ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสยามเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
ที่มาของ[[การเลือกตั้ง]]ครั้งนี้ เกิดขึ้นหลังที่เหตุการณ์[[กบฎบวรเดช]]ยุติลงในวันที่ [[28 ตุลาคม]] พ.ศ. 2476 เมื่อ พันเอก[[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)|พระยาพหลพลพยุหเสนา]] [[นายกรัฐมนตรีไทย|นายกรัฐมนตรี]]ได้แถลงต่อ[[รัฐสภาไทย|รัฐสภา]]ว่า[[คณะรัฐมนตรีคณะที่ 4 ของไทย|รัฐบาล]]ได้ปราบ[[กบฏ]]เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อบ้านเมืองสงบแล้ว จำต้องมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น
 
ในขณะนั้น[[ประเทศไทย]] (ยังคงใช้ชื่อเดิมว่า สยาม อยู่) แบ่งการปกครองเป็น[[จังหวัด]] มีจังหวัดทั้งสิ้น 70 จังหวัด ตาม[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475]] แล้ว สามารถเลือก[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร]] (ส.ส.) ประเภทที่หนึ่ง ได้ทั้งหมด 78 คน โดยส่วนใหญ่จะสามารถเลือกผู้แทนฯได้จังหวัดละคน มีบางจังหวัดที่มีผู้แทนฯได้มากกว่าหนึ่งคน ได้แก่ [[จังหวัดเชียงใหม่]], [[จังหวัดร้อยเอ็ด]], [[จังหวัดมหาสารคาม]], [[จังหวัดนครราชสีมา]] มีผู้แทนฯได้ 2 คน ขณะที่[[จังหวัดพระนคร]]และ[[จังหวัดอุบลราชธานี]] มีผู้แทนฯได้ 3 คน ซึ่งขณะนั้นรัฐธรรมนูญกำหนดอัตราประชากร 200,000 คนต่อการมีผู้แทนฯได้หนึ่งคน
 
และบวกรวมกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่สอง ที่[[พระมหากษัตริย์ไทย|พระมหากษัตริย์]]ทรงแต่งตั้งขึ้นอีก 78 คน รวมทั้งสิ้นเป็น 156 คน