ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Azoma (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มแม่แบบเรียงลำดับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
[[หมวดหมู่:แหล่งโบราณคดีในประเทศไทย|บ้านโป่งมะนาว]]
{{โครง}}
 
'''สุรพล นาถะพินธุ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร'''
 
'''ชุมชนดึกดำบรรพ์ คน ๓ พันปี แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว ตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
'''
บ้านโป่งมะนาว เป็นหมู่บ้านขนาดไม่ใหญ่นัก อยู่ในเขตการปกครองของตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยอยู่ห่างจากตัวอำเภอพัฒนานิคมไปทางทิศตะวันออกประมาณ ๔๕ กิโลเมตร
 
หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ดอน ลักษณะเป็นพื้นที่ลอนลูกคลื่นเชิงภูเขา มีห้วยสวนมะเดื่อเป็นทางน้ำธรรมชาติสำคัญหล่อเลี้ยงพื้นที่บริเวณนี้
 
นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๓ เป็นต้นมา ราษฎรในหมู่บ้านโป่งมะนาวและหมู่บ้านข้างเคียงในตำบลห้วยขุนราม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ก็ได้ทราบกันอย่างดีว่าที่บริเวณวัดโป่งมะนาวเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ทั้งนี้เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวพื้นที่บริเวณนี้ถูกขุดหาโบราณวัตถุอย่างผิดกฎหมาย และได้พบโบราณวัตถุมากมายหลายประเภท โดยล้วนพบฝังอยู่ร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์สมัยโบราณ
 
หลังจากการขุดหาโบราณวัตถุโดยผิดกฎหมายยุติลง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ได้เข้าจับกุมผู้ลักลอบขุด ทางวัดโป่งมะนาวรวมทั้งคณะกรรมการหมู่บ้านและผู้นำองค์กรต่างๆ ในท้องถิ่นตำบลห้วยขุนราม ได้เห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวไว้ จึงร่วมมือกันปรับปรุงหลุมลักลอบขุดหาโบราณวัตถุให้เป็นหลุมจัดแสดงโครงกระดูกมนุษย์สมัยโบราณ และรวบรวมโบราณวัตถุนานาประเภทมาจัดแสดงไว้ที่วัดโป่งมะนาว โดยหวังให้เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดประจำหมู่บ้าน รวมทั้งได้ประสานงานกับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอความร่วมมือในการขุดค้นทางวิชาการโบราณคดีและการจัดทำพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่วัดโป่งมะนาว
 
ในเดือนตุลาคม ๒๕๔๓ นักศึกษาของคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงขอความสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และได้รับทุนสนับสนุนให้มาดำเนินการขุดตกแต่งหลุมแสดงโครงกระดูกมนุษย์สมัย ก่อนประวัติศาสตร์ที่ชาวบ้านโป่งมะนาวได้ปรับปรุงมาจากหลุมขุดหาโบราณวัตถุ รวมทั้งได้ดำเนินการปรับปรุงการจัดแสดงโบราณวัตถุที่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นวัด โป่งมะนาว
 
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๔๔ ทางหมู่บ้านโป่งมะนาว องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขุนราม และชมรมอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี และทรัพยากรธรรมชาติตำบลห้วยขุนราม ได้จัดทำโครงการขุดค้นทางโบราณคดีเพื่ออนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว โดยได้รับความร่วมมือจากกรมศิลปากรอนุมัติให้ทำโครงการขุดค้น และมีอาจารย์และนักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการขุดค้นร่วมกับนักโบราณคดีจากสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ ๓ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และชาวบ้านโป่งมะนาว โดยร่วมกันปฏิบัติงานเมื่อระหว่างวันที่ ๘-๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๔
 
การขุดค้นทางโบราณคดีครั้งนี้ดำเนินการในพื้นที่หลุมขุดค้นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๓ เมตร โดยเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตสวนสะเดาทางครึ่งด้านทิศตะวันตกของเขตวัดโป่งมะนาว และอยู่ถัดไปทางเหนือของหลุมจัดแสดงโครงกระดูกที่ถูกจัดทำไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๓
 
การขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านโป่งมะนาวเมื่อระหว่างวันที่ ๘-๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๔ นั้น ดำเนินการไปได้เพียงระดับชั้นบนๆ ของแหล่งโบราณคดี ซึ่งลึกจากผิวดินปัจจุบันโดยเฉลี่ยระหว่าง ๔๐-๑๑๐ เซนติเมตรเท่านั้น
 
