ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสังเคราะห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kanawan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kanawan (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ข้อความทั้งหมดด้วย "{{ย้าย|วิกิตำรา}} '"
บรรทัด 1:
{{ย้าย|วิกิตำรา}}
'
'''การสังเคราะห์''' ({{lang-en|Synthesis}}) มาจากคำว่า syn- แปลว่า ร่วม และคำว่า thesis แปลว่า ปรากฏการณ์ใหม่ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณว่า σύνθεσις โดยคำแรก σύν มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า with ส่วนคำหลัง θέσις มีความหมายในภาษาอังกฤษว่า placing (sunthesis :ในกรีกโบราณรวมความแล้วมีความหมายคือ ประชุม)การสังเคราะห์ เป็นกระบวนบูรณาการปัจจัยต่างๆตั้งแต่สองปัจจัยขึ้นไปซึ่งอาจเป็นได้ทั้งคน สัตว์ สิ่งของรวมทั้งเหตุการณ์และสิ่งที่อยู่ในรูปของแนวคิดเข้ามาเป็นองค์ประกอบร่วมกันเพื่อให้เกิดสิ่งใหม่หรือเกิดปรากฏการใหม่ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการบูรณาภาพ โดยปัจจัยหรือองค์ประกอบต่างๆที่เข้ามาสู่กระบวนบูรณาการในการสังเคราะห์นั้นบางปัจจัยอาจจะได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อนแล้วขณะที่บางปัจจัยก็อาจจะยังไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะสืบค้นมาก่อน สภาวะรูปของปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆที่นำมาเป็นปัจจัยและองค์ประกอบในการสังเคราะห์นั้นอาจเป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งบูรณภาพที่เป็นปรากฏการณ์ใหม่หรือสิ่งใหม่อันเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์นั้นก็เป็นไปได้ทั้งแบบรูปธรรมและนามธรรมเช่นกัน.
 
 
== ขั้นตอนการสังเคราะห์ ==
 
 
 
 
'''1.กำหนดหัวเรื่องและจุดประสงค์'''ที่จะสังเคราะห์ให้ชัดเจนว่าต้องการสังเคราะห์เพื่อให้เกิดบูรณาภาพหรือปรากฏการณ์ใหม่ในรูปแบบใด เช่นเพื่อให้เกิดผลผลิต เพื่อให้เกิดข้อสรุป หรือ เพื่อให้เกิดการทำนายเหตุการณ์ในอนาคตโดยกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนด้วยว่าจะสังเคราะห์เพื่อนำผลการสังเคราะห์ที่ได้ไปดำเนินการในสิ่งใดต่อ
 
'''2.จัดเตรียมปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆ'''ที่จะนำเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์ซึ่งอาจเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเป็นประเด็นนามธรรมต่างๆ คัดกรอง คัดเลือกให้ได้ข้อมูลหรือปัจจัยวัตถุดิบต่างๆที่มีคุณภาพเพื่อนำสู่กระบวนการสังเคราะห์
 
'''3.สังเคราะห์'''ปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆที่เตรียมไว้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด โดยให้กระบวนการสังเคราะห์มุ่งที่การนำปรากฏการใหม่หรือบูรณาภาพที่ได้จากการสังเคราะห์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามที่ได้กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ของการสังเคราะห์.
 
'''4.ตรวจสอบและประเมินผล'''การสังเคราะห์ที่ได้ว่าน่าจะมีความแม่นยำ ความเที่ยง และความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดเพื่อเตรียมนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์
 
4.1ผลการสังเคราะห์ที่มีคุณภาพ มีความแม่นยำน่าเชื่อถือและมีความเป็นไปได้สูง สามารถนำผลของการสังเคราะห์ดำเนินการนำไปใช้ในขั้นต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์
 
4.2 ผลของการสังเคราะห์ที่ไม่มีคุณภาพ ให้นำกลับเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์อีกครั้งหนึ่งเพื่อดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของปัจจัยและองค์ประกอบต่างๆที่นำเข้าสู่กระบวนการสังเคราะห์รวมทั้งตรวจสอบคุณภาพของผู้ทำการสังเคราะห์ต่อไป
 
'''5.นำผลการสังเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ตามจุดมุ่งหมาย'''โดยจะนำเสนอต่อสาธารณะหรือเก็บเป็นข้อมูลสังเคราะห์ส่วนตัวก็แล้วแต่จุดประสงค์ของผู้ทำการสังเคราะห์ เช่น สังเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันเพื่อนำไปใช้ประกอบการคาดเดาโอกาสของเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
 
== อ้างอิง ==
* Maria Fusaro, ,Five Minds for the Future,HGSE Professor Howard Gardner,http://www.uknow.gse.harvard.edu/teaching/TC106-607.html
* พ.อ.บัญชา ดุริยพันธ์.เอกสารรายงาน นศ.วทบ.สบส. หลักสูตรหลักประจำชุดที่ 53 หมายเลข 63,การคิดเชิงเปรียบเทียบการคิดเชิงสังเคราะห์.
* การสังเคราะห์แสง,WWW.PANYATHAI.OR.TH
* นางสาวสากีนะ เฮงมะนีลอ, การสังเคราะห์โปรตีน.