ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ย่านการค้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
กานต์รวี (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
<ref></ref>–§–[[ผู้ใช้:กานต์รวี|กานต์รวี]] 00:16, 17 พฤศจิกายน 2553 (ICT)'''ย่านการค้า''' คือ ศูนย์รวมหรือแหล่งรวมสรรพสินค้าและสรรพบริการ สามารถแยกเป็นย่านการค้าปลีก และย่านการค้าส่ง หรือมีกิจกรรมการขายแบบผสมผสานทั้งสองอย่างในย่านเดียว และย่านการค้าสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทดังต่อไปนี้
 
== ประเภทของย่านการค้า ==
บรรทัด 6:
 
;ย่านช็อปปิ้งและบันเทิง
:แบ่งออกได้เป็นย่านกลางวัน และย่านกลางคืน วัตถุประสงค์ของการไปย่านแบบนี้คือการไปเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ช็อปปิ้ง ซื้อสิ<ref></ref>นค้าสินค้าเสื้อผ้า แฟชั่น กิ๊ฟช๊อปโดยความหนาแน่นของคนจะเป็นไปตามเวลาห้างเปิดและปิด เช่น ย่านราชประสงค์ สยาม-มาบุญครอง ย่าน[[บางกะปิ]] หรือตามเวลาที่ร้านค้าเปิดและปิด ย่านประเภทนี้จะมีสินค้าหลากหลายให้เลือกซื้อ แต่บางแห่งอาจมีสินค้าเพียงหมวดเดียวให้เลือกซื้อมากมาย เช่น ย่านประตูน้ำ ย่านโบ๊เบ๊แหล่งขายปลีก ส่งเสื้อผ้า ส่วนย่านกลางคืนนั้นมักเป็นเวลาของการเที่ยวกลางคืน เช่น ย่าน[[พัฒน์พงศ์]] ย่านรัชดา
 
;ย่านดำรงชีวิต
บรรทัด 28:
[[หมวดหมู่:ธุรกิจ]]
{{โครง}}
'''ย่านการค้าตลาดไท จังหวัดปทุมธานี '''
ตลาดไท เป็นตลาดกลางซื้อขายสินค้าเกษตรที่มีขนาดใหญ่ ก่อตั้งโดย บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด (ตลาดไท) เป็นตลาดขนาดใหญ่ เปิดบริการ 24 ชั่วโมง มีการจัดสรรพื้นไว้สำหรับจอดรถรถบรรทุกสินค้าหมุนเวียนได้ถึงวันละ30,000 คัน ที่ตลาดไท มีเนื้อที่ ประมาณ 500 ไร่ มีสถานที่ตั้งอยู่ที่ ถนนพหลโยธิน กม.42 เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
[[ไฟล์:Bigmap.jpg]]
 
''' อำเภอคลองหลวง'''
เป็นหนึ่งใน 7 อำเภอ ของจังหวัดปทุมธานี อ.คลองหลวง แต่เดิมเป็นที่รกร้างว่างเปล่า เรียกว่า ทุ่งหลวง ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2446 บริษัทขุดคลองแลคูนาสยาม ได้ขุด คลองรังสิต และคลองซอยต่าง ๆ ราษฎรจึงพากันอพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐาน ประกอบอาชีพในการทำนา ในที่สุดได้ตั้งขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อ พ.ศ. 2447
 
'''ที่ตั้งและอาณาเขต'''
• ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางปะอินและอำเภอวังน้อย (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) มีคลองเชียงรากน้อย ลำราง คลองหนึ่ง และคลองระพีพัฒน์เป็นเส้นแบ่งเขต
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหนองเสือ มีคลองเจ็ดเป็นเส้นแบ่งเขต
• ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอธัญบุรี มีแนวลำรางสาธารณะเป็นเส้นแบ่งเขต
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองปทุมธานีและอำเภอสามโคก มีทางรถไฟสายเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
 
'''การปกครองส่วนภูมิภาค'''
อำเภอคลองหลวงแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล แต่ละตำบลแบ่งเป็น หมู่บ้าน รวม 106 หมู่บ้าน ได้แก่
1. คลองหนึ่ง (Khlong Nueng) เดิมชื่อตำบลท่าโขลง มี 20 หมู่บ้าน
2. คลองสอง (Khlong Song) เดิมชื่อตำบลบางหวาย มี 15 หมู่บ้าน
3. คลองสาม (Khlong Sam) เดิมชื่อตำบลบึงอ้ายเสียบ มี 16 หมู่บ้าน
4. คลองสี่ (Khlong Si) เดิมชื่อตำบลบึงเขาย้อน มี 16 หมู่บ้าน
5. คลองห้า (Khlong Ha) เดิมชื่อตำบลบึงจระเข้ มี 16 หมู่บ้าน
6. คลองหก (Khlong Hok) เดิมชื่อตำบลบึงตะเคียน มี 14 หมู่บ้าน
7. คลองเจ็ด (Khlong Chet) แยกจากตำบลคลองหก มี 9 หมู่บ้าน
'''การปกครองส่วนท้องถิ่น'''
ท้องที่อำเภอคลองหลวงมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 แห่ง ได้แก่
• เทศบาลเมืองท่าโขลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหนึ่งและตำบลคลองสอง เฉพาะฟากเหนือของถนนคลองหลวง (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3214)
• เทศบาลเมืองคลองหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหนึ่งและตำบลคลองสอง เฉพาะฟากใต้ของถนนคลองหลวง (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3214)
• เทศบาลตำบลเชียงราก ครอบคลุมพื้นที่ของตำบลคลองหนึ่ง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลเมืองคลองหลวง)
• องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสามทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองสี่ทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลคลองห้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองห้าทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองหกทั้งตำบล
• องค์การบริหารส่วนตำบลคลองเจ็ด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองเจ็ดทั้งตำบล
 
