ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดศรีสุริยวงศารามวรวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suphakit (คุย | ส่วนร่วม)
Suphakit (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 36:
๓. เป็นวัดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน การคมนาคมสะดวก มีประชาชนไปบำเพ็ญบุญกุศลและใช้ประโยชน์ในพิธีกรรมทางศาสนา ตลอดมา
๔. เป็นวัดประจำตระกูลบุนนาค และประจำตัวสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) รัฐบุรุษคนสำคัญของไทยในสมัยนั้น
 
==ถาวรวัตถุศาสนวัตถุที่สำคัญ==
เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นที่ทราบดีแล้วว่าท่านได้เริ่มสร้างวัดนี้เมื่อประมาณ ปี ๒๔๑๗ นั้น ท่านได้สร้างถาวรวัตถุไว้เป็นสมบัติของวัดสืบต่อมาจนบัดนี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโบราณสถานที่ทรงคุณค่าเป็นมรดกวัฒนธรรมของชาติที่ควรจะอนุรักษ์ไว้ ดังต่อไปนี้
 
๑. พระอุโบสถ สมเด็จเจ้าพระยาฯ สร้างขึ้นราวปี ๒๔๒๐ -๒๔๒๒ ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบทรงไทยประยุกต์กับศิลปะตะวันตก ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในสมัยนั้น มีลักษณะทรงเตี้ย กว้าง ๑๑.๐๐ เมตร ยาว ๑๘.๐๐ เมตร ฐานสูง ๓๐ เมตร ผนังก่ออิฐฉาบปูนเขียนลายเลียนแบบหินอ่อน มีเสาพาไลกลมแบบเสาโรมัน ปลายเสารับพาไลทำเป็นผนังโค้งติดกัน เดิมพื้นเป็นกระเบื้องโมเสก ปัจจุบันใช้เป็นหินอ่อน หลังคาเป็นกระเบื้องดินเผา ไม่มีช่อฝ้าใบระกา ในพระอุโบสถมีพระบรมศาทิศลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และรูปวาดของสมเด็จเจ้าพระยาบรมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงผู้ที่มีอุปการคุณต่อวัด
 
๒. พระประธาน เป็นพระพุทธรูปสัมริด ลงรักปิดทอง พุทธลักษณะ ศิลปะรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑.๑๕ เมตร สูงจากฐานถึงเกศ ๑.๗๕ เมตร
๓ พระเจดีย์ ตั้งอยู่หลังพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงกลมระฆังคว่ำ ตั้งบนฐานสูง ๘ เหลี่ยมมีเสาพาไลกลมแบบเสาโรมัน ปลายเสารับพาไลทำเป็นผนังโค้งติดกัน มีระเบียงรอบ มีบันไดก่ออิฐขึ้นสู่ระเบียง พื้นระเบียงเดิมเป็นไม้ ปัจจุบันเป็นพื้นปูน องค์พระเจดีย์ก่อด้วยอิฐฉาบปูน ฐานกว้าง ๑๖.๐๐ เมตร สูง ๙.๔๐ เมตร เชื่อกันว่าสร้างไว้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
 
๔. กุฏิเจ้าอาวาส อยู่ทางทิศใต้ของพระอุโบสถกว้าง ๙.๑๐ เมตร ยาว ๑๖.๐๐ เมตร มีมุขหน้าออก ๓.๑๐ เมตร เป็นกุฏิก่ออิฐฉาบปูน ๒ ชั้น พื้นปูด้วยไม้สัก หลังคามุงกระเบื้องดินเผา
 
๕. กุฏิญี่ปุ่น มี ๒ หลัง กว้าง ๗ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างลักษณะสถาปัตยกรรมคล้ายพระอุโบสถ มี ๒ ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐฉาบปูน ชั้นบนเป็นเสาร์ไม้ ผนังก่ออิฐฉาบปูน หลังคามุงกระเบื้องดินเผา
 
๖. ซุ้มประตู สร้างขึ้นโดยท่านเจ้าคุณ พระศรีธรรมานุศาสน์ (สุมิตฺตเถร) แทนซุ้มประตูทที่รื้อถอนไปเพื่อขยายอาณาเขตวัดให้กว้างขวาง โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระอุโบสถ มีตุ๊กตาโรมัน ก่ออิฐฉาบปูน เสากลม
 
== อ้างอิง ==