ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปางสมาธิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thanit (คุย | ส่วนร่วม)
Thanit (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 3:
*'''ปางสมาธิ''' เป็นชื่อเรียก[[พระพุทธรูป]]ลักษณะนั่งสมาธิ นั่งลำพระองค์ตั้งตรงพระบาท(เท้า)ทั้งสองซ้อนกัน โดยพระบาทขวาซ้อนทับอยู่บนพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้งสองวางซ้อนหงายกันบนพระเพลา (ตัก) โดยวางพระหัตถ์ขวาซ้อนหงายอยู่บนพระหัตถ์ซ้าย (ท่าสมาธิราบ ขาขวาทับขาซ้าย)จัดเป็น "ปฐมปาง" หรือปางที่ให้กำเนิดองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยพระองค์ทรงอยู่ในพระอิริยาบถนี้ในคืนวันตรัสรู้ เรียกได้อีกอย่างว่าปางตรัสรู้ หรือ นั่งสมาธิโดยใช้ข้อพระบาททั้งสองข้างขัดกัน ([[ปางขัดสมาธิเพชร]])
==ประวัติความเป็นมา==
*'''เป็นท่านั่งสมาธิ'''เมื่อพระพุทธเจ้าทรงกำจัดมาร และเสนามารให้ปราชัยไปแล้ว ด้วยพระบารมีตั้งแต่เวลาเย็นก่อนพระอาทิตย์ตก ([[ปางมารวิชัย]]) ทรงเจริญสมาธิภาวนาด้วยท่านั่งสมาธินี้จนทำจิตให้ปราศจากอุปกิเลส บรรลุ[[ปฐมฌาน]] [[ทุติยฌาน]] [[ตติยฌาน]] และ[[จตุถฌาน]] ซึ่งเป็นส่วนของ[[รูปสมาบัติ]] ที่เรียกว่า "เข้า[[ฌานสมาบัติ]]" จากนั้นก็ใช้ฌานสมาธิที่แน่วแน่นั้น เจริญปัญญา หรือองค์[[วิปัสสนา]] จนได้บรรลุ "[[ญาณ]]" (คือ ความรู้แจ้ง) ที่เรียกว่า "[[อภิญญาญาณ]]" (ความรู้แจ้งอันประเสริฐสุด) ทั้งสามประการคือ ทรงบรรลุญาณที่หนึ่ง ในตอนปฐมยาม (ประมาณ ๓ ทุ่ม) ญาณนี้เรียกว่า "[[บุพเพนิวาสานุสติญาณ]]" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและของคนอื่น พอถึงมัชฌิมยาม (ประมาณเที่ยงคืน) ก็ได้บรรลุญาณที่สอง ที่เรียกว่า "[[จุตูปปาตญาณ]]" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดจนถึงความต่างกันที่เรียกว่า "กรรม" พอถึงปัจฉิมยาม (หลังเที่ยงคืนล่วงแล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สาม คือ "[[อาสวักขยญาณ]]" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงความสิ้นไปของ[[กิเลส]] และ[[อริยสัจสี่]] คือความทุกข์ (ทุกข์) เหตุเกิดของความทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) และวิธีดับทุกข์ (มรรค)
 
==ความเชื่อและคตินิยม==