'''การคมนาคม'''
อำเภอคลองหลวงมีถนนพหลโยธิน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1) ตัดผ่าน อันเป็นทางสำคัญในการเดินทางไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนถนนสายสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ถนนวงแหวนรอบนอกตะวันออก (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9) ถนนลำลูกกา-วังน้อย (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 352) และถนนคลองหลวง (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 3214)
 
'''พื้นที่ ''' 299.152 ตร.กม.
 
'''จำนวนประชากร''' 220,573 คน (พ.ศ. 2552)
 
'''ความหนาแน่น''' 737.32 คน/ตร.กม.
 
'''เศรษกิจ'''
ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้มาจากภาคอุตสาหกรรม คลองหลวงเป็นอำเภอ ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่นที่สุด ในจังหวัดปทุมธานี มีพื้นที่การเกษตรเป็นอันดับ 4 ของจังหวัดปทุมธานี รองจาก หนองเสือ ลำลูกกา และลาดหลุมแก้ว
 
'''ตลาดค้าปลีก''' ตลาดบางขันธ์
'''ตลาดค้าส่ง''' ตลาดไท
 
'''ประวัติความเป็นมา ของ ตลาดไท'''
"ตลาด ไท" ศูนย์กลางสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรครบวงจรที่มีใหญ่และทันสมัย ก่อตั้งเมื่อปี 2537 รวมเป็นระยะเวลา 16 ปี โดย ดร.ถนอม อังคณะวัฒนา ประธานบริษัทไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด บนเนื้อที่กว้างขวางกว่า 500 ไร่ 'ตลาดไท' เป็นตลาดการค้าส่งที่ออกแบบให้ยิ่งใหญ่ กว้างขวาง และสะดวกสบาย แตกต่างจากตลาดกลางแบบเก่า ด้วยการแบ่งตลาดออกเป็นสัดส่วน ตามประเภทของสินค้าที่หลากหลาย ทำให้สามารถรองรับปริมาณ สินค้าหมุนเวียนได้วันละกว่า 15,000 ตัน เปิดบริการ 24 ชั่วโมง
 
'''วิสัยทัศน์ของตลาดไท'''
บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด ก่อตั้ง"ตลาดไท"ตลาดกลางสินค้าเกษตรแห่งประเทศไทย ขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรม การเกษตรครบวงจร ที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดเป็ นแห่งแรกในประเทศไทย ถือเป็นการสร้างโอกาส ให้แก่เกษตรกรซึ่ง เป็นประชาชนส่วนใหญ่ ของประเทศ และเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดแบบใหม่ ให้แก่ธุรกิจการเกษตรของประเทศ ทั้งยังเป็นการตอบสนองต่อนโยบายการ พัฒนาประเทศของรัฐบาลที่ต้องการให้ประเทศไทย เป็นศูนย์กลางของการส่งออก สินค้าเกษตรในภูมิภาคและของโลก
• ตลาดไทก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์
• เพื่อลดค่าใช้จ่ายการตลาดของสินค้าการเกษตร
• เพื่อให้สินค้าเกษตรเข้าสู่ตลาดอย่างสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
• เพื่อให้เป็นศูนย์กลางของการส่งเสริม และผลักดันให้เกิดการจัดเกรดคุณภาพ
มาตรฐานสินค้าและการบรรจุหีบห่อ
• เพื่อเป็นแหล่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ผลิตอย่างเป็นธรรมและมีระบบเช่น การประมูล
การซื้อขาย เป็นการป้องกันผูกขาดหรือการเอารัดเอาเปรียบของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
• เพื่อให้เกิดการพัฒนาจนถึงขั้นการส่งออกทั้งสินค้าสดและสินค้าเกษตรแปรรูปไปยังต่างประเทศ
 
'''เป้าหมายการดำเนินงาน'''
 
'''พลิกฟื้นภาคเกษตรกรรมไทย'''
 
ตลาดไท มีเป้าหมายหมาย ที่จะสร้างกลไกการ ตลาด ที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใสและเป็นธรรม เพื่อให้ กระบวนการพัฒนาภาคเกษตรกรรม สามารถพลิกฟื้น ความกินดีอยู่ดี ให้แก่เกษตรกรไทย
 
'''กว้างไกลธุรกิจต่อเนื่อง'''
 
ตลาดไท เป็นศูนย์รวมของธุรกิจการเกษตร และธุรกิจต่อเนื่องที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ สร้างกลไก การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจไปสู่ทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง สร้างงานสร้างรายได้แก่เกษตรกร ผู้ค้า ผู้ใช้แรงงาน และผู้ประกอบการหลากหลายประเภท
 
