ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ข้ามภาษา เพราะว่าไม่มีบทความในวิกิอังกฤษ
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 3:
| ภาพ = | ชื่อ = โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
| ชื่ออังกฤษ = Narathiwat Hospital
| ก่อตั้ง = [[พ.ศ. 2484 ]]
| ประเภท = รัฐ ([[โรงพยาบาล|โรงพยาบาลประจำจังหวัด]])
| สถาบันสมทบ = ([[โรงพยาบาล|คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์]])
บรรทัด 18:
== ประวัติ ==
 
โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 แต่เดิมใช้ชื่อว่า โรงพยาบาลนราธิวาส มีฐานะเป็นสุขศาลาของ กรมสาธารณสุข มีเนื้อที่ 40 ไร่ กระทรวงสาธารณสุขได้ทำการปรับปรุงและยกฐานะเป็นโรงพยาบาล โดยมีนายแพทย์สุรินทร์ พรหมพิทักษ์ เป็นผู้อำนวยการคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2486 และมีเตียงรับผู้ป่วยในขั้นแรก 16 เตียง ต่อมาได้รับงบประมาณจากรัฐบาลให้ทำการปรับปรุงและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตามแผนการพัฒนาเศณษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-3 จนเข้ามาตรฐานเช่นโรงพยาบาลอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ในระยะแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 กระทรวงสาธารณสุขได้จำแนกประเภทของโรงพยาบาลทั่วไป(ตามที่ ก.พ.เห็นชอบ ซึ่งมีอยู่ 72 แห่งทั่วประเทศ) ในปลายแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 ปัจจุบันโรงพยาบาลนราธิวาสจัดอยู่ในโรงพยาบาลทั่วไปขนาด 360 เตียง
 
ได้มีวิวัฒนาการเพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นของท้องถิ่นที่เจริญเติบโตขึ้น รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศดังนี้
บรรทัด 26:
*พ.ศ. 2490 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารพิเศษ 1 เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว ปัจจุบันได้มีการปรับปรุงและซ่อมแซมและให้บริการผู้ป่วยด้านการแพทย์แผนไทย
*พ.ศ. 2492 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารผ่าตัด เป็นอาคารคอนกรีตชั้นเดียว ปัจจุบันรื้อถอนและก่อสร้างอาคารศัลยกรรมขึ้นแทน
*พ.ศ. 2498 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างตึกสูติกรรมเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น ปัจจุบันทำการรื้อถอนเนื่องจากความเก่าแก่ และมีการก่อสร้างอาคารอื่นทดแทนนอกจากนั้นยังได้รับบริจาคเงินจากประชาชนเพื่อสร้างตึกพิเศษประชา และตึกพิเศษ 2 เป็นอาคารไม้ ชั้นเดียว 2 หลัง ปัจจุบันปิดบริการแล้ว
*พ.ศ. 2502 ได้รับงบประมาณ เพื่อก่อสร้างตึกผู้ป่วยนอก เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ปัจจุบันเป็นหน่วยพัสดุ
*พ.ศ. 2514 ได้รับงบประมาณก่อสร้างตึกผ่าตัด เป็นอาคารชั้นเดียว เดิมมีห้องผ่าตัดเพียง 2 ห้องต่อมาในปีพ.ศ. 2524 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานเงินเพื่อขยายห้องผ่าตัดเพิ่มอีก 2 ห้อง
บรรทัด 34:
*พ.ศ. 2523 ได้รับงบประมาณ เพื่อก่อสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินป็นอาคารเสริมเหล็กชั้นครึ่ง ภายในอาคารประกอบด้วยหน่วยงานอุบัติเหตุและหน่วยไตเทียมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา
*พ.ศ. 2525 ได้รับงบประมาณและสมทบเงินบำรุงโรงพยาบาล เพื่อก่อสร้างตึกเอ็กเรย์ เป็นอาคารคอนกรีตชั้นครึ่ง นอกจากนี้ยังได้รับงบประมาณก่อสร้างตึก ผู้ป่วยหนักเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชั้นครึ่งเช่นเดียวกัน
*พ.ศ. 2528 ได้รับเงินบริจาคจากคุณแม่ละมุน โชติบัณฑ์ จำนวน 1,800,000 บาทเพื่อก่อสร้างตึกสงฆ์อาพาธเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ปัจจุบันยังคงเปิดให้บริการ
*พ.ศ. 2535 ได้รับงบประมาณจำนวน 6,224,000 บาทก่อสร้างอาคารผู้ป่วยศัลยกรรม 2-3 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ปัจจุบันเปิดให้บริการสำหรับผู้ป่วยศัลยกรรมชาย
*พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเปี่ยมสุข จำนวนเตียง 90 เตียง ประกอบด้วยเตียงสามัญ 74 เตียง เตียงพิเศษ 16 เตียง ห้องคลอด 6 เตียง
*พ.ศ. 2539 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเฉลิมราชย์ ในวงเงิน 62,500,000 บาท ปัจจุบันเปิดชั้น 1 ให้บริการผู้ป่วยนอก ชั้น 2 กลุ่มงานทันตกรรม และคลินิกพิเศษ ชั้น 3 กลุ่มงานอำนวยการ ชั้น 4 เป็นห้องประชุมภักดีบดินทร์ งานวิชาการ และงานเวชระเบียน
*พ.ศ. 2540 ได้รับงบประมาณให้สร้างอาคาร นวมินทร์ เป็นอาคารผู้ป่วยพิเศษ 5 ชั้น
*พ.ศ. 2549 ได้รับงบประมาณให้สร้างอาคารพระบารมีปกเกล้า เป็นอาคารบำบัดรักษา 4 ชั้น ชั้น 1 เป็นงานเอ็กเรย์ ชั้น 2 เป็นกลุ่มงานพยาธิวิทยา ชั้น 3 งานผู้ป่วยหนัก ชั้น 4 งานห้องผ่าตัด
นอกจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วย โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ ยังเป็นโรงพยาบาลที่รองรับผู้ป่วยใน3จังหวัดแล้ว ยังให้การรักษาฉุกเฉิน ยังประเทศมาเลเซียอีกด้วย ยังเป็นสถาบันรว่มมือกับคณะแพทยศาสตร์ นราธิวาสราชนครินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ ตลอดจนที่เป็นที่ปฎิบัติงานปฏิบัติงาน ของนักศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ จึงเป็นทั้ง สถานพยาบาล และศูนย์การศึกษา ในสาขาวิทยศาสตร์สุขภาพ อีกด้วย
== ทำเนียบผู้บริหาร ==
จากอตีตถึงปัจจุบัน โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์มีผู้อำนวยการรวมทั้งสิ้น 12 ท่าน ได้แก่
#นายแพทย์สุรินทร์ พรหมพิทักษ์ (พ.ศ. 2484-พ.ศ. 2491)
#นายแพทย์โอภาส มีนะกรรณ (พ.ศ. 2491-พ.ศ. 2517)
#นายแพทย์ธัชชัย มุ่งการดี (พ.ศ. 2517-พ.ศ. 2519)
#ร.ท.นายแพทย์วีระ คณานุรักษ์ (พ.ศ. 2519-พ.ศ. 2532)
#นายแพทย์ณัฐพงศ์ อนันตบุรี (พ.ศ. 2532-พ.ศ. 2537)
#นายแพทย์พิษณุ มณีโชติ (พ.ศ. 2537)
#นายแพทย์พงศักดิ์ เอกจริยาวัฒน์ (พ.ศ. 2537-พ.ศ. 2539)
#นายแพทย์ประจักษ์ เค้าสงวนศิลป์ (พ.ศ. 2539-พ.ศ. 2542)
#แพทย์หญิงพรจิต จันทรัศมี (พ.ศ. 2542-พ.ศ. 2546)
#นายแพทย์สุทัศน์ ศรีวิไล (พ.ศ. 2546-พ.ศ. 2549)
#นายแพทย์เฉลิม ศักดิ์ศรชัย (พ.ศ. 2549-พ.ศ. 2550)
#นายแพทย์วิรุฬห์ พรพัฒน์กุล (พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน)