ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระไชยบูลย์ ธมฺมชโย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 137:
 
ในแง่ธรรมปฏิบัตินั้นแนวคำสอนในเรื่อง [[มัชฌิมาปฏิปทา]] และ [[สติปัฏฐาน 4]] ตามแนวปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายนั้น มีความแตกต่างจากสำนักอื่น ที่ว่าในสำนักอื่นๆ นั้นมีตีความหมายของคำว่า [[มัชฌิมาปฏิปทา]] ว่าหมายถึง การเดินทางสายกลาง คือการไม่กระทำความเพียรหรือกระทำสิ่งใดอย่างสุดโต่ง และ ตีความการปฏิบัติกรรมฐานแบบสติปัฏฐาน 4 ซึ่งในแต่ละสำนักนั้น ก็มีการตีความตามพระปริยัติธรรมที่แตกต่างกันออกไป
ในขณะที่คำสอนตามแนวปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ได้ให้ความหมาย[[มัชฌิมาปฏิปทา]] คือ '''การเดินทางสายกลางตามอริยมรรคมีองค์ 8 โดยเป็นการเดินทางสายกลางภายในกายมนุษย์ ผ่านศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เข้ากลางของกลาง ผ่านดวงธรรมและกายในกาย ซึ่งเป็นการทำสมาธิวิปัสสนา แบบสติปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเป็นการเดินกรรมฐานผ่านศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ทั้งสิ้น<ref>[http://www.kalyanamitra.org/book/pdf/visutthi3.pdf วิสุทธิวาจา เล่มที่ 3 หน้า 144-147]</ref> คือ พิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ด้วยการพิจารณาผ่านดวงธรรมแต่ละดวง กายแต่ละกายละเอียดเป