'''ฟูเฟื่องให้ระบบเศรษฐกิจ'''
 
ตลาดไท มีเป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของประเทศที่จะได้มีส่วนช่วยสร้างรายได้ให้แก่แรง งานจำนวนมาก และนำเงินตราเข้าประเทศจากการส่งออกสินค้าเกษตรจากตลาดกลางแห่งนี้
 
'''ร่วมคิดกับพ่อค้า-แม่ค้า'''
 
ตลาดไท พร้อมจะเติบโตไปกับผู้ประกอบการทุกคน ที่เป็นเหมือนเส้นเลือดหลัก ในการหล่อเลี้ยงให้ตลาดเติบโตต่อไปในอนาคต พ่อค้า - แม่ค้าจึงเป็นหัวใจหลักของการร่วมแรงร่วมใจ เพื่อพัฒนาตลาดไทให้เป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรมการเกษตรที่สมบูรณ์แบบ
 
'''พัฒนาเพื่อผู้บริโภค'''
 
ตลาดไท ใช้ระบบบริหารจัดการแบบมืออาชีพ จึงเป็นแหล่งซื้อขายสินค้าเกษตร ที่ผู้บริโภคสามารถไว้วางใจได้ ในมาตรฐานสินค้า ราคาที่เป็นธรรม และบริการที่สะดวกสบาย
 
สู่'''ตลาดโลกด้วยมาตรฐาน'''
 
ตลาดไท มีเป้าหมายชัดเจนที่จะเป็นศูนย์กลางส่งออกสินค้าเกษตรไทยไปยังตลาดโลก ด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ จัดตั้งศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออกหรือ POSSEC
 
'''ตลาดไทจากอดีตถึงปัจจุบัน'''
 
แบ่งเป็น 3 ช่วงระยะ
 
ปี 2538-40
ช่วงเปิดตลาดไท ช่วงแรก มีผู้ค้าประมาณ 2,000 ราย มีทั้งเกษตรกรผู้ผลิตเองและพ่อค้าคนกลางในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน และผู้ค้าผลไม้ตามฤดูกาลจะมีผู้ค้าเพิ่มในส่วนนี้อีกประมาณ 1,000 ราย มีการแบ่งหมวดหมู่สินค้าแบ่งตาม อาคารเป็น 8 ตลาด ประกอบด้วย ตลาดส้ม ผลไม้รวม ผัก ผลไม้ฤดูกาล แตงโม-มะพร้าว-สับปะรด-กล้วย-ขนุน-ถั่ว-เผือก-มัน-ข้าวโพด และตลาดค้าปลีก
ระยะที่ 2
มีการพยายามพัฒนาสินค้า เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น แรก ๆ มีแต่สินค้าบรรจุในเข่ง แต่ตอนนี้พัฒนาขึ้น มีการแยกเกรดสินค้า บรรจุลงกล่อง มีการคัดคุณภาพสินค้าขายตามเกรด จากเดิมที่ขายกันยกคันรถ ทำให้ผู้ซื้อได้สินค้าตรงตามต้องการมากขึ้น ผู้ค้าเองก็ได้กำไลมากขึ้นตามสัดส่วนคุณภาพของสินค้า
ระยะที่ 3
หลังจากมีเอฟทีเอ ตลาดผลไม้นำเข้าโตขึ้นก็ปรับพื้นที่รองรับสินค้ากลุ่มนี้ ตลาดไทมีพื้นที่กว่า 500 ไร่จึงจัดโซนตลาดตามประเภทของสินค้า แบ่งเป็น 8 อาคาร 2 ศูนย์ 6 ลาน อาทิ อาคารตลาดส้ม ตลาดผลไม้รวม ตลาดผักผลไม้เมืองหนาว ศูนย์ของแห้ง-สินค้าแปรรูป ลานดอกไม้ ฯลฯ เรียกว่าครบวงจรแล้ว
 
'''รูปแบบการค้าในตลาดไท'''
 
รูปแบบการค้าในตลาดไทแบ่งออกได้กว้างๆ 3 รูปแบบ คือ
• การค้าส่ง เป็นรูปแบบการค้าที่มีการซื้อขายสินค้าเกษตรในครั้งหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก การซื้อขายในลักษณะ นี้สินค้าเกษตร จะถูกนำไปกระจายต่อตามชุมชนต่างๆที่ห่างไกลออกไปหรือตามต่างจังหวัด นอกจากนี้อนาคต จะมีรูปแบบการค้าแบบนำเข้าและส่งออกเพิ่มเติมมากขึ้นภายในตลาดไท
• การค้ากึ่งปลีกกึ่งส่ง เป็นรูปแบบการค้า ที่ลูกค้ากลุ่มสถาบัน เช่น ภัตตาคาร องค์กรภาครัฐ โรงแรม รวมถึง ห้างสรรพสินค้า นิยมมาใช้บริการซื้อสินค้าการเกษตรเพื่อนำไปแปรรูปหรือจัดจำหน่ายต่อ
• การค้าปลีก เป็นรูปแบบการค้า ที่ให้บริการแก่ผู้บริโภคทั้งชุมชนใกล้ และไกลทั่วไป ที่นิยมมาซื้อสินค้า การ เกษตรที่มีคุณภาพและราคาถูก
 
