ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
→‎แหล่งข้อมูลอื่น: เปลี่ยนเป็นภาพสี
บรรทัด 43:
 
== การรับสมัคร ==
{{ตรวจภาษา}}
[[คณะกรรมการการเลือกตั้ง]] (กกต.) เปิดรับสมัครรับเลือกตั้ง[[ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร]] ที่[[ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร]] ในวันที่ [[30 พฤศจิกายน]] - [[4 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2551]]
 
===วันแรก===
โดยในวันที่ [[30 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2551]] ซึ่งเป็นวันรับสมัครวันแรก มีผู้สมัครเดินทางมาก่อนเวลา 08.30 น. จำนวน 7 คน ได้แก่ [[ลีนา จังจรรจา|นางลีนา จังจรรจา]] ซึ่งเดินทางมาตั้งแต่ 05.45 น. พร้อมทีมงานอีก 5 คน และลงทะเบียนในเวลา 07.15 น. ขณะที่ [[หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร]] ผู้สมัครจาก[[พรรคประชาธิปัตย์]] เดินทางมาลงทะเบียนเวลา 07.19 น. โดยมี[[อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ|นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ]] หัวหน้า[[พรรคประชาธิปัตย์]] [[นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน]] อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ[[กรณ์ จาติกวณิช|นายกรณ์ จาติกวณิช]] รองหัวหน้าพรรค และผู้อำนวยการการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครของ[[พรรคประชาธิปัตย์]] พร้อมสมาชิกพรรคเดินทางมาให้กำลังใจ ตามด้วย [[เมตตา เต็มชำนาญ|ร.อ.เมตตา เต็มชำนาญ]] หรือในฉายา "ตู่ ติงลี่" มาพร้อมกับขบวนเชิดสิงโต ขบวน[[รถตุ๊กตุ๊ก]] พร้อมกับนำไม้เท้า[[พระพุทธเจ้าหลวง|สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ร. 5]] และดาบหลวงปู่ฤๅษีนารอด มาลงทะเบียนในเวลา 07.59 น. [[กงจักร ใจดี|นายกงจักร ใจดี]] นักวิชาการภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ สังกัด[[กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]] ผู้สมัครหน้าใหม่ เดินทางมาในเวลา 08.00 น. [[สุเมธ ตันธนาศิริกุล|นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล]] อดีตผู้สมัคร เดินทางมาพร้อมกับหมวก[[เปาบุ้นจิ้น]] มาในเวลา 08.07 น. [[ธรณี ฤทธีธรรมรงค์|นางธรณี ฤทธีธรรมรงค์]] อดีตผู้สมัคร เดินทางมาด้วยชุดสีดำ และเครื่องประดับเพชรทั้งตัว ในเวลา 08.17 น. ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน [[อิสระ อมรเวช|นายอิสระ อมรเวช]] ก็ได้เดินทางมาถึง<ref>[http://news.sanook.com/politic/politic_325530.php รับสมัครผู้ว่าฯกทม.ไม่คึกคักสุขุมพันธ์เบอร์2-ลีน่าจัง3 จาก[[คมชัดลึก (หนังสือพิมพ์)|คมชัดลึก]]]</ref>
 
===วันต่อมา===
ต่อมาวันที่ [[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2551]] เวลา 09.00 น. [[หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล]] หรือ "หม่อมปลื้ม”ปลื้ม" เดินทางมายื่นใบสมัครเป็นลำดับที่ 8 ในชุดสูทสีคราม แม้จะไม่มีกองเชียร์ใดๆใด ๆ มาให้กำลังใจ แต่ก็ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนที่เฝ้าติดตามทำข่าวเป็นจำนวนมาก หลังการสมัครและได้หมายเลขประจำตัว คือ หมายเลข 8 แล้ว ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ให้สัมภาษณ์ว่า ตนมาสมัครในสังกัดอิสระ โดยจะใช้การหาเสียงผ่านหนังสือพิมพ์และอินเทอร์เน็ตซึ่งจะเริ่มเผยแพร่ ในช่วงต้นสัปดาห์หน้า ต่อมาเวลา 09.10 น. [[วิทยา จังกอบพัฒนา|นายวิทยา จังกอบพัฒนา]] ที่เคยสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งที่แล้ว ได้หมายเลข 9 เดินทางมายื่นใบสมัครเป็นลำดับที่ 9 และได้ หมายเลข 9 อีกครั้งในการลงสมัครครั้งนี้
 
