ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาวดึงส์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''ดาวดึงส์''' หรือ '''ไตรตรึงษ์''' เป็นสวรรค์ชั้นสูงจากชั้นจาตุมหาราชิก ขึ้นไป 336,000,000 วา หรือ 168,000 กิโลเมตร ดาวดึงส์อยู่บนเขาพระสุเมรุ มี[[พระอินทร์]]เป็นผู้ปกครองอยู่ เป็นเมืองใหญ่ที่สร้างอย่างงดงามด้วย[[ทอง]]และ[[แก้ว]] 7 ประการ มีเสียง[[ดนตรี]]บรรเลงอยู่อย่างไพเราะ กลางเมืองดาวดึงส์มีปราสาทใหญ่ที่งดงามเป็นที่ประดับของพระอินทร์
 
บนสวรรค์ชั้นนี้มีอุทยานที่งดงามมากอยู่ 4 แห่ง อุทยานทางทิศตะวันออกมีชื่อว่า นันทวนุทยาน หรือสวนนันทวัน แปลว่า สวนที่รื่นรมย์ ในสวนด้านที่ใกล้กับตัวเมืองมีสระใหญ่ 2 สระ สระหนึ่งมีชื่อว่า สระนันทาโบกขรณี อีกสระหนึ่งมีชื่อว่า จุลนันทาโบกขรณี มีแผ่นศิลา 2 แผ่น แผ่นหนึ่งมีชื่อว่า นันทาปริถิปาสาณ อีกแผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จุลนันทาปริถิปาสาณ เป็นศิลาที่มีรัศมีเรืองรอง เมื่อจับดูจะรู้สึกว่านิ่มเหมือนขนสัตว์ นอกเมืองดาวดึงส์ออกไปทางทิศใต้ มีอุทยานอีกแห่งหนึ่งมีชื่อว่า ผรุสกวัน หรือปารุสกวัน แปลว่า ป่าลิ้นจี่ ในอุทยานนี้ด้านใกล้ตัวเมือง มีสระใหญ่ 2 สระ สระหนึ่งมีชื่อว่า ภัทราโบกขรณี อีกสระหนึ่งมีชื่อว่า สุภัทราโบกขรณี '''''โอมรักอาร์ตนะ'''''มีก้อนแก้วใส 2 ก้อน ก้อนหนึ่งมีชื่อว่า ภัทราปริถิปาสาณ อีกก้อนหนึ่งมีชื่อว่า สุภัทราปริถิปาสาณ เป็นแก้วเกลี้ยงและอ่อนนุ่ม ทางด้านทิศตะวันตกของนครไตรตรึงษ์ มีอุทยานอีกแห่งหนึ่งมีชื่อว่า จิตรลดาวัน แปลว่า ป่ามีเถาวัลย์หลากสีสวยงาม สระในอุทยานนี้มีชื่อว่า จิตรโบกขรณี และจุลจิตรโบกขรณี ส่วนแผ่นศิลาแก้วในอุทยานนี้แผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จิตรปาสาณ อีกแผ่นหนึ่งมีชื่อว่า จุลจิตรปาสาณ อุทยานสุดท้ายทางด้านทิศเหนือมีชื่อว่า สักกวัน หรือ มิสกวัน แปลว่า ป่าไม้ระคน สระใหญ่ในอุทยานนี้มีชื่อว่า ธรรมาโบกขรณี และสุธรรมาโบกขรณี ส่วนแผ่นศิลาแก้วมีชื่อว่า ธรรมาปริถิปาสาณ และสุธรรมาปิริถิปาสาณ
 
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์พุทธศาสนา]]