'''กลุ่มผู้ค้าในตลาดไท'''
 
กลุ่มผู้ค้าในตลาดไทแบ่งออกได้กว้างๆ 3 รูปกลุ่ม คือ
• เกษตรกรที่นำผลผลิตทางการเกษตรมาขายเอง
• กลุ่มผู้รวบรวมสินค้า เช่น สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรหรือชาวบ้านที่รวมตัวกันรวบรวมสินค้าเข้ามาขาย
• นายทุนหรือพ่อค้าคนกลาง
 
'''รูปแบบการเช่าพื้นที่'''
 
กลุ่มผู้ค้าในตลาดไทเช่าพื้นที่เพื่อทำการค้าใน 2 ลักษณะคือ
• เช่าพื้นที่ตามอาคาร ลาน ศูนย์ ตั้งกองนำเสนอสินค้าที่ขาย โดยมีหน้าร้านเป็นของตนเอง
• รถเร่ จะเช่าพื้นที่จอดรถและวางขายสินค้าบนรถ
 
'''ประเภทร้านค้า'''
 
ตลาดไท ถือว่าเป็นตลาดกลางซื้อขายสินค้าเกษตร ที่ใหญ่ ที่สุดในประเทศไทย ตลาดไท จัดเป็นตลาดที่มีพื้นขนาดใหญ่กว้างขวาง เพียบ พร้อม ด้วย สาธารณูปโภคต่างๆ อย่างครบวงจร มี สินค้าครบครันมีการจัดแบ่งโซนตลาดออกเป็นสัดส่วนตามประเภทของสินค้า โดยจะมีการจัดแบ่งโซนตลาดออกเป็นสัดส่วนตามประเภทของสินค้าที่หลากหลายแบ่งเป็น 8 อาคาร 2 ศูนย์ 6 ลาน ประกอบด้วย
 
'''ตลาดส้ม'''
รวบรวมส้มครบทุกสายพันธุ์และครบทุกระดับชั้นคุณภาพ ปริมาณการซื้อขายในตลาดมาก และถือเป็นตลาดขายส่งส้มเขียวหวาน ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
 
'''ลักษณะตลาด'''
เป็นอาคารสูง 25 เมตร บนพื้นที่ 8 ไร่ ลักษณะร้านค้า มีทั้งที่จำหน่ายในตัวอาคาร และ วางขายด้านนอก เป็นแผงข้างตัวอาคาร
• มีส้มหมุนเวียนในตลาดวันละกว่า 3,000 ตัน
• กว้างขวางสะดวกสบายด้วยอาคารสูง 25 เมตร บนพื้นที่ 8 ไร่
• มีจำนวนแผงค้ากว่า 2,300 แผงค้า
• ระยะเวลาเปิดให้บริการ 07.00-24.00 น.
 
'''ตลาดผลไม้รวม'''
 
ศูนย์รวมของผลไม้นานาชนิดจากทุกทิศทั่วไทย ซื้อขายภายในอาคารถาวร
 
'''ลักษณะตลาด'''
เป็นอาคาร ลักษณะร้านค้า เป็นแผงจำหน่ายในตัวอาคาร
• กว้างขวางและสะดวกสบาย บนพื้นที่ 8 ไร่
• มีจำนวนแผงค้ากว่า 1,800 แผงค้า
• แผงค้าผลไม้หลากหลายชนิดทั้งผลไม้ในประเทศและผลไม้นำเข้าหมุนเวียนตลอดปี
• เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
 
'''ตลาดผัก'''
ค้าขายภายในอาคารถาวร เพื่อจัดเก็บผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บได้นาน
 
'''ลักษณะตลาด'''
มีการจัดผังการค้าแบ่งตามชนิดของสินค้า เพื่อความสะดวกต่อการซื้อขายและขนส่ง เปิดให้บริการขายส่งสินค้าเวลา 07.00-24.00 น . ตัวอย่างสินค้าที่จำหน่ายได้แก่
• ผักใบ อาทิ คะน้า, กวางตุ้ง, ผักกาดขาว, ตั้งโอ๋ เป็นต้น
• ผักหัว อาทิ แฟง, ฟักทอง, กระหล่ำปลี เป็นต้น
• หอม-กระเทียม -พริกแห้ง – มะขามเปียก – มะนาว
 
'''ตลาดของสด'''
เป็นตลาดสดที่มาตรฐาน มีการคัดและควบคุมคุณภาพ โดยมีการตั้งหน่วยงาน ตรวจสารปนเปื้อนอยู่บริเวณตลาดและมีการสุ่มตรวจคุณภาพสินค้าทุกวัน มีการแบ่งโซนสินค้าเป็นหมวดหมู่
 
'''ลักษณะตลาด'''
พื้นที่กว้างขวางค้าขายบนอาคารถาวร 3 ชั้นมีระบบระบายอากาศ เย็นสบายและไม่อับชื้น บนพื้นที่ 4 ไร่
• แผงค้าถาวรจำนวนกว่า 450 แผงค้า
• แผงลอย ในร่ม ด้านนอกอาคาร 140 แผง
• มีสินค้าอุปโภคบริโภคจำหน่ายทั้งปลีกและส่ง
• เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
 
'''ประเภทสินค้า'''
ของสด อาทิ หมู ,เนื้อ, เป็ด, ไก่, ปลา, ของทะเล, กะทิ, พริกแกง, ปลาร้า-ของดอง, ก๋วยเตี๋ยว-ลูกชิ้น เป็นต้น
ของแห้ง อาทิ ข้าวสาร, น้ำตาล, น้ำปลา เป็นต้น
ผลไม้สด-ผักสด นานาชนิด
 
'''ตลาดลานผัก'''
เป็นลานผักที่มีขนาดใหญ่ บนพื้นที่กว่า 20 ไร่
รวบรวมผักสดจากแหล่งผลิตทั่วประเทศ - ผักสดนานาชนิด –ผักทั่วไป- ผักคุณภาพ -ผักพื้นบ้าน -ผักเมืองหนาว และผักปลอดสารพิษ มีการแบ่งโซนของผักอย่างเป็นหมวดหมู่ ราคาถูก และทำการขนถ่ายสินค้าจากลานได้อย่างสะดวกรวดเร็ว บนลานมีการซื้อขายผักมากกว่า 600 ตันต่อวัน จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง แต่รถจะเยอะช่วงกลางคืนตั้งแต่ 5 โมงเย็นเป็นต้นไป กลางวันจะมีบ้างปะปลาย มีที่จอดรถที่สามารถรองรับปริมาณการหมุนเวียนของรถผักได้มากกว่า 1,000 คันต่อวัน สะดวกสบายด้วยการบริการน้ำ, ไฟฟ้า, บริการขนถ่ายสินค้า และมีเจ้าหน้าที่จัดสินค้าบนลานเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ค้า
 
'''ตลาดลานผลไม้ฤดูกาล'''
รองรับการค้าขายผลไม้ตามฤดูกาลหมุนเวียนตลอดทั้งปี
 
'''ลักษณะตลาด'''
ปลูกสร้างเป็นอาคารกึ่งถาวร แบ่งเป็นล็อค แยกโซนตามชนิดของผลไม้
 
• ค้าขายบนลานค้ากว้างขวางขนาด 30 ไร่
• พื้นที่ของลานฤดูกาลสามารถรองรับปริมาณรถได้มากกว่า 500 คันต่อวัน
• มีแผงค้ารองรับจำนวนกว่า 300 แผงค้า
• แบ่งย่อยเป็น 8 อาคาร
อาคาร 1-2 มะม่วง, ผลไม้ตามฤดูกาล (ขายส่ง)
อาคาร 2-3 ทุเรียน (ขายส่ง)
อาคาร 5-6 สับปะรดปัตตาเวีย, ศรีราชา (ขายปลีก-ส่ง)
อาคาร 7-8 กล้วยไข่, กล้วยน้ำว้า (ขายปลีก-ส่ง)
• เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
 
'''ตลาดลานพืชไร่'''
รวบรวมผลผลิตพืชไร่นานาชนิด
อาทิ เช่นเผือก, มัน, ถั่วลิสง, อ้อย, ข้าวโพด, แห้ว, แตงไท เป็นต้น ค้าขายในอาคารกึ่งถาวรและพื้นที่ขายแบบเปิดท้ายรถ จำนวนแผงค้ากว่า 90 แผงค้า จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
 
 
'''ตลาดดอกไม้'''
รวบรวมต้นไม้นานาชนิดไม่ว่าจะเป็น ไม้ดอก นานาชนิด ไม้ดอกเมืองหนาว พวงมาลัย พวงหรีด กระเช้าดอกไม้ เครื่องสังฆทาน ธูปเทียน ไว้ในที่เดียวกันอย่างครบวงจร
 
'''ลักษณะตลาด'''
แบ่งพื้นที่ขายเป็น 3 โซน คือ
1. ดอกไม้สด ขายปลีก-ขายส่ง
2. ดอกไม้ตัดแต่ง ,พวงมาลัย ช่อดอกไม้ และ บริการจัดกระเช้า
3. ขายเครื่องธรรมทาน ต่าง อาทิ ชุดสังฆทาน ธูปเทียน พวงมาลัย รวมไปถึงพระพุทธรูป
 
สินค้าวางจำหน่าย ในตัวอาคารถาวร มีการออกแบบและเพิ่มระบบปรับอากาศ เพื่อรักษาสภาพสินค้า
• ค้าขายในอาคาร บนพื้นที่ขนาด 8 ไร่
• มีผู้ค้ามากกว่า 50 รายคอยให้บริการ
• เปิดบริการ 08.00-24.00 น
 
'''ตลาดข้าวสาร'''
แหล่งรวมข้าวสารคุณภาพดีจากโรงสีทั่วประเทศ อาทิ ข้าวเจ้า, ข้าวเหนียว, ข้าวกล่ำ และข้าวพันธุ์ต่างๆ เช่น ข้าวหอมมะลิ, ข้าวเสาไห้ เป็นต้น
 
'''ลักษณะตลาด'''
• ค้าขายในอาคารบนเนื้อที่ 2 ไร่
• มีผู้ค้ามากกว่า 30 ราย คอยให้บริการ
• เปิดให้บริการเวลา 07.00-24.00 น.
 