และในวันที่ [[4 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2551]] เป็นวันสุดท้ายของการเปิดรับสมัคร โดย[[ยุรนันท์ ภมรมนตรี|นายยุรนันท์ ภมรมนตรี]] หรือ "แซม" อดีต ส.ส.[[พรรคไทยรักไทย]] ได้เดินทางมาลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ในสังกัด[[พรรคเพื่อไทย]] โดยมี[[การุณ โหสกุล|นายการุณ โหสกุล]], [[วิชาญ มีนชัยนันท์|นายวิชาญ มีนชัยนันท์]], [[ปลอดประสพ สุรัสวดี|นายปลอดประสพ สุรัสวดี]], [[วัฒนา เซ่งไพเราะ|นายวัฒนา เซ่งไพเราะ]] รวมทั้งอดีต ส.ส. และ ส.ก.[[พรรคพลังประชาชน]] ซึ่งย้ายสังกัดไป[[พรรคเพื่อไทย]] จำนวนหลายคน เดินทางร่วมให้กำลังใจด้วย ทั้งนี้ เมื่อสมัครเสร็จเรียบร้อยแล้ว นายยุรนันท์ ได้รับหมายเลข 10 นายยุรนันท์ กล่าวว่า การตัดสินในลงรับสมัครในครั้งนี้ ไม่ได้ใช้เวลานาน เพราะมั่นใจในทีมงานที่มีความพร้อมอยู่แล้ว และตนก็มีความพร้อมทำหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เช่นกัน ทั้งนี้ ตั้งแต่มีการยุบ[[พรรคพลังประชาชน]] สภาพจิตใจของคนในพรรคนั้นยังไม่ดีขึ้นมาก แต่ก็รักกันกว่าเดิม ส่วนกรณีที่ ส.ส.[[พรรคเพื่อไทย]]บางราย ส่งเสียงสนับสนุน [[หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล]] ผู้สมัครอีกคนหนึ่งในตอนแรกนั้น อาจจะเป็นเพราะยังไม่ได้มีการตัดสินใจว่าจะส่งผู้ใดลงสมัคร แต่ตอนนี้ชัดเจนแล้วว่าเป็นตน ก็เลยคิดว่าคนในพรรคก็น่าจะสนับสนุน ส่วนกรณีที่ได้เบอร์ 10 เช่นเดียวกับ[[ประภัสร์ จงสงวน|นายประภัสร์ จงสงวน]] อดีตผู้สมัครฯ หมายเลข 10 เมื่อครั้งที่แล้ว ก็รู้สึกดีใจที่ได้เบอร์นี้ เพราะจะได้เหมือนเป็นการส่งต่องานของนายประภัสร์ ต่อไป แต่ก็ไม่ได้ตั้งใจว่าจะเป็นเบอร์นี้ จากนั้นนายยุรนันท์ ได้ขึ้นไปสักการะศาลเจ้าจีน ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของศาลาว่าการกรุงเทพมหานครพร้อมกล่าวด้วยว่าวันนี้มีแผนจะเดินทางไปสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]]และ[[วัดชนะสงคราม]]<ref>[http://news.sanook.com/politic/politic_326890.php กทม.เปิดรับสมัครผู้ว่ากทม.วันสุดท้าย จาก[[สนุกดอตคอม]]]</ref>
 
