15,884
การแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
ล (จัดรูปแบบ +เก็บกวาด) |
||
'''ย่านการค้า''' คือ ศูนย์รวมหรือแหล่งรวมสรรพสินค้าและสรรพบริการ สามารถแยกเป็นย่านการค้าปลีก และย่านการค้าส่ง หรือมีกิจกรรมการขายแบบผสมผสานทั้งสองอย่างในย่านเดียว และย่านการค้าสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทดังต่อไปนี้
== ประเภทของย่านการค้า ==
:มักอยู่ใจกลางเมือง จังหวัดใดๆ เรียกเป็นย่านธุรกิจของจังหวัด มักเป็นศูนย์กลางของจังหวัดหรือที่นิยมเรียกกันว่า "กลางเมือง" ถ้าใน[[กรุงเทพมหานคร|กรุงเทพ]]ย่านธุรกิจจะมีหลายแห่ง เช่น ย่าน[[สีลม]] จุดเด่นของย่านนี้คือจะมีตึกสูง ออฟฟิศต่างๆ และร้านค้าปลีก อยู่ในตึกหรือรอบตึก ซึ่งความเจริญที่เกิดขึ้นนั้นมาจากการที่ย่านกลายเป็นแหล่งที่ทำงานของคนในจังหวัดหรือละแวกใกล้เคียง เป็นสถานที่นัดหมาย ประชุมในธุรกิจต่างๆ ย่านนี้จะมีสถานนี[[รถไฟฟ้า]] รถใต้ดิน ทางด่วน โรงแรมระดับ 4-5 ดาว ร้านอาหาร บางครั้งย่านนี้จะมีคนพลุกพล่านเพียงช่วงกลางวันหรือหัวค่ำ
:แบ่งออกได้เป็นย่านกลางวัน และย่านกลางคืน วัตถุประสงค์ของการไปย่านแบบนี้คือการไปเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ช็อปปิ้ง ซื้อสินค้าเสื้อผ้า แฟชั่น กิ๊ฟช๊อปโดยความหนาแน่นของคนจะเป็นไปตามเวลาห้างเปิดและปิด เช่น ย่านราชประสงค์ สยาม-มาบุญครอง ย่าน[[บางกะปิ]] หรือตามเวลาที่ร้านค้าเปิดและปิด ย่านประเภทนี้จะมีสินค้าหลากหลายให้เลือกซื้อ แต่บางแห่งอาจมีสินค้าเพียงหมวดเดียวให้เลือกซื้อมากมาย เช่น ย่านประตูน้ำ ย่านโบ๊เบ๊แหล่งขายปลีก ส่งเสื้อผ้า ส่วนย่านกลางคืนนั้นมักเป็นเวลาของการเที่ยวกลางคืน เช่น ย่าน[[พัฒน์พงศ์]] ย่านรัชดา
:คือตลาดบก หรือตลาดสด ที่คนจะเดินทางไปจับจ่ายใช้สอยของสด ของชำในชีวิตประจำวัน คือสถานที่ที่ไปซื้อกับข้าว เนื้อสัตว์มาปรุง ประกอบอาหารเพื่อรับประทานในครอบครัว หรือถ้าเป็นร้านอาหารก็จะไปซื้อของสดจากย่านนี้ มาเพื่อประกอบอาหารขาย ทั้งนี้รวมถึงย่านที่ขายอาหารสำเร็จรูปทั่วไปและสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน อาจมีขายหนังสือพิมพ์ เสื้อผ้าบ้างประปราย
:หรือย่านประจำถิ่น เป็นย่านที่รวมสินค้าสำหรับคนในท้องถิ่น ชุมชนต่างๆ เป็นย่านที่จะทราบกันแต่ในจังหวัดหรือหมู่บ้าน หรือชุมชน แต่สินค้าในย่านชุมชนต่างๆ ที่พัฒนาให้มีชื่อเสียง มีคุณภาพที่ดีสามารถนำไปวางขายนอกชุมชนได้ เช่น ย่านบางซื่อ เป็นย่านที่ขายผลไม้จากสวนผลไม้แถบเมืองนนท์ ย่านคลองลัดมะยม มีตลาดน้ำและวิสาหกินชุมชน ย่านตลาดกลางผลิตผลทางการเกษตรประจำอำเภอ เป็นต้น
:เป็นแหล่งที่มีคนมาท่องเที่ยว โดยมาจากต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ รวมถึงสถานที่ต่อรถ แหล่งหรือย่านแบบนี้ ร้านค้าปลีกสามารถ รวบรวม คัดเลือก สินค้าที่แตกต่างกันเพื่อมาตอบสนองนักท่องเที่ยวได้ ย่านประเภทนี้มักมีการสร้างความร่วมมือกันในแบบที่ทั้งมองเห็นได้ และไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น ตลาดน้ำสี่ภาคพัทยา
:คือย่านที่มีของหายาก ไม่สามารถหาซื้อได้จากแหล่งอื่น หรือสามารถหาซื้อได้แต่ไม่มีให้เลือกมากเท่าย่านนี้ ย่านแบบนี้มักจะแข่งขันกันสูง เพราะมีสินค้าเหมือนกัน สั่งมาจากซัพพลายเออร์เดียวกัน ร้านต้องมีเอกลักษณ์ที่ชัดเจน สามารถสร้างความแตกต่างในองค์ประกอบการตลาดอื่นๆได้ อาจขายส่งหรือปลีกเช่น ย่านสำเพ็ง ย่านทองเยาวราช ย่านอาหารจีนเยาวราช ย่านพาหุรัด ย่านคลองถม ย่านปากคลองตลาด ย่านเหล่านี้จะมีจุดเด่นที่แข็งกร่งมาก กล่าวคือเมื่อนึกถึงชื่อย่านจะทราบทันทีว่าขายอะไร
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
{{จบอ้างอิง}}
[[หมวดหมู่:ธุรกิจ]]
{{โครง}}
▲<ref>ดร.จินต์จุฑา อิสริยภัทร์,การจัดการย่านการค้า,มหาวิทยาลัยศรีปทุม,2553, บทที่1 </ref>{{เก็บกวาด}}
▲{{ต้องการอ้างอิง}}
|
การแก้ไข