ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฝันที่เป็นจริง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kongkoy-laksi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kongkoy-laksi (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
แนวคิดของรายการนี้ มีจุดเริ่มต้นจากการมองสภาพความเป็นจริงโดยทั่วไปของสังคมไทย โดยเฉพาะปัญหาความเสื่อมโทรมและทุกข์ยากของผู้คน จึงนำแนวคิดนั้นมาถ่ายทอดเป็นรายการโทรทัศน์ด้วยรูปแบบการนำเสนอในเชิงสร้างสรรค์สังคมบวกกับความบันเทิง โดยเสนอเรื่องราวชีวิตจริงของบุคคลที่ประสบชะตากรรมอันยากลำบากหรือมีฐานะยากจน ซึ่งต่อสู้ด้วยความขยัน อดทน และมีความใฝ่ฝันที่ดีของตนเอง ผ่านการคัดเลือกจากจดหมายทางบ้านที่มีความน่าสนใจเหมาะแก่การออกอากาศ
 
รูปแบบของรายการช่วงแรกเป็นละครสั้นจำลองชีวิตจริง ส่วนช่วงหลังจะเชิญเจ้าของเรื่องมาพูดคุยกันในห้องส่ง ปิดท้ายด้วยการมอบสิ่งของพร้อม'''รถเข็น'''ที่สกรีนลาย "บรีส" ให้แก่เจ้าของเรื่องเพื่อเป็นอุปกรณ์ดำรงชีพต่อไป และจังหวะที่พิธีกรเค้นน้ำตาของผู้ที่มาร่วมรายการให้ร้องไห้ออกมา จนกลายเป็นเอกลักษณ์ของรายการ ทำให้รายการได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะผู้ชมรายการจำนวนมากซาบซึ้งไปกับแขกรับเชิญด้วย และไตรภพกลายเป็นพิธีกรยอดนิยมในแถวหน้า และพิธีกรขวัญใจแม่ค้า-คนจน ตั้งแต่นั้นมา<ref>[http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=3439 ไตรภพ ลิมปพัทธ์ "Role Model" คนล่าสุด?] gotomanager.com</ref> <ref>[http://gossipstar.mthai.com/zupzip-content/17150/?page=18 ไตรภพ ซุกปีก 7 สี ปลุก ทิวสเดย์ไนท์ ร้อนฉ่า]</ref> อีกทั้งยังได้รับรางวัลจากสถาบันต่าง ๆ อาทิ [[รางวัลเมขลา]] ประเภทรายการส่งเสริมอาชีพดีเด่น ปี [[พ.ศ. 2531]], และผู้ดำเนินรายการดีเด่นชาย ปี [[พ.ศ. 2532]] และ [[รางวัลโทรทัศน์ทองคำ]] ประเภทละครส่งเสริมคุณภาพชีวิตดีเด่น ในปีแรกที่รายการออกอากาศ <ref>[http://www.thaitv3.com/ch3/guide/aboutus_makalarawards03.php รางวัลเมขลา ของ ไทยทีวีสีช่อง 3] thaitv3.com</ref> และรางวัลสื่อมวลชนดีเด่น ประจำปี [[พ.ศ. 2532]]-[[พ.ศ. 2533|2533]] ประเภทรายการโทรทัศน์ สาขาเสริมสร้างคุณธรรมในสังคม และปี [[พ.ศ. 2537]] ประเภทรายการโทรทัศน์ จากองค์การสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย<ref>[http://catholicmedia.cbct.net/index.php?option=com_content&view=article&id=66:2010-07-14-11-50-41&catid=45:media-award&Itemid=60 ประวัติพิธีมอบรางวัลสื่อมวลชนดีเด่น ]</ref>
 
ฝันที่เป็นจริง เริ่มออกอากาศระยะแรก ในทุก[[วันอาทิตย์]] เวลา 13.00-13.30 น. ตั้งแต่วันที่ [[7 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2531]] โดยแขกรับเชิญคนแรกของรายการคือ คุณวิภา วรรณแจ่ม คนแจวเรือข้ามฟากที่อยากมีจักรเย็บผ้าเป็นของตนเอง<ref>หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2531, หน้า 6 บันเทิง</ref> ต่อมาในปี [[พ.ศ. 2532]] ทางสถานีฯ สั่งเพิ่มเวลาออกอากาศเป็น 1 ชั่วโมง โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 13.15-14.15 น. และเพิ่มวันเสาร์ เนื่องจากรายการได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจอย่างมาก และในปี [[พ.ศ. 2534]] ย้ายเวลาเป็น 15.00-16.00 น. ของวันเสาร์และวันอาทิตย์ จนในปี [[พ.ศ. 2535]] ลดวันออกอากาศเพียงสัปดาห์ละวันเดียว คือ วันเสาร์ ในเวลา 12.00-13.00 น. ปี [[พ.ศ. 2536]] ย้ายเวลาเป็น 14.00-15.00 น. ของวันเสาร์ จนกระทั่งปี [[พ.ศ. 2538]] ย้ายเวลาเป็น 18.00-19.00 น. ของวันเสาร์ และสิ้นสุดการออกอากาศในวันที่ [[14 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2538]] ด้วยการรวมรวมเทปแห่งความประทับใจในรอบ 8 ปีของรายการมานำเสนอเพื่อเป็นการรำลึก จากนั้นจึงเปลี่ยนรายการเป็น "[[เฉียด]]" แต่รายการ ฝันที่เป็นจริง ก็ยังเป็นรายการที่อยู่ในความทรงจำของผู้ที่เคยชม แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้รายการกลับมานำเสนออีก แต่พิธีกรรายการได้บอกด้วยตัวเองว่า ''"ไม่เคยทำอะไรซ้ำ"'' <ref>สัมภาษณ์ ไตรภพ ลิมปพัทธ์ : ฝันที่เคยเป็นจริง ใน นิตยสาร แฮมเบอร์เกอร์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 91 ปักษ์หลัง พฤษภาคม 2549, หน้า 71</ref>