อย่างไรก็ตามในช่วงระหว่างวันที่ ๑๓-๒๙ มีนาคม ๒๕๔๕ ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้นำนักศึกษาวิชาเอกโบราณคดี ไปขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวต่อในหลุมขุดค้นเดิม พร้อมทั้งได้ขุดค้นเพิ่มเติมในพื้นที่ซีกตะวันออกของแหล่งโบราณคดี โดยปฏิบัติงานเพิ่มเติมในหลุมขุดค้นขนาดกว้าง ๓ เมตร ยาว ๓ เมตร จำนวน ๒ หลุม พื้นที่ขุดค้นใหม่นี้อยู่ห่างจากหลุมขุดค้นเดิมไปทางตะวันออกประมาณ ๑๐๐ เมตร
 
การปฏิบัติงานขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านโป่งมะนาวครั้งนี้ สามารถปฏิบัติงานในหลุมขุดค้นที่ดำเนินการค้างไว้เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๔๔ ได้จนแล้วเสร็จ ส่วนในหลุมขุดค้นใหม่ทั้ง ๒ หลุมนั้น สามารถขุดค้นถึงเพียงระดับชั้นหลักฐานทางโบราณคดีตอนบนๆ เท่านั้น และได้พบชั้นทับถมของโบราณวัตถุและที่ฝังศพของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์หนาแน่น เช่นเดียวกับที่พบในหลุมขุดค้นที่อยู่ทางพื้นที่ซีกตะวันตกของแหล่งโบราณคดี
 
ต่อมาในช่วงระหว่างวันที่ ๑๔-๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะอาจารย์และนักศึกษาของภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ร่วมมือกับชมรมอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีและสิ่งแวดล้อม ตำบลห้วยขุนราม รวมทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขุนราม ดำเนินการขุดค้นเพิ่มเติม โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยขุนราม
 
การขุดค้นครั้งล่าสุดนี้ประกอบด้วยการขุดค้นในหลุมขุดค้นเดิมต่อจากที่ทำค้างอยู่เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และในหลุมขุดค้นใหม่ซึ่งอยู่ต่อเนื่องกับหลุมขุดค้นแรกสุดซึ่งอยู่ในพื้นที่ครึ่งตะวันตกของวัดโป่งมะนาว แม้ว่าการขุดค้นครั้งนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้จนแล้วเสร็จ แต่ก็ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญเพิ่มขึ้นหลายประเภท เช่น ภาชนะดินเผารูปแบบใหม่ๆ ที่เดิมยังไม่เคยพบ เบ้าหลอมโลหะสำริด และเครื่องประดับทำจากวัสดุต่างๆ
 
 
 
'''หลักฐานทางโบราณคดีประเภทสำคัญ
 
ที่พบในการขุดค้นที่บ้านโป่งมะนาว
 
ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๕'''
 
แม้ว่าการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวยังไม่แล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์ และหลักฐานทางโบราณคดีเท่าที่พบในการขุดค้นก็ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาและวิเคราะห์ แต่ก็สามารถสรุปเบื้องต้นได้ว่า หลักฐานทางโบราณคดีประเภทหลักที่พบในทุกหลุมขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีนี้ ได้แก่ ที่ฝังศพของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยได้พบที่ฝังศพตั้งแต่ในชั้นทับถมทางโบราณคดีระดับบนๆ ซึ่งลึกจากผิวดินปัจจุบันโดยเฉลี่ยประมาณ ๔๐ เซนติเมตร ลงไปจนถึงระดับดินธรรมชาติดั้งเดิมซึ่งอยู่ลึกจากผิวดินเฉลี่ยประมาณ ๒ เมตร
 
สิ่งที่น่าสังเกตประการหนึ่งที่ได้จากการขุดค้นก็คือ ได้พบว่า ในระดับชั้นทับถมทางโบราณคดีตอนบนๆ ที่อยู่เหนือระดับชั้นที่ฝังศพนั้น ไม่พบร่องรอยการใช้พื้นที่บริเวณที่ขุดค้นเป็นเขตที่ตั้งบ้านเรือนพำนักอาศัย หรือเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมเกี่ยวข้องกับการอยู่อาศัยสามัญในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ได้พบเพียงเฉพาะร่องรอยของการใช้พื้นที่สำหรับฝังศพ และพบโครงกระดูกคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั้งที่สมบูรณ์ทั้งโครงและไม่สมบูรณ์แต่พบเพียงกระดูกบางชิ้น
 
หลักฐานเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า พื้นที่หลุมขุดค้นทุกหลุมล้วนอยู่ในเขตพื้นที่สุสานของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว
 
นอกจากนี้ยังชี้ให้เห็นว่าสุสานของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวนั้น มีขนาดใหญ่มาก ครอบคลุมพื้นที่ขนาดยาวมากกว่า ๑๐๐ เมตร และอาจกว้างไม่น้อยกว่า ๑๐๐ เมตรเช่นกัน
 
สุสานในสมัยก่อนประวัติศาสตร์นั้น อาจจัดได้ว่าเป็นสถานที่สำคัญ และเป็นศูนย์กลางของความเชื่อในชุมชน การจัดพื้นที่ขนาดใหญ่ไว้เป็นสุสานโดยเฉพาะเช่นนี้ แสดงนัยว่าสังคมของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านโป่งมะนาวจะต้องมีความซับซ้อนระดับหนึ่ง โดยน่าจะต้องมีสมาชิกที่มีสิทธิและอำนาจแตกต่างกัน สมาชิกในสังคมบางคนจึงสามารถควบคุมบังคับให้จัดพื้นที่ขนาดใหญ่ไว้เฉพาะเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกันของชุมชนได้
 
โครงกระดูกคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ขุดค้นพบที่แหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาวนั้น มีทั้งโครงกระดูกของเด็กและผู้ใหญ่ ทั้งเพศหญิงและชาย ซึ่งถูกฝังไว้อย่างเป็นระเบียบในหลุมต้นๆ โดยจัดวางศพให้อยู่ในท่านอนหงายเหยียดยาว ในการฝังศพบางศพมีการจงใจทุบภาชนะดินเผาหลายใบให้แตก นำเศษจากภาชนะดินเผาที่ทุบแตกมาปูรองบริเวณที่จะฝังศพก่อนวางศพทับลงไป แล้วจึงนำดินมากลบทับศพ
 
โครงกระดูกแต่ละโครงมีสิ่งของเครื่องใช้ถูกฝังเป็นเครื่องเซ่นด้วย เครื่องใช้ประเภทหลักที่ถูกฝังไว้กับทุกศพได้แก่ภาชนะดินเผา เครื่องเซ่นที่พบฝังอยู่กับเฉพาะบางศพได้แก่เครื่องมือหรืออาวุธทำด้วยเหล็ก ในบางศพยังพบเครื่องประดับทำจากวัสดุชนิดต่างๆ เช่น ต่างหูทำจากแก้ว ต่างหูทำจากหินอ่อนสีขาว แหวนสำริด และเครื่องประดับหน้าอกลักษณะเป็นแผ่นกลมแบนทำจากกระดองส่วนหน้าอกของเต่าทะเล นอกจากนี้มีโครงกระดูกหลายโครงที่มีกระดูกปลายขาของหมูวางอยู่เป็นเครื่องเซ่นด้วย
 
อนึ่งนอกเหนือจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้มาจากการขุดค้นทางวิชาการดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีโบราณวัตถุอีกหลายชนิดที่พบจากการขุดหาโบราณวัตถุและเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดโป่งมะนาว ที่สำคัญได้แก่ ภาชนะดินเผา ขวานหินขัด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดหินและลูกปัดแก้ว กำไลข้อมือทำจากเปลือกหอยทะเล เครื่องประดับหน้าอกทรงแผ่นกลมแบนทำจากกระดองเต่าทะเล เป็นต้น
 
 
 
'''ความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านโป่งมะนาว
 
ในภาพรวมสมัยก่อนประวัติศาสตร์
 
บริเวณภาคกลางของประเทศไทย'''
 
การศึกษาค้นคว้าทางโบราณคดีในพื้นที่ของจังหวัดลพบุรีในช่วงตั้งแต่สิบกว่าปีที่ผ่านมา ได้พบโบราณวัตถุและแหล่งโบราณคดีจำนวนมาก ซึ่งแสดงว่า พื้นที่ของจังหวัดลพบุรีปัจจุบันนั้น มีมนุษย์เริ่มเข้ามาอยู่อาศัยมากมายตั้งแต่กว่า ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว และตั้งแต่นั้นมาก็มีประชากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พร้อมทั้งมีวัฒนธรรมและวิทยาการที่พัฒนายิ่งขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป
 
พื้นที่ริมห้วยสวนมะเดื่อบริเวณวัดโป่งมะนาวก็เป็นแห่งหนึ่งที่มนุษย์สมัย โบราณเลือกเป็นที่สร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยรวมกันเป็นหมู่บ้านถาวร และอยู่อาศัยต่อกันมาเป็นเวลานาน
 