 
'''ตลาดแตงโม'''
รวบรวมแตงโมจากทุกแหล่งผลิตและทุกพันธุ์อาทิ จินตรา, กลมกลาย, โนรี, ตอปิโด, แตงโมเหลือง, แตงโมไร้เมล็ด เป็นต้น
จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง มีจำนวนแผงค้ากว่า 140 แผงค้า เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง
 
ตลาดมะพร้าว
จำหน่ายมะพร้าวอ่อน, มะพร้าวแก่, มะพร้าวเผา และวุ้นมะพร้าว ทั้งปลีกและส่ง มีจำนวนแผงค้ามากกว่า 50 แผง
 
 
'''ตลาดของแห้งสินค้าแปรรูป'''
จำหน่ายขนมสด, ขนมเปี๊ยะ, ของฝากจากชลบุรี, ผลิตภัณฑ์แหนมดอนเมือง, กุนเชียง, น้ำพริก, ของทะเลแห้ง และสินค้า แปรรูปนานาชนิด เป็นต้น จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง
 
ลักษ'''ณะตลาด'''
• แผงขายในอาคารกึ่งถาวร
• จำนวนแผงค้ามากกว่า 40 แผงค้า
• เปิดให้บริการ 08.00-24.00 น.
 
 
'''ตลาดแพปลา'''
เป็นตลาดค้าส่งปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ใกล้แหล่งผลิต
'''ลักษณะตลาด'''
ค้าขายปลาน้ำจืดสดๆหลากหลายชนิด อาทิ ปลาช่อน, ปลายี่สก, ปลาดุก, ปลาหมอ, ปลาตะเพียน, กบ, ปลานา และปลาบ่อทุกชนิด จากทั้งกลุ่มผู้ค้า และเจ้าของบ่อโดยตรง
• ปริมาณการซื้อขายมากกว่า 500 ตันต่อวัน
• มีจำนวนแผงค้ากว่า 30 แผงค้า
• เปิดให้บริการ 02.00-12.00 น.
 
'''ตลาดลานปลาน้ำจืด'''
เป็นตลาดค้าส่งปลาน้ำจืดที่มีพ่อค้าและผู้รวบรวมสินค้านำปลามาขายกึ่งปลีกกึ่งส่ง
 
'''ลักษณะตลาด'''
ค้าขายปลาน้ำจืดสดๆหลากหลายชนิด อาทิ ปลาช่อน, ปลายี่สก, ปลาดุก, ปลาหมอ, ปลาตะเพียน, กบ, ปลานา และปลาบ่อทุกชนิด เป็นตลาดที่มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วมาก
• มีปริมาณการซื้อขายกว่า 100 ตันต่อวัน
• มีพื้นที่รองรับปริมาณรถหมุนเวียนมากกว่า 1,000 คันต่อวัน
• มีจำนวนแผงค้าไว้บริการมากกว่า 100 แผงค้า
• เปิดให้บริการ 13.00-22.00 น.
'''ศูนย์อาหาร'''
ศูนย์อาหารตลาดไท เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง
ศูนย์อาหารตลาดไท จำหน่ายอาหารหลากหลายชนิด สะอาดถูกหลักอนามัยโดยได้รับหนังสือรับรองจากกระทรวง สาธารณสุข โครงการ “อาหารสะอาดรสชาติอร่อย” (Clean Food Good Taste) และ โครงการ “อาหารปลอดภัย ” (Food Safety) ศูนย์อาหารตลาดไท มีทั้งหมด 3 ศูนย์ ได้แก่
• ศูนย์อาหาร 1 ตั้งอยู่ริมถนน 30 เมตรด้านทิศใต้ หน้าอาคารตลาดสดติดกับศูนย์สินค้าของแห้งและแปรรูป
• ศูนย์อาหาร 2 ตั้งอยู่ริมถนน 30 เมตร ด้านทิศใต้ หน้าลานพืชไร่
• ศูนย์อาหาร 3 ตั้งอยู่ริมถนน 30 เมตร ด้านทิศเหนือ หน้าลานผลไม้ฤดูกาล
นอกจากศูนย์อาหารข้างต้นแล้ว ทางตลาดไทยังจัดให้มีบริการรถเข็นอาหารคุณภาพกระจายทั้งหมด 10 จุด ครอบคลุมพื้นที่ตลาดไท
 
 
'''ตลาดสัตว์เลี้ยง'''
จำหน่ายสัตว์เลี้ยงที่กำลังเป็นที่นิยม
ไม่ว่าจะเป็นสุนัข, นก,ไก่ และปลาพันธุ์ต่างๆสีสันสวยงาม หลากหลายแบบให้เลือก รวมถึงอุปกรณ์การเลี้ยงปลา, อาหารปลา, ไรแดง, ต้นไม้น้ำ, ตู้ปลา และอุปกรณ์ตกแต่งตู้ปลาทุกประเภท
ตลาดสินค้าเบ็ดเตล็ด
 
จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ พลาสติกขึ้นรูปต่าง ๆ อาทอถังน้ำ กะละมัง ตระกร้า เรือ พาเลช และของใช้ในครัวเรือนต่างๆ อีกมากมาย
'''ลักษณะตลาด'''
• ตั้งในอาคารชั่วคราว 2 อาคาร
• มีร้านค้ารอให้บริการ 40 แผง
'''ตลาดไม้ประดับ'''
รวบรวมต้นไม้นานาชนิด
ไม่ว่าจะเป็น ไม้ดอก-ไม้ประดับ, ไม้มงคล, ไม้ยืนต้น, พืชสมุนไพรไทย, ว่าน, ไม้พันธุ์สวยงาม และกิ่งพันธุ์ต่างๆ เป็นต้น รวมถึงปุ๋ย, ดิน พร้อมอุปกรณ์การเพาะปลูกและจัดสวนอย่างครบครัน
• ค้าขายบนพื้นที่ขนาด 10 ไร่
• มีผู้ค้ามากกว่า 50 รายคอยให้บริการ
• เปิดบริการ 08.30-18.30 น.
 
'''ลักษณะของคนเดินย่าน การค้าตลาดไท'''
ลักษณะของคนที่เดินในย่านการค้า จะประกอบด้วยประชากรส่วนใหญ่ในย่าน ทั้งหญิงและชาย ส่วนใหญ่จะมีอายุอยู่ในเกณฑ์ 35-55 ปี โดยจะประกอบด้วย
 กลุ่มคนที่เป็นผู้ผลผลิตสินค้าเกษตร หรือ พ่อค้าคนกลาง นำสินค้าเกษตรมาจำหน่ายในย่ายการค้าตลาดไท
 กลุ่มพ่อค้า และ แม่ค้าเร่ ที่มารับสินค้าไปจำหน่าย หรือ แปรรูป
 กลุ่มผู้ใช้แรงงาน มีทั้ง คนไทย และ ชาวต่างด้าว อาทิ พม่า และ กัมพูชา ลาว
 กลุ่มผู้ประกอบการ ที่เป็นเจ้าของแผง หรือ อาคารพาณิชย์ภายในย่านการค้าตลาดไท
 กลุ่มประชาชนทั่วไป ที่มาจับจ่ายสินค้าเพื่อใช้อุปโภคบริโภค
 กลุ่มผู้พักอาศัยภายในชุมชน ตลาดไท
ส่วนผู้ใช้แรงงาน ในย่านการค้า จะมีทั้ง คนไทย และ ชาวต่างด้าว อาทิ พม่า และ กัมพูชา ลาว โดยหากเป็นคนไท อายุจะอยู่ในเกณฑ์ 35-45 ปี ชาวต่างด้าว จะมีอายุอยู่ในเกณฑ์ 18- 35 ปี
 
'''การเดินทางมาย่านการค้า ตลาดไท'''
สามารถเดินทางเข้าสู่ตลาดได้อย่างสะดวกสบาย ด้วยเส้นทางต่อไปนี้
• ถนนพหลโยธินขาออก ทางกลับรถยกระดับ ยู-เทิร์น (ทางกลับรถยกระดับข้ามถนนพหลโยธิน)
• ถนนบางขันธ์-หนองเสือ
• ถนน ร.พ.ช. เชื่อมต่อระหว่างถนนสีขาวกับถนนบางขันธ์-หนองเสือ
โดยหากเป็น ผู้ค้า ส่วนใหญ่จะเดินทางมาทางเด้านถนนสายหลัก (พหลโยธิน ) เข้าทางด้านหน้า
ส่วนถนนด้านหลังย่านการค้าจะเป็น ประชาชนทั่วไปที่เข้ามาจับจ่าย สินค้าในย่านการค้า โดยจะมาจาก ถนนเส้น บางขันธ์ –หนองเสือ
ประเภทพาหนะ ในย่านการค้าตลาดไท
สามารถแบ่งแยกประเภท และ เรียงอันดับ จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้
อันดับ 1 รถยนต์ กะบะ สำหรับ บรรทุก
อันดับ 2 รถมอเตอร์ไซด์ ทั่วไป และรถที่ ต่อเติมเพิ่ม อุปกรร์สำหรับบรรทุก
อันดับ 3 รถเก๋ง
อันดับ 4 รถบรรทุก ขนาดใหญ่
อันดับ 5 รถรับจ้าง อาทิ สองแถว Taxi
อันดับ 6 รถเมล์สาธารณะ สาย 510
'''พฤติกรรมของผู้บริโภคที่แตกต่างๆจากย่านการค้าอื่นๆ'''
 ร้านสะดวกซื้อ ภายในย่านยอดขายไม่มาก หากเปรียบเทียบกับคนที่เข้ามาในย่าน เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ เป๋นกลุ่มคนที่อยู่ในช่วงอายุ 35-55 ปี และ เป็นประชากรที่มาจากต่างจังหวัด และเป็นชาวต่างด้าว จึงมักจะคุ้นเคย และจับจ่ายซื้อสินค้าต่างๆจากร้านขายของชำ หรือ ซุ้มขายเครื่องดืมที่กระจายอยู่ทั่วไปภายในย่าน
 รถสาธารณะ มีคนใช้บริการน้อยมาก เนื่องจากย่านการค้าเป็นย่านธุรกิจ ส่วนใหญ่คนที่เข้ามาในย่านจะนำรถยนต์ส่วนตัวเข้ามาเพื่อใช้ในการบรรทุกสินค้าจำนวนมากกลับ ส่วนประชาชนทั่วไปก็มักจะมีรถส่วนตัวเข้ามาในย่านการค้า เนื่องจาก โซนตลาดสด ที่ประชาชนทั่วไปจะเข้ามาจับจ่ายซื้อสินค้าอยู่ลึกจากถนน ที่เป็นสายหลัก มีรถสาธารณะผ่านหลายสาย ค่อนข้างมาก
 