ต่อมาเวลาประมาณ 08.45 น. [[ธรรณม์ชัย รุ่งจิรโรจน์|นายธรรณม์ชัย รุ่งจิรโรจน์]] นักธุรกิจ[[อัญมณี]]และ[[เครื่องประดับ]] เดินทางมายื่นใบสมัคร ได้หมายเลข 11 ตามความตั้งใจ หลังจากที่เมื่อวันที่ 3 ธ.ค.[[ธันวาคม]] ได้มาเพื่อจะลงสมัครแล้ว แต่ไม่สมัคร เพราะไม่ถูกโฉลกกับเลขศูนย์ พร้อมกล่าวว่า แม้เป็นผู้สมัครหน้าใหม่ แต่เนื่องจากเป็นคนกรุงเทพฯ มองเห็นปัญหากรุงเทพฯ จึงอยากอาสาแก้ปัญหา โดยนโยบายหาเสียงจะเห็นได้เป็นรูปธรรม เช่น งานที่อยากทำงานแรกคือการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโรงพยาบาลใน กทม.ให้ทัดเทียมโรงพยาบาลเอกชน เพิ่มค่าตอบแทนให้ข้าราชการ กทม.เพื่อให้มีกำลังใจในการทำงาน อย่างไรก็ตาม จะเปิดตัวช้าหรือเร็ว คิดว่าไม่เป็นข้อได้เปรียบเสียเปรียบอย่างใด เชื่อว่าฐานเสียงของตนจะเป็นคนที่มีความรู้ เมื่อเวลา 09.25 น. [[แก้วสรร อติโพธิ|นายแก้วสรร อติโพธิ]] เดินทางมาถึงศาลาว่าการ กทม. และยื่นใบสมัครผู้ว่าฯ กทม.ได้หมายเลข 12 ในเวลาต่อมา [[อุดม วิบูลย์เทพาชาติ|นายอุดม วิบูลย์เทพาชาติ]] อดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ได้เดินทางมาลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เป็นครั้งที่ 4 โดยได้ติดเบอร์ 13 ที่เสื้อก่อนที่จะเข้ากรอกใบสมัครฯ เนื่องจากรอให้มีผู้สมัครจนครบ 12 เบอร์ ก่อนจะมาสมัคร โดยนายอุดม กล่าวว่า มาสมัครผู้ว่าฯ กทม.เป็นครั้งที่ 4 แล้วชูนโยบายท้อแท้แต่ไม่ถอย เพราะขณะนี้บ้านเมืองมีความแตกแยก แต่นโยบายที่สำคัญจำเป็นเรื่องการเดินหน้าเศรษฐกิจโดยสร้างงานสร้างเมือง สร้างความสุขและสร้างอนาคตร่วมกัน คนสุดท้ายที่เดินทางมาสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในเวลา 15.20 น. คือ [[เอธัส มนต์เสรีนุสรณ์|นายเอธัส มนต์เสรีนุสรณ์]] สังกัด[[พรรคสุวรรณภูมิ]] มี [[นิติภูมิ นวรัตน์|ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์]] หัวหน้าพรรคพร้อมทีมงานเดินทางมาด้วย โดย ร.ต.อ.นิติภูมิ กล่าวว่า กทม.เป็นเมืองใหญ่ที่ต้องมีคณะทำงาน เพราะผู้ว่าฯ เพียงคนเดียวจะสามารถดูแลประชาชนแก้ปัญหาต่างๆได้ทั่วถึง โดยจะตั้งคณะกรรมการของผู้ว่าฯ จำนวน 5 คน แต่ละคนจะดูแลใน 10 เขต จึงจะครอบคลุมทั้ง 50 เขตของ กทม.ได้ ซึ่งนโยบายจะเน้นด้านคุณภาพการศึกษา ด้านการท่องเที่ยว และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของ กทม.ให้พัฒนาเศรษฐกิจนำความมั่งคั่งมาสู่ กทม. ฟื้นฟู กทม.ให้เรียกความมั่นใจจากทั่วโลกกลับมาเป็นเมืองชั้นนำแถวหน้า โดยใช้สโลแกนคำขวัญ "วิญญาณไทย ใจสากล ตัวตนเต็มไปด้วยเทคโนโลยี”เทคโนโลยี"
 
[[มนูญ ศิริวรรณ|นายมนูญ ศิริวรรณ]] กรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่น กทม.แถลงปิดการรับสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ระหว่างวันที่ 30 พ.ย.-4 ธ.ค.สรุปว่า มีผู้สมัครทั้งหมด 14 คน โดย กกต.ท้องถิ่น และ กทม.จะตรวจสอบคุณสมบัติและประกาศผู้มีคุณสมบัติถูกต้องในวันที่ 11 ธ.ค. หากผู้สมัครรายใดขาดคุณสมบัติ หมายเลขผู้สมัครนั้นจะว่างไว้ ไม่เลื่อนหมายเลข ทั้งนี้ ผู้สมัครทุกรายจะมีเวลาในการหาเสียงอีก 37 วัน และเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 11 ม.ค.51
 
== รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ==