ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พูดคุย:แย้ม ประพัฒน์ทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dhanitar (คุย | ส่วนร่วม)
บันทึกเพื่อสืบค้นต่อไป
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:43, 31 ตุลาคม 2553

ขอบันทึกหมายเหตุไว้ : 1. หนังสือ ที่ น.อ.แย้ม ประพัฒน์ทอง เรียบเรียง "มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร" มีพูดถึงที่นี่

    - http://www.baanmaha.com/community/thread21978.html 
    - http://www.dbookclub.com/more.php?id=618 
    - http://tumtoilet3.tarad.com/product.detail_255836_th_2153503

2. คำปรารภในการเรียบเรียง "มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร"

..หลังจากอ่านสามก๊กแล้ว เพราะแรงศรัทธาและแรงประทับใจทำให้นึกถึงเรื่องอิงประวัติศาสตร์ทางศาสนาเรื่องหนึ่ง จากการตรัสเล่าโดยพระพุทธเจ้าเองในครั้งแรกและการเล่าขยายความในครั้งที่สองต่อมาของพระเถระนักเขียนชั้นปราชญ์ สมัยพุทธศตวรรษที่สิบ นั่นคือเรื่องมโหสถชาดก ในหนังสือพระไตรปิฎก

เนื้อหาของเรื่องมีทั้งความสนุกสนานเพลิดเพลิน สารคติ ปรัชญาชีวิต เล่ห์เหลี่ยมชั้นเชิง กุสโลบายในการขจัดอุปสรรค ชั้นเชิงทางการฑูตในสงคราม ความรัก โดยมีมโหสถเป็นตัวเอกของเรื่อง

แรงความรักในสามก๊ก แรงประทับใจเทิดทูนบูชาในความเรืองปรีชาของขงเบ้ง เป็นสื่อจูงใจให้เกิดความรัก ความรักในมโหสถชาดก และเกิดความประทับใจ ใคร่เทิดทูนบูชาในความเปรื่องปรีชาของมโหสถ ทำให้ผมทนลำบากตรากตรำ สู้อดหลับอดนอน นั่งหลังขดหลังแข็งเป็นเวลาร่วมสิบปี เพื่อถ่ายทอดมโหสถชาดกจากต้นฉบับภาษาบาลีมาสู่ภาษาไทย ไม่ใช่เป็นการแปลคำต่อคำ แต่เป็นการถอดความและเรียงความใหม่ ...(คำปรารภของ น.อ. แย้ม ประพัฒน์ทอง)

ที่นี่ http://nongpangbook.tarad.com/product.detail_272275_th_2618222

3. คำแนะนำ มุมวรรณกรรม มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ http://www.rsu.ac.th/soc/corner30.html ว่า :

เนื่องจากคุณค่าหลายด้าน ของมหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร ทำให้อ่านได้จากหลายนัย บ้างอาจจะถือ เป็นงานที่ให้เนื้อหาสาระเป็นหลัก บ้างอาจจะอ่าน เป็นบันเทิงคดี บ้างอาจจะถือเป็น งานเผยแพร่ศาสนา ด้วยวิธีที่แยบยล บ้างอาจจะถือเป็นงาน โดยคนไทย ของคนไทย เพื่อคนไทย ฯลฯ ทั้งนี้ตามโลกทัศน์ และความมุ่งหมาย ในการอ่าน ของแต่ละคน สำหรับผู้ที่รับอิทธิพล พุทธศาสนา ไม่ว่าจะตามแบบฉบับชาวบ้าน หรือตามภูมินักวิชาการ คงโน้มเอียง ที่จะถือเรื่องนี้ เป็นวรรณกรรม พุทธศาสนา โดยเฉพาะ ในส่วนที่เป็นชาดก ความจริง มีงานเกี่ยวกับทศชาดกนี้ อยู่มาก ทั้งที่เป็นงานเขียน สิ่งพิมพ์ และอาจจะนับรวม จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์ และภาพวาดไว้ด้วย แต่งานในรูปแบบ มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานครนี้ หาได้ยากอย่างยิ่ง ด้วยว่า เป็นงานริเริ่ม ที่สร้างสรรค์ได้งดงาม ควรแก่การตั้งความหวังว่า อาจจะเป็นตัวอย่าง แก่ทั้งนักประพันธ์ และผู้อ่าน ให้ก่อจินตนาการ ในทำนองนี้ จากเนื้อหาชาดกเรื่องอื่นๆ คุณค่าทางใจ จากภูมิปัญญา พุทธศาสนา จะได้งอกงาม นอกเหนือออกไป จากเพียงสถาบันสงฆ์

4. เคยสร้างเป็นละครชุดทางโทรทัศน์ ศรีมโหสถ นำแสดงโดย มาฬิศร์ เชยอรุณ ดูจากที่นี่ http://www.ethaicd.com/show.php?pid=55855

กลับไปที่หน้า "แย้ม ประพัฒน์ทอง"