'''ความโดดเด่นของย่านการค้า ตลาดไท'''
นอกจากนี้ตลาดไท ยังได้ปรับปรุงและพัฒนาย่านการค้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ 'ตลาดไท' เป็นย่านธุรกิจ เป็นศูนย์กลางสินค้าเกษตร และอุตสาหกรรม การเกษตร ครบวงจร ตลาดไทยมีข้อได้เปรียบ ตลาดค้าส่ง สินค้าเกษตรที่อื่นๆ หลายประการดังนี้
1. มีเนื้อที่ขนาดใหญ่ โดยพื้นที่ตลาดมีประมาณ 500 ไร่
2. ทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดศูนย์ กลางของประเทศ การคมนาคม เป็นจุดที่มีวงแหวนรอบนอกตัดผ่าน
ทำให้ผู้ค้าขายมาได้จากทุกภาค ขนส่งสะดวกสบายถนนสายหลัก ภายในโครงการ กว้าง 30 เมตร (6 ช่องจราจร) และถนนเชื่อมระหว่างอาคาร กว้าง 20 เมตรและ 16 เมตร ที่จอดรถกว้างขวางรองรับรถได้ จำนวนมาก
3. มีความเป็นระเบียบด้วยการแบ่งโซนตลาดออกเป็นสัดส่วนตามประเภทของสินค้าที่หลากหลาย ทำให้การซื้อขายเป็นไปอย่างรวดเร็ว
4. มีการเพิ่มโซน จัดจำหน่าย เครื่องมือเกษตร เคมีภัณฑืด้านเกษตร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ผลิต ที่นำสินค้าเข้ามาจำหน่าย ในย่านการค้า
5. ภายในพื้นที่ตลาด ประกอบด้วยธุรกิจ SME ต่างๆ ที่สนับสนุน กิจกรรมหลักของตลาด อาทิ โรงงานผลิตน้ำแข็ง โรงงานแปรรูปอาหาร เช่น โรงงานผลิตปลาร้า ,ผลไม้ดอง เป็นต้น
6. เพียบ พร้อม ด้วย สาธารณูปโภคต่างๆ อย่างครบวงจร
 ศูนย์รวบรวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออก
 ห้องเย็น ขนาดใหญ่ ไว้บริการ ผู้ค้า และ ผู้ซื้อ
 โรงงานแปรรูปอาหารอยู่ภายใน ตลาด
 มีมาตรฐาน และมีความปลอดภัยสูง สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค โดยจัดตั้งศูนย์ ตรวจหาเชื้อและสารปนเปื้อน ภายในโซนตลาดสด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค
 มีธนาคาร เกือบทุกสถาบันอยู่ภายใน ตลาด อาทิ ธนาคารกรุงไทย,กรุงศรีอยุธยา,กรุงเทพ,ไทยพาณิชย์ ,ธนชาติ กสิกร,ธกส. โดยเปิดให้บริการตั้งแต่ 8.30 -18.30 น. ทุกวัน
 มีร้านสะดวกซื้อ เปิด 24 ชม. อาทิ เซเว่น , 108 ช็อป
 เพียบพร้อม ด้วยธุรกิจที่สนองความต้องการทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น บริษัททัวร์ บริการนำเที่ยว จำหน่ายรับจองตั๋วเครื่องบิน ,ร้านเสริมสวย ,โชว์รูมขายรถยนต์ ,ร้านขายอุปกรณ์ประดับยนต์ ,ร้านขายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ,อุปกรณ์ก่อสร้าง โรงแรมที่พัก สถานบันเทิง และอีกหลากหลายธุรกิจ
 
'''ตลาดไท''' จัดเป็นตลาดค้าส่งสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และมีความพร้อมเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้ง ขนาดพื้นที่ หรือสิ่งอำนวยความสะดวก สำหรับผู้ค้าและผู้ซื้อ ที่เข้ามาใช้บริการ นอกจากนี้ผู้บริหารยังมี แนวคิดที่จะทำ มินิแฟคตอรี่รอบๆตลาดไท จากพื้นที่ที่เหลืออีกประมาณ 500 ไร่ ซึ่งจะทำให้ตลาดไท พัฒนาและก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ระดับอาเซียนได้ในอนาคตอันใกล้นี้
 
'''อ้างอิง'''
กานต์รวี สุดชานัง,การจัดการย่านการค้า,มหาวิทยาลัยศรีปทุม,2553