ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัลเลต์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
EmausBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: si:බැලේ නැටුම්
copyvio
บรรทัด 1:
'''บัลเลต์''' ({{lang-fr|ballet}}) หมายถึง การแสดงที่ประกอบด้วย[[การเต้น]]และดนตรีมีลักษณะเช่นเดียวกับ[[อุปรากร]] เพียงแต่บัลเลต์เป็นการนำเสนอเนื้อเรื่อง โดยใช้การเต้นเป็นสื่อ มีกำเนิดขึ้นในระหว่างศตวรรษที่ 15 ที่[[ประเทศฝรั่งเศส]] ต่อมาในศตวรรษที่ 19 ได้แพร่หลายเข้าไปใน[[ประเทศอิตาลี]] การพัฒนาในยุคนี้คือ นิยมให้ผู้หญิงเป็นผู้แสดงเอก เรียกว่า บัลเลรินา (Ballerina) ศตวรรษที่ 20 บัลเลต์ได้รับการพัฒนาให้มีรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า โมเดิร์นแดนซ์ (Modern Dance) คือ การนำเอาหลักของบัลเลต์มาผสมผสานดัดแปลงให้เป็นการเต้น โดยไม่ต้องใส่รองเท้าบัลเลต์และไม่ต้องใช้ปลายเท้าในลักษณะของบัลเลต์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการประพันธ์เพลงบัลเลต์ ได้แก่ [[ไชคอฟสกี]] [[โปรโกเฟียฟ]] [[คอปแลนด์]] และ[[ฟัลย่า]]
 
บัลเล่ต์" เป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากภาษาอิตาเลี่ยนจากคำว่า balli ที่แปลว่าการเต้นรำ ศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลี ในยุคที่เรียกว่ายุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการหรือยุครีแนสซองค์ ซึ่งการแสดงบัลเล่ต์ในยุคแรกเริ่มนั้นมีรูปแบบที่แตกต่างไปจากยุคปัจจุบันมาก โดยกลุ่มผู้มีบทบาทในการพัฒนารูปแบบศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ในอิตาเลี่ยนคือกลุ่มขุนนางชายในราชสำนักอิตาเลี่ยนเนื่องจากการแสดงบัลเล่ต์ในยุคแรกเริ่มมีวัตถุประสงค์เพื่อการเยินยอพระเกียรติของพระมหากษัตริ์ การแสดงเพื่อต้อนรับพระราชอาคันตุกะและใช้ประกอบในงานราชพิธีสำคัญต่างๆของชนชั้นสูง ประกอบกับความยากลำบากของเครื่องแต่งกายของเหล่าขุนนางฝ่ายหญิงที่มีลักษณะเป็นกระโปรงสุ่มยาวจึงยากแก่การปฏิบัติท่าเต้นทำให้บทบาทของการพัฒนาศิลปะการเต้นบัลเล่ต์ตกอยู่ที่ขุนนางฝ่ายชายซึ่งอาจบอกได้ว่าบัลเล่ต์เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นโดยผู้ชาย ก็เป็นได้
