ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิวัฒนาการ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Blueocynia (คุย | ส่วนร่วม)
Blueocynia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 14:
วิวัฒนาการในสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างกระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งปรากฏเป็นลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิต ในมนุษย์ ตัวอย่างเช่น[[ม่านตา|สีของม่านตา]]เป็นหนึ่งในลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่ถ่ายทอดได้ โดยแต่ละคนก็จะได้รับลักษณะดังกล่าวจากบิดามารดา<ref>{{cite journal |author=Sturm RA, Frudakis TN |title=Eye colour: portals into pigmentation genes and ancestry |journal=Trends Genet. |volume=20 |issue=8 |pages=327-32 |year=2004 |pmid=15262401 |doi=10.1016/j.tig.2004.06.010}}</ref> การถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวควบคุมโดย[[ยีน]] ยีนจะอยู่เป็นคู่บนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิต และแสดงออกลักษณะทางพันธุกรรมเรียกว่า "[[ลักษณะทางพันธุกรรม|จีโนไทป์]]" (genotype)<ref name=Pearson_2006>{{cite journal |author=Pearson H |title=Genetics: what is a gene? |journal=Nature |volume=441 |issue=7092 |pages=398-401 |year=2006 |pmid=16724031 |doi=10.1038/441398a}}</ref>
 
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่สร้างขึ้นอันประกอบด้วยลักษณะทางพันธุกรรม (จีโนไทป์) และพฤติกรรมอันเกิดจากการหล่อล้อมของสิ่งแวดล้อม รวมกันเรียกว่า "[[ฟีโนไทป์]]" (phenotype) ลักษณะที่สิ่งมีชีวิตแสดงออกก็จะการปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างลักษณะทางพันธุกรรม (จีโนไทป์) และสิ่งแวดล้อม<ref>{{cite journal |author=Peaston AE, Whitelaw E |title=Epigenetics and phenotypic variation in mammals |journal=Mamm. Genome |volume=17 |issue=5 |pages=365-74 |year=2006 |pmid=16688527 |doi=10.1007/s00335-005-0180-2}}</ref> ผลลัพธ์ก็คือ ไม่ใช่ทุกลักษณะของสิ่งมีชีวิต (ฟีโนไทป์) ที่จะสามารถถ่ายทอดลักษณะดังกล่าวสู่ลูกหลานได้ ตัวอย่างเช่น ลักษณะสีผิวของคนที่แดดส่องจนกลายเป็นสีแทน เป็นลักษณะที่เกิดร่วมกันระหว่างลักษณะพันธุกรรมแต่ละบุคคล (จีโนไทป์) ร่วมกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นลักษณะผิวสีแทนดังกล่าวจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังรุ่นลูกได้ อย่างไรก็ตาม ผิวของคนทั่วไปก็มีปฏิกิริยาต่อแสงแดดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความแตกต่างของ[[ลักษณะทางพันธุกรรม|จีโนไทป์]] อย่างไรก็ดีตัวอย่างดังกล่าวไม่มีผลต่อคน[[ภาวะผิวเผือก|ผิวเผือก]] เนื่องจากคนเหล่านี้ผิวหนังจะไม่มีปฏิกิริยากับแสงแดด<ref>{{cite journal |author=Oetting WS, Brilliant MH, King RA |title=The clinical spectrum of albinism in humans |journal=Molecular medicine today |volume=2 |issue=8 |pages=330-35 |year=1996 |pmid=8796918 |doi=10.1016/1357-4310(96)81798-9}}</ref>
 
ลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมถ่ายทอดระหว่าง[[ดีเอ็นเอ]]ของแต่ละรุ่น อันเป็น[[โมเลกุล]]ที่เก็บข้อมูลลักษณะ และรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต<ref name=Pearson_2006/> ดีเอ็นเอเป็นสารพวก[[โพลิเมอร์]] ประกอบด้วย[[นิวคลีโอเบส|เบส]] 4 ชนิด ลำดับเบสในดีเอ็นเอเรียงลำดับตามข้อมูลทางพันธุกรรม โดยใช้อักษรทางภาษาอังกฤษแทน อันได้แก่ A, T, C และ G ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ ส่วนของโมเลกุลดีเอ็นเอที่ระบุหน้าที่ของยูนิตเรียกว่า "[[ยีน]]" แต่ละยีนก็จะมีลำดับเบสที่แตกต่างกันไป ใน[[เซลล์]] ประกอบไปด้วยดีเอ็นเอสายยาวรวมกันกับโปรตีนเป็นโครงสร้างรวมกันเรียกว่า "[[โครโมโซม]]" บริเวณจำเพาะที่อยู่ของโครโมโซมเรียกว่า "[[โลคัส]]" (locus) ลำดับของดีเอ็นเอ ณ ตำแหน่งโลคัสแตกต่างกันไปในแต่ละคน ทำให้เกิดรูปแบบที่แตกต่างกันในลำดับดังกล่าว เรียกว่า "[[อัลลีล]]" (allele) ลำดับดีเอ็นเอสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยผ่านการะบวนการ[[การกลายพันธุ์|กลายพันธุ์]] ทำให้เกิดอัลลีลใหม่ ถ้ากระบวนการกลายพันธุ์เกิดขึ้นกับยีน อัลลีลใหม่จะส่งผลกระทบต่อลักษณะของสิ่งมีชีวิตอันเนื่องมาจากการควบคุมของยีน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตามความสอดคล้องระหว่างอัลลีล และลักษณะทางพันธุกรรมทำงานร่วมกันในบางกรณี แต่ลักษณะส่วนใหญ่จะซับซ้อน และเป็นลักษณะที่ควบคุมโดยยีนมากกว่า 1 ชนิด<ref>{{cite journal |author=Mayeux R |title=Mapping the new frontier: complex genetic disorders |journal=J. Clin. Invest. |volume=115 |issue=6 |pages=1404-07 |year=2005 |pmid=15931374 |doi=10.1172/JCI25421}}</ref><ref name=Lin>{{cite journal |author=Wu R, Lin M |title=Functional mapping - how to map and study the genetic architecture of dynamic complex traits |journal=Nat. Rev. Genet. |volume=7 |issue=3 |pages=229-37 |year=2006 |pmid=16485021 |doi=10.1038/nrg1804}}</ref>