โบราณวัตถุและหลักฐานทางโบราณคดีเท่าที่พบในขณะนี้ แม้ว่ามีเพียงส่วนน้อยที่เป็นตัวอย่างที่ได้มาโดยการขุดค้นตามหลักวิชาการ ในขณะที่ส่วนใหญ่เป็นวัตถุที่ถูกรบกวนขึ้นมาโดยการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ แต่ก็ประกอบด้วยวัตถุประเภทเด่นที่เคยพบที่แหล่งโบราณคดีอื่นๆ ในเขตภาคกลางของประเทศไทยมาก่อน จึงสามารถกำหนดอายุได้ค่อนข้างสะดวก การศึกษาตัวอย่างโบราณวัตถุเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าบริเวณบ้านโป่งมะนาวเคยเป็นทั้งชุมชนและสุสานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยอาจแบ่งได้เป็น ๒ สมัยใหญ่ๆ
 
ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์สมัยแรกสุดของบ้านโป่งมะนาว อาจเป็นชุมชนขนาดไม่ใหญ่นัก น่าจะมีอายุเก่าแก่ถึงราว ๓,๐๐๐-๓,๕๐๐ ปีมาแล้ว โบราณวัตถุที่เป็นของสมัยดังกล่าวที่พบที่บ้านโป่งมะนาว อย่างน้อยประกอบไปด้วยได้แก่ ขวานหินขัด ลูกปัดและกำไลข้อมือทำจากหินอ่อนสีขาว และลูกปัดและกำไลข้อมือทำจากเปลือกหอยทะเล
 
ส่วนชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์สมัยสุดท้ายของบ้านโป่งมะนาวนั้น คงมีอายุเริ่มต้นเมื่อช่วงใดช่วงหนึ่งในระหว่าง ๒,๕๐๐-๒,๓๐๐ ปีมาแล้ว โบราณวัตถุและร่องรอยทางโบราณคดีที่เป็นของสมัยดังกล่าวที่พบที่บ้านโป่งมะนาว ได้แก่ โครงกระดูกคนจำนวนมากซึ่งล้วนมีสิ่งของเครื่องใช้เครื่องประดับฝังร่วมอยู่ด้วย สิ่งของที่มักพบถูกฝังร่วมอยู่กับโครงกระดูก ได้แก่ ภาชนะดินเผา กำไลและแหวนสำริด เครื่องมือเหล็ก ลูกปัดหินกึ่งอัญมณี เช่น หินโมราและหินโมกุล ลูกปัดแก้ว ส่วนสิ่งของที่พบในปริมาณน้อยได้แก่ แม่พิมพ์ทำด้วยดินเผาใช้สำหรับหล่อหัวลูกศรโลหะ แวดินเผาสำหรับใช้ปั่นเส้นด้าย ลูกกระสุนดินเผา เป็นต้น
 
หลักฐานทางโบราณคดีเท่าที่พบทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่เมื่อสมัยก่อนประวัติศาสตร์ช่วงราว ๒,๕๐๐-๒,๓๐๐ ปีมาแล้วนั้น บริเวณบ้านโป่งมะนาวได้พัฒนาเป็นชุมชนขนาดใหญ่มาก ชุมชนนี้มีการจัดพื้นที่บางส่วนไว้เป็นสุสานโดยเฉพาะ ซึ่งแสดงว่าชุมชนนี้มีระบบในการจัดระเบียบสังคม มีประเพณีการทำศพที่ยึดถือร่วมกันในชุมชน โครงกระดูกคนนับร้อยโครงที่พบและถูกลักลอบขุดทำลายไปแล้วที่บริเวณวัดโป่งมะนาว เป็นหลักฐานที่ชี้ชัดเจนว่าชุมชนนี้มีประชากรหนาแน่นมาก
 
แม้ว่าสิ่งของเครื่องใช้และเครื่องประดับทำจากวัสดุต่างๆ ที่คนสมัยโบราณอุทิศให้ศพแต่ละศพจะถูกลักลอบขุดไปขายนักสะสมโบราณวัตถุ ทำให้เราขาดหลักฐานสำหรับการศึกษาหาความรู้ไปมหาศาล แต่ก็พอจะทราบได้ว่าเคยมีการพบโบราณวัตถุมากมายในศพเหล่านั้น วัตถุบางชิ้นเป็นสิ่งที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยนกับชุมชนอื่นทั้งที่อยู่ใกล้และไกล ทั้งหมดนี้แสดงว่าหมู่บ้านสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านโป่งมะนาวเมื่อช่วงราว ๒,๕๐๐-๒,๓๐๐ ปีมาแล้วนั้น ได้พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางประชากร ศูนย์กลางเศรษฐกิจ และศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย
 
ในปัจจุบันชาวบ้านโป่งมะนาวได้ร่วมมือกันอนุรักษ์แหล่งโบราณคดี และหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่แหล่งโบราณคดีนี้ไว้ โดยหวังให้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ และเป็นแหล่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมของประเทศชาติสืบไป