ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วณิพก (อัลบั้ม)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Stelios (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Stelios (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
อัลบั้มชุดนี้ส่งผลให้คาราบาวเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยเพลงที่โด่งดังสุด ได้แก่ '''"[[วณิพก]]"''' โดยทำดนตรีจังหวะ '''"[[สามช่า]]"''' ซึ่งผสมผสานดนตรีแนว ช่า ช่า ช่า จากลาตินอเมริกาเข้ากับดนตรีรำวงของไทยได้อย่างลงตัว อีกทั้งเนื้อหาของเพลงเข้าถึงคนฟังได้ง่าย บทเพลงของคาราบาวจึงมีเอกลักษณ์สะท้อนภาพของสังคมไทยเข้ากับความสนุกสนานของดนตรี<ref>http://www.carabao.net/biography/index.html</ref> และเพลงนี้ยังสามารถแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ใน[[ดิสโก้เทค]] ซึ่งไม่มีเพลงเพื่อชีวิตเพลงใดเปิดแผ่นมาก่อน ทำให้เพลงจังหวะสามช่ากลับมาคึกคักยิ่งขึ้น เพราะหลังจากนั้นคาราบาวได้นำเพลงนี้มาร้องอยู่บ่อยๆ และได้มีการร้องต่อในสตูดิโออัลบั้มของศิลปินท่านอื่นๆ ด้วย เช่น [[มัม ลาโคนิคส์]], [[ทีโบน (วงดนตรี)|ทีโบน]] ในชุดแรก เป็นต้น<ref>http://www.9dern.com/rsa/view.php?id=143</ref>
 
นอกจากนี้ยังมีบทเพลงอื่นๆ ที่มีการร้องและทำดนตรีใหม่ในภายหลัง อาทิ "ไม้ไผ่" ซึ่ง [[เศรษฐา ศิระฉายา]] อดีตนักร้องวง[[ดิอิมพอสซิเบิ้ล|ดิ อิมพอสซิเบิ้ล]] ร้องไว้ในอัลบั้มคัฟเวอร์ 25 ปี มนต์เพลงคาราบาว ปี [[พ.ศ. 2550]] เช่นเดียวกับ "จับกัง" ร้องโดย ปู [[แบล็คเฮด]] และ "ดอกจาน" ซึ่งออกไปทางลูกทุ่งอย่างเด่นชัด โดย[[แอ๊ด คาราบาว]] ก็เคยนำมาร้องอีกในอัลบั้ม ก้นบึ้ง ปี [[พ.ศ. 2533]] และยังมีเพลง "SUMMER HILL" เป็นเพลงแรกที่ใช้ชื่อเพลงเป็นภาษาสากล แต่เนื้อร้องเกือบทั้งหมดเป็น[[ภาษาไทย]]