ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความคลั่งทิวลิป"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 183.89.156.238 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Broadbot
บรรทัด 9:
การค้นคว้าเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับความคลั่งทิวลิปเป็นไปได้ยากเพราะข้อมูลจากคริสต์ทศวรรษ 1630 มีเพียงจำกัด—นอกจากนั้นข้อมูลส่วนใหญ่ที่มีอยู่ก็ยังขาดความเป็นกลาง และมาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการเก็งกำไร<ref name=Kuper/><ref> [http://library.wur.nl/speccol/pamphlet.html A pamphlet about the Dutch tulipomania] Wageningen Digital Library, July 14, 2006. Retrieved on August 13, 2008.</ref> แทนที่จะใช้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ว่าเป็นความคลั่งของการเก็งกำไรอันไม่มีเหตุผล นักเศรษฐศาสตร์สมัยใหม่พยายามให้คำอธิบายอย่างมีเหตุผลถึงสาเหตุของการตั้งราคาอันสูงผิดปกติ แต่คำอธิบายเหล่านี้ก็ไม่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับแนวโน้มของความผันผวนของราคาดอกไม้ชนิดอื่น เช่น [[ดอกไฮยาซินธ์]] ซึ่งก็มีการตั้งราคาที่สูงเกินประมาณเมื่อมีการนำสายพันธุ์เข้าใหม่เข้ามา และราคาก็มาตกฮวบต่อมาเมื่อหมดความนิยมลงเช่นเดียวกับทิวลิป อีกสาเหตุหนึ่งที่อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดทิวลิปล่มอาจจะมาจากการเปลี่ยนแปลงระบบการทำสัญญาการซื้อขายโดยรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ในช่วงนั้น ที่มีจุดประสงค์ในการลดความเสี่ยงในตลาดการลงทุนของผู้ซื้ออนาคต โดยการอนุญาตให้ผู้ซื้อสามารถยุบเลิกสัญญาการซื้อขายได้โดยเสียค่าปรับเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าของสัญญาทั้งหมด แต่บทบังคับนี้กลับได้ผลตรงกันข้ามและทำให้ราคาทิวลิปยิ่งถีบตัวสูงหนักขึ้นไปอีกจนเป็นผลให้ตลาดทิวลิปล่มสลายในที่สุด
 
{{กึ่งล็อก}}
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:Flora's Malle-wagen van Hendrik Pot 1640.jpg|thumb|300px|right|จิตรกรรม[[อุปมานิทัศน์]]ของความคลั่งทิวลิปโดย[[เฮนดริค เกอร์ริทสซ โพต]] (Hendrik Gerritsz Pot) ที่เขียนราว ค.ศ. 1640 เป็นภาพ[[เทพีฟลอรา]]ผู้เป็นเทพีแห่งดอกไม้นั่งบนเกวียนที่ถูกพัดด้วยสายลมที่นำไปสู่ความหายนะในทะเลพร้อมกับคนเมา คนให้ยืมเงิน และสตรีสองหน้า ที่ตามด้วยขบวนช่างทอชาวฮาร์เล็มที่เต็มไปด้วยลุ่มหลงในการลงทุน]]