ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาช่อนบาร์กา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{Taxobox | name = ปลาช่อนบาร์กา | image =Channa_barca.jpg | regnum = Animalia | phylum = Chordata | classis = Actinopterygii | ordo =...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:38, 5 พฤศจิกายน 2553

ปลาช่อนบาร์กา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Perciformes
วงศ์: Channidae
สกุล: Channa
สปีชีส์: C.  barca
ชื่อทวินาม
Channa barca
(Hamilton, 1822)
ชื่อพ้อง
  • Ophicephalus barca

ปลาช่อนบาร์กา (อังกฤษ: Barca snakehead) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Channa barca ในวงศ์ปลาช่อน (Channidae) มีความยาวเต็มที่ประมาณ 90 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีสีสันสวยงามมาก โดยมีสีเขียวและเหลืองประกอบกับจุดสีดำและแดงกระจายทั่วบริเวณส่วนหัว, ลำตัว และครีบ ส่วนหัวมีขนาดโตและปากกว้างมาก จนได้ชื่อว่าเป็นปลาช่อนที่มีความสวยงามที่สุดในโลก[1]

มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ในแม่น้ำพรหมบุตรและแม่น้ำคงคาในรัฐอัสสัมและรัฐเบงกอลตะวันตก

ปลาช่อนบาร์กา เป็นที่รู้จักครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1822 โดย ฟรานซิส บูชาแนน แฮมิลตัน ซึ่งเป็นนายแพทย์และนักชีววิทยาประจำกองทัพจักรวรรดิอังกฤษที่ปกครองอินเดียอยู่ ได้ศึกษาธรรมชาติในรัฐเบงกอลและได้ค้นพบปลาน้ำจืดชนิดใหม่ ๆ ได้ถึง 100 ชนิด หนึ่งในนั้นคือ ปลาช่อนชนิดนี้ พร้อมกับได้เขียนภาพประกอบไว้ โดยได้ตีพิมพ์ในหนังสือชื่อ An account of the fishes found in the river Ganges and its branches โดยบรรภาพไว้เกี่ยวกับปลาช่อนบาร์กาว่า ความยาวเต็มที่ได้ถึง 90 เซนติเมตร และทำรังโดยขุดรูขึ้นบริเวณริมฝั่งโผล่และเฉพาะส่วนหัวออกมาเพื่อหาอาหาร

ปลาช่อนบาร์กา จัดไว้เป็นหนึ่งในปลาช่อนที่หายากที่สุดในโลก[2]จากคุณสมบัติทั้งหมดดังกล่าว ทำให้เป็นปลาสวยงามที่มีราคาแพงมากชนิดหนึ่ง[3] และสำหรับในประเทศไทยเป็นปลาที่มีเพียงแค่ไม่กี่ตัว โดยพฤติกรรมในสถานที่เลี้ยงจะกินอาหารจำพวกแมลงและสัตว์เลื้อยคลาน[4][5]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลภายนอก