ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมืองยอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
The gl@ss Bee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NongBot (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ข้อความ+หมวดหมู่
บรรทัด 37:
ในยุคที่[[อาณาจักรล้านนา]]สมัย[[ราชวงศ์มังราย]]เจริญรุ่งเรืองและมีอำนาจ เมื่อกองทัพ[[มองโกล]]หรือพวกฮ่อยกกองทัพเข้ายึดเมืองยองได้และเลยมาตีถึงเชียงแสน
 
สมัย[[พญาสามฝั่งแก่น]] ([[พ.ศ. 1947]]-1948) กองทัพเชียงใหม่ สามารถขับไล่พวกฮ่อออกจากเชียงแสนและเมืองยองได้ เมืองยองจึงได้หันมาส่งบรรณาการให้กับเชียงใหม่
 
ในสมัยที่ที่ล้านนามีอำนาจสูงสุด [[พญาติโลกราช]] ([[พ.ศ. 1984]]-2939) ได้ขึ้นไปปกครองเมืองยองอยู่ระยะหนึ่งในราว[[ พ.ศ.1985]] เพราะตำนานเมืองยอง และตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ได้กล่าวถึงถึงการขยายอำนาจของล้านนาไปจนถึงดินแดน[[สิบสองพันนา]] พญาติโลกราช ซึ่งในตำนานได้ระบุว่า '''พระเจ้าอโศก''' ได้บูรณะพระธาตุจอมยอง และทรงทะนุบำรุง[[พระพุทธศาสนา]]ในเมืองยองให้เจริญมั่นคง สันนิษฐานว่าพุทธศาสนาแบบลังกาได้ขึ้นไปเผยแผ่ถึงหัวเมืองต่าง ๆ ทางตอนบนระยะเวลานี้ด้วย
 
เหตุการณ์ดังกล่าวได้บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองยองกับเชียงใหม่ที่มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์มังราย ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 29-22 ในยุคที่อาณาขนาดจักรใหญ่ได้ขยายตัวออกไปโดยการทำสงคราม เช่น พม่า จีนหรือสิบสองพันนา ดังนั้น ล้านนาและ[[ล้านช้าง]]จึงให้ความสำคัญต่อการเพิ่มกำลังคนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการขยายอำนาจและสร้างอาณาจักร และยังใช้เป็นสิ่งที่แสดงอิทธิพลเหนือดินแดนต่าง ๆ ในปริมณฑลแห่งอำนาจหรือเมืองชายขอบ
บรรทัด 75:
ซึ่งสอดคล้องกับที่ ร้อยโท ดับเบิ้ลยู ซี แมคเคลาน์ (W.C. McCloed) ข้าราชการชาวอังกฤษ ได้รายงานไว้ในช่วงระยะเวลาที่เดินทางเข้ามาในเมืองลำพูนในปี [[พ.ศ. 2389]] ฅนยอง หรือ [[ชาวยอง]] จึงเป็นประชากรส่วนใหญ่ของเมืองลำพูน ประชากรมากกว่าร้อยละ 89 สืบเชื้อสายมาจากผู้คนที่อพยพมาจากเมืองยองและเมืองใกล้เคียง เช่น เมืองยู้ เมืองหลวย ในแถบหัวเมืองทางตอนบน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศพม่าและสิบสองพันนาของจีน องค์ประกอบด้านประชากรจึงแตกต่างไปจากหัวเมืองอื่น ๆ ในล้านนา การผสมผสานและการปรับตัวของฅนยองในเมืองลำพูนจึงไม่ใช่เป็นลักษณะของคนส่วนน้อยในสังคม (Minority Group) ดังเช่นกลุ่มชาว[[ไทยเขิน]] [[ไทยลื้อ]] [[ลัวะ]] [[กะเหรี่ยง]] ยาง [[แดง]] [[ไทใหญ่]]หรือเงี้ยว [[จีน]] หรือ[[ฮ่อ]] ที่อพยพเข้ามาในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ คนยองในเมืองลำพูนจึงยังคงรักษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมบางอย่าง เช่นภาษาไว้ได้ค่อนข้างยาวนานจนถึงปัจจุบัน
 
[[categoryหมวดหมู่:ประเทศพม่า|ยอง]]
[[categoryหมวดหมู่:ล้านนาไทย|ยอง]]