บัลเล่ต์เป็นการเต้นรำเพื่อความบันเทิง เฟื่องฟูมากในช่วงปลายศตวรรษที่ 15-16 ในรูปแบบต่างๆไม่ว่าการแสดงโลดโผน ละครใบ้ บทสนทนา และบทเพลงผสมผสานกัน มีจุดประสงค์รับใช้ราชสำนักเป็นหลัก ประชาชนเป็นรองสำหรับบัลเล่ต์เป็นศิลปะการเต้นรำที่พระนางแคเธอรีนแห่งเมดีซีนำไปพัฒนาที่ฝรั่งเศส เมื่อพระนางอภิเษกกับกษัตริย์อองรีที่ 2 ในตอนนั้นการแสดงบัลเล่ต์กินเวลานานกว่าบัลเล่ต์ทำให้สตรีในราชสำนักมีโอกาสร่วมเต้นรำด้วย หลังจากที่เคยจำกัดอยู่ในวงของบุรุษ แต่บทนางเอกของเรื่องก็ยังกำหนดให้ผู้ชายแสดงอยู่ดี ส่วนผู้หญิงได้เล่นแต่บทเล็กๆ นอกจากนั้นผู้หญิงยังถูกจำกัดท่าทางการเต้นด้วยเครื่องแต่งกายที่ฟูยาว ขณะที่ผู้ชายแต่งตัวด้วยชุดรัดรูป ทำให้มีอิสระในการเคลื่อนไหวขามากกว่าไม่ว่า การหมุน การซอยเท้า การกระโดดซับซ้อนขึ้น รวมทั้งการยืนบนปลายเท้า ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการเต้นบัลเล่ต์พระเจ้าหลุยส์ที่ 14เป็นผู้มีอิทธิพลมากในการทำให้การเต้นรำในราชสำนักกลายเป็นการเต้นรำเพื่ออาชีพ พระองค์ร่วมแสดงละครบัลเล่ต์เรื่อง “La nuit” ทั้งระดมผู้คนทั้งในราชสำนัก นักการเมือง และผู้มีพรสวรรค์ทุ่มเทพัฒนาการแสดงเต้นรำ ในค.ศ. 1661 ทรงก่อตั้งสถาบันการเต้นรำอาชีพและสถาบันการดนตรีแห่งราชสำนัก และในปี 1671 จึงมีโรงเรียนสอนเต้นรำ ที่กรุงปารีส ซึ่งเปิดกว้างสู่สามัญชน ในช่วงปลายศตวรรษที่ 17-18 มีการก่อตั้งมูลนิธิของบัลเล่ต์ เพื่อพัฒนาการเต้นให้ดียิ่งขึ้น เช่นการใช้เท้าที่ซับซ้อนและเป็นธรรมชาติมากขึ้น ขณะที่นักเต้นบัลเล่ต์หญิงเริ่มมีบทบาทเด่นมากขึ้น ในปี 1681 นักเต้นหญิงมีโอกาสขึ้นเวที โดย Marie de Carmargo เป็นหนึ่งในนักเต้นบัลเล่ต์หญิงที่มีชื่อเสียงด้านระบำปลายเท้าที่ว่องไวและซับซ้อน เธอยังเป็นผู้ที่ตัดกระโปรงบัลเล่ต์ให้สั้นลง 2-3 นิ้ว เพื่อให้เต้นสะดวกขึ้น การปฏิวัติของมารีไม่ได้รับการยอมรับนัก กระทั่ง 50 ปีผ่านไป ในปี ค.ศ. 1760 ผู้เชี่ยวชาญบัลเล่ต์เริ่มตั้งคำถามถึงข้อจำกัดซึ่งยึดหลักศิลปะ และข้อจำกัดที่ไม่จำเป็น ปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของวงการคือ ฌอง จอร์จ โนแวร์ ผู้เสนอแนวคิดการพัฒนาบัลเล่ต์ให้เป็นแบบฉบับศิลปะที่เป็นจริงเป็นจัง เพราะเห็นว่าบัลเล่ต์ควรเป็นวิธีที่ใช้แสดงความคิดทางละครผ่านทางการผสมผสานที่สมบูรณ์แบบของการเต้นรำ ละคร และตัวละคร เขาแลกเปลี่ยนความคิดของเขากับนักเรียน นักเต้นรำ และผู้ออกแบบท่าเต้นในเวลานั้น แต่มีอยู่เพียงท่านเดียวที่นำแนวความคิดของโนแวร์ไปปฏิบัติคือ โดแบร์วาล ผู้ออกแบบท่าเต้นทิ่ยิ่งใหญ่ เขาออกแบบท่าเต้นรำและสร้างตัวละครสามัญชนในละครเรื่อง La Fille Mal Garde ปี ค.ศ.1789
ปัจจุบันบัลเล่ต์มีผู้ชมจำนวนกว้างขึ้น และมีหลากหลายเรื่องที่เล่น ได้แก่ Swan Lake (หงส์เหิน) Sleeping Beauty (เจ้าหญิงนิทรา) The Nutcracker, Carmen ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพลงคลาสสิคของไชคอสสกีในการบรรเลง