ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อั้งยี่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zambo (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
อั้งยี่ (จีน:紅字) คือ กลุ่มสมาคมรับที่ก่อตั้งโดยชาวจีนเพื่อต่อต้านราชวงศ์ชิง กระจ่ายอยู่ทั่วทุกที่ ที่มีชาวจีนอพยพไปอยู่
คำสำคัญ '''"อั้งยี่"''' สามารถหมายถึง
== กำเนิดอั้งยี่ "หวนเช็งหกเหม็ง" โค่นเช็งกู้เหม็ง ==
บันทึกใน สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ บันทึกว่า ''เมื่อฉัน เป็นนายพลผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกอยู่ในกรมยุทธนาธิการ ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๓๐ จนถึง พ.ศ. ๒๔๓๒ ได้เคยมีหน้าที่ทำการปราบปรามพวกจีนอั้งยี่ในกรุงเทพฯครั้งหนึ่ง ต่อมาถึงสมัยฉันเป็นตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๕ จน พ.ศ. ๒๔๕๘ มี หน้าที่ต้องคอยระวังพวกอั้งยี่ตามหัวเมืองอยู่เสมอบางทีต้องปราบปรามบ้างแต่ ไม่มีเหตุใหญ่โตเหมือนเมื่อครั้งฉันอยู่ในกรมยุทธนาธิการ ถึงกระนั้นก็ยังได้ความรู้เรื่องอั้งยี่มากขึ้น ครั้นเมื่อฉันออกจากกระทรวงมหาดไทยมาจัดการหอพระสมุดสำหรับพระนครมีกิจตรวจค้นโบราณคดี พบเรื่องอั้งยี่ที่มาในเมืองไทยแต่ก่อนๆในหนังสือพงศาวดารและจดหมายเหตุเก่าหลายแห่ง เลยอยากรู้ตำนานของพวกอั้งยี่ จึงได้ไถ่ถามผู้ที่เคยเป็นหัวหน้าอั้งยี่ที่คุ้นเคยกัน คือ พระอนุวัติราชนิยม ซึ่งมักเรียกว่า "ยี่กอฮง" นั้นเป็นต้น เขาเล่าให้ฟังได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีก จึงได้ลองเขียนบันทึกเรื่องอั้งยี่ไว้บ้างหลายปีมาแล้ว ครั้นออกมาอยู่เมืองปีนัง ฉันได้มาเห็นตำนานต้นเรื่องอั้งยี่ที่แรกเกิดขึ้นในเมืองจีน มิสเตอร์ ปิคเกอร์ริง (Mr. W.A. Pickering)แปลจากภาษาจีน ในตำราของพวกอั้งยี่ พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษไว้ในหนังสือวารสารของสมาคมรอแยลอาเชียติก Journal of Royal Asiatic Society เมื่อ ค.ศ. ๑๘๗๘ (พ.ศ. ๒๔๒๑) เขาเล่าถึงพวกจีนมาตั้งอั้งยี่ในหัวเมืองขึ้นของอังกฤษในแหลมมลายูเป็นอันใด เรื่องเบื้องต้นต่อกับเรื่องอั้งยี่ที่ฉันเคยรู้มาก่อนอีกตอนหนึ่ง จึงลองรวมเนื้อความเรื่องอั้งยี่เขียนนิทานเรื่องนี้
''เมื่อพวกเม่งจูได้พวกจีนไว้ในอำนาจ ตั้งราชวงศ์ไต้เช็งครองเมืองจีนแล้ว ถึง พ.