บริเวณหนองน้ำใหญ่ ชาวบ้านที่ออกไปหาซื้อของใช้จากเรือของเจ็กโค่ย จึงเรียกหนองน้ำนี้ว่า “ หนองเรือ ” จนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมาเจ็กโค่ย ได้แต่งงานมีครอบครัวอยู่บ้านรังกาใหญ่ ซึ่งเป็นคนไทยจนมีลูกหลานมากมาย จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ พุทธศักราช ๒๔๖๔ มีประกาศให้ใช้พระราชบัญญัตินามสกุล ลูกหลานของเจ็กโค่ย จึงมักใช้ชื่อสกุลที่ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยคำว่า “ค้า ” และชื่อสกุลซึ่งถือว่าเป็นต้นสกุลของเจ็กโค่ย คือ “ สืบค้า ” และมีอีก มากมาย เช่น ค้าขาย, ค้าชอบ, ชอบค้า, ค้าสบาย, ค้าเครื่องเรือน, ถนัดค้า, ค้าโชค, โชคค้า, ค้ากระบือ, การค้า ,สมัครค้า, คิดพ่อค้า เป็นต้น
จากการที่มีบรรพบุรุษเป็นคนจีนที่ชอบการค้าขายจึงทำให้ชาวตำบลรังกาใหญ่ในรุ่นหลังๆ ก็ยังประกอบอาชีพค้าขายควบคู่กับการทำไร่ทำนา กล่าวคือหลังจากฤดูเก็บเกี่ยว ชาวตำบลรังกาใหญ่จะออกไป ค้าขายที่เรียกว่าค้าขายเร่ ตามหมู่บ้าน อำเภอ และจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยสมัยก่อนกองคาราวานเกวียน นำสินค้าไปขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้า ตามหัวเมืองประเทศกัมพูชา (สมัยนั้นเรียกว่าเขมรต่ำ) สินค้าที่นำไปเร่ขายหรือแลกเปลี่ยน ได้แก่ ผ้าไหม, ผ้าฝ้าย ขันลงหิน , ขันทองเหลือง, เสื้อผ้า , เสื่อหวาย และเครื่องใช้ในครัวเรือนอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนั้นเมื่อขายสินค้าหมดแล้วจะไม่เดินทางกลับมา มือเปล่า จะต้องนำสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน หรือจากอำเภอจังหวัด ที่ไปเร่ขายแลกเปลี่ยนมา จำหน่ายใน ท้องที่อื่นอีกเรื่อยไป
ในปัจจุบัน ได้เปลี่ยนยานพาหนะจากกองคาราวานเกวียน เป็นรถยนต์, รถจักรยานยนต์ ชาวตำบลรังกาใหญ่ก็ยังค้าขายเร่กันอยู่จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเรื่อง ของ การค้าขายที่ชาวตำบลรังกาใหญ่ทำสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน และสิ่งที่ชาวตำบลรังกาใหญ่ภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งก็คือตำบล รังกาใหญ่เป็นถิ่นกำเนิดตำนานมวยเมืองไทย “ ยักษ์สุขผีโขมด ” หรือ สุข ปราสาทหินหิมาย ที่ทำให้มวยไทยเป็นที่รู้จักของคน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ ประวัติศาสตร์ก็ได้จารึกไว้อีกครั้งหนึ่งคือ สุริยา ปราสาทหินพิมาย ซึ่งเป็นหลานชายแท้ ๆ ของสุข ปราสาทหินพิมาย ได้รับรางวัลเหรียญทองแดงกีฬา โอลิมปิกในกีฬามวยสากล เป็นความภาคภูมิใจของชาวตำบลรังกาใหญ่อีกครั้งหนึ่ง
 
==ประวัติ==