ศ. ๒๒๐๗ พระเจ้าคังฮีได้เสวยราชย์เป็นรัชกาลที่ ๒ ในรัชกาลนั้นมีพวกฮวนเฮงโน้วอยู่ทางทิศตะวันตกยกกองทัพมาตีเมืองจีน เจ้าเมืองกรมการที่รักษาหัวเมืองชายแดนจีนต่อสู้ข้าศึกไม่ไหว พระเจ้ากรุงจีนคังฮีจะแต่งกองทัพออกไปจากกรุงปักกิ่ง หาตัวแม่ทัพไม่ได้ จึงให้ออกประกาศว่า ถ้าใครอาสาปราบปรามพวกฮวนได้ จะประทานทองเป็นบำเหน็จ ๑๐,๐๐๐ ตำลึง และจะให้ปกครองผู้คน ๑๐,๐๐๐ ครัวเป็นบริวาร ครั้งนั้นที่วัดแห่งหนึ่งบนเขากุ้ยเลงแขวงเมืองเกี้ยนเล้งในแดนจีนฮกเกี้ยนมีหลวงจีนอยู่ด้วยกัน ๑๒๘ องค์ ได้ร่ำเรียนรู้วิชาอาคมมาก พากันเข้ามาอาสารบพวกฮวน พระเจ้ากรุงจีนทรงยินดี แต่วิตกว่าหลวงจีนมีแต่ ๑๒๘ องค์ด้วยกัน พวกข้าศึกมากนัก จึงตรัสสั่งให้ขุนนางผู้ใหญ่คนหนึ่งชื่อ เต็งกุนตัด คุมกองทัพไปด้วยกันกับพวกหลวงจีน ไปรบข้าศึกที่ด่านท่งก๊วน พวกหลวงจีนกับพวกกองทัพกรุงปักกิ่งมาชัยชนะฆ่าฟันพวกฮวนล้มตายแตกหนีไปหมด พระเจ้ากรุงจีนจะประทานบำเหน็จรางวัลตามประกาศ พวกหลวงจีนไม่รับยศศักดิ์และบริวาร ขอกลับไปจำศีลภาวนาอยู่อย่างเดิม รับแต่ทอง ๑๐,๐๐๐ ตำลึงไปบำรุงวัด พระเจ้ากรุงจีนก็ต้องตามใจ ส่วนเต็งกุนตัดขุนนางผู้ใหญ่ที่ไปช่วยพวกหลวงจีนนั้นได้รับบำเหน็จเป็นแม่ทัพใหญ่ ณ เมืองโอ๊วก๊วง
''เต็งกุนตัดกับพวกหลวงจีน ๑๒๘ องค์ เคยชอบพอกันสนิทสนมมาตั้งแต่ไปรบพวกฮวน เมื่อจะออกจากเมืองปักกิ่งแยกกันไป เต็งกุนตัดจึงเชิญหลวงจีนทั้งหมดไปกินเลี้ยงด้วยกันวันหนึ่ง แล้วเลยกระทำสัตย์สาบานเป็นพี่น้องกันต่อไปในวันหน้า ก็ในเวลานั้นมีขุนนางกังฉิน ๒ คน เคยเป็นอริกับเต็งกุนตัดมาแต่ก่อน ทูลพระเจ้ากรุงจีนว่า เมื่อเต็งกุนตัดจะออกไปจากเมืองปักกิ่งได้ลอบกระทำสัตย์สาบานเป็นพี่น้องไว้กับพวกหลวงจีน ๑๒๘ องค์ดูผิดสังเกต สงสัยว่าเต็งกุนตัดจะคิดมักใหญ่ใฝ่สูง จึงได้สาบานเป็นพี่น้องไว้กับพวกหลวงจีนที่มีฤทธิ์เดช โดยหมายจะเอาไว้ป็นกำลัง เวลาเต็งกุนตัดออกไปเป็นแม่ทัพบังคับบัญชารี้พลมาก ถ้าได้ช่องจะสมคบกับพวกหลวงจีนพากันยกกองทัพเข้ามาชิงราชสมบัติ น่ากลัวคนในเมืองหลวงจะไม่กล้าต่อสู้เพราะกลัวฤทธิ์เดชของพวกหลวงจีน พวกขุนนางกังฉินคอยหาเหตุทูลยุยงมาอย่างนั้น
''จนพระเจ้ากรุงจีนคังฮีเห็นจริงด้วย จึงปรึกษากันคิดกลอุบายตั้งขุนนางกังฉิน ๒ คนนั้นเป็นข้าหลวง คนหนึ่งให้ไปยังเมืองโอ๊วก๊วง ทำเป็นทีว่าคุมของบำเหน็จไปพระราชทานเต็งกุนตัด อีก คนหนึ่งให้ไปยังวัดบนภูเขากุ้ยเล้ง ทำเป็นทีว่าคุมเครื่องราชพลี มีสุราบานและเสบียงอาหาร เป็นต้นไปพระราชทานแก่พวกหลวงจีน ๑๒๘ องค์ เมื่อข้าหลวงไปถึงเมืองโอ๊วก๊วง เต็งกุนตัดออกไปรับข้าหลวงถึงนอกเมืองหลวงตามประเพณี ข้าหลวงก็อ่านท้องตราว่าเต็งกุนตัดคิดกบฏต้องโทษถึงประหารชีวิต แล้วจับตัวเต็งกุนตัดฆ่าเสีย ฝ่ายข้าหลวงที่ไปยังภูเข้ากุ้ยเล้ง พวกหลวงจีนก็ต้อนรับโดยมีการเลี้ยงรับที่วัด ข้าหลวงเอายาพิษเจือสุราของประทานไปตั้งเลี้ยง แต่หลวงจีนเจ้าวัดได้กลิ่นผิดสุราสามัญ เอากระบี่กายสิทธิ์สำหรับวัดมาจุ่มลงชันสูตร เกิดเปลวไฟพลุ่งขึ้นรู้ว่าเป็นสุราเจือยาพิษ ก็เอากระบี่ฟันข้าหลวงตาย แต่ขณะนั้นพวกข้าหลวงที่ล้อมอยู่ข้างนอกพากันจุดไฟเผาวัดจนไหม้โทรมหมด พวกหลวงจีน ๑๒๘ องค์ตายอยู่ในไฟบ้าง พวกข้าหลวงฆ่าตายบ้าง หนีรอดไปได้แต่ ๕ องค์ ชื่อ ฉอองค์หนึ่ง บุงองค์หนึ่ง มะองค์หนึ่ง โอองค์หนึ่ง ลิองค์หนึ่ง พากันไปซ่อนตัวอยู่ที่วัดแห่งหนึ่ง ในแขวงเมืองโอ๊วก๊วง ที่เต็งกุนตัดเคยเป็นแม่ทัพอยู่แต่ก่อน
''อยู่มาวันหนึ่ง หลวงจีน ๕ องค์นั้งลงไปที่ริมลำธาร แลเห็นกระถางธูปสามเขามีหูสองข้างใบหนึ่ง ลอยมาในน้ำกำลังมีควันธูปในอากาศ นึกหลากใจจึงลงไปยกขึ้นมาบนบกพิจารณาดู เห็นมีตัวอักษาอยู่ที่ใต้กระถางธูปนั้น ๔ ตัว ว่า หวน เชง หก เหม็ง แปลว่ากำจัดเชงเสีย กลับยกเหม็งขึ้น นึกสงสัยว่าเทวดาฟ้าและดินจะสั่งให้ทำอย่างนั้นหรืออย่างไร ลองเสี่ยงทายดูหลายครั้งก็ปรากฏว่าให้ทำเช่นนั้นทุกครั้ง หลวงจีนทั้ง ๕ ประจักษ์แจ้งแก่ใจดังนั้น จึงเอาหญ้าปักต่างธูปที่ในกระถางจุดบูชา แล้วกระทำสัตย์กันตามแบบที่เล่าปี่ กวนอู เตียวหุยสัญญากันแต่ก่อน ว่าจะช่วยกันทำนุบำรุงแผ่นดิน และจะกำจัดราชวงศ์ไต้เช็งเอาบ้านเมืองคืนให้แก่ราชวงศ์ไต้เหม็งตามเดิม เมื่อปฏิญาณกันแล้ว เห็นสมุดตำราพยากรณ์มีอยู่ในก้นกระถางด้วยก็พากันยินดี แต่ในขณะนั้นเองพวกข้าหลวงที่เที่ยวติดตามก็ไปถึงจะเข้าล้อมจับ พวกหลวงจีนจึงอุ้มกระถางธูปวิ่งหนีไป เผอิญวันนั้นนางกู้ส่วยเองเมียงเต็งกุนตัดที่ถูกฆ่าตาย พาลูกและญาติพี่น้องออกไปเซ่น ณ ที่ฝังศพเต็งกุนตัด ในเวลากำลังเซ่นอยู่ได้ยินเหมืองเสียงคน แลไปดูเห็นกระบี่เล่มหนึ่งโพล่ขึ้นมาจากแผ่นดิน เอามาพิจารณาดูเห็นมีตัวอักษรจารึกที่กั่นกระบี่ว่า น่อ เล้ง โต๊ว แปลว่ามังกรสองตัวชิงดวงมักดากัน และที่ในตัวกระบี่ก็มีอักษรจารึกว่า หวน เช็ง หก เหม็ง แปลว่าให้กำจัดราชวงศ์ไต้เช็งคืนแผ่นดินให้ราชวงศ์เหม็ง ในเวลาที่กำลังพิจารณาตัวอักษรอยู่นั้นได้ยินเสียงคนร้องให้ช่วย นางกู้ส่วยเองก็ถือกระบี่ที่ได้ใหม่มาพาพวกพ้องออกไปดูเห็นข้าหลวงกำลังไล่หลวงจีนทั้ง ๕ องค์มา พวกนางกู้ส่วยเองเข้าป้องกันหลวงจีน เอากระบี่ฟันถูกข้าหลวงตาย พรรคพวกก็หนีไปหมด นางกู้ส่วยเองกับพวกหลวงจียไถ่ถามและเล่าเรื่องฝ่ายของตนให้กันฟัง ก็รู้ว่าเป็นพวกเดียวกันมาแต่เดิม และได้ถูกเนรคุณอย่างเดียวกัน นางจึงให้พวกหลวงจีนอาศัยอยู่ที่บ้าน จนเห็นการสืบจับสงบเงียบ แล้วจึงให้หลวงจีนทั้ง ๕ กลับไปอยู่วัดตามเดิม หลวงจีนทั้ง ๕ นี้ได้นามว่า โหวง โจ๊ว แปลว่า บุรุษทั้ง ๕ ของอั้งยี่ต่อมา''
 
 
 
 
 
 
 
 
* [[อั้งยี่ (สมาคมในประเทศไทย)]] - สมาคมลับของคนจีน
* [[อั้งยี่ (ความผิดอาญา)]] ({{lang-en|secret society}}) - ชื่อ[[ความผิดอาญา]]ฐานเป็นสมาชิก ของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดําเนินการและมีความมุ่งหมายเพื่อการอันมิชอบด้วยกฎหมาย เรียกว่า ความผิดฐานเป็นอั้งยี่.
 
{{แก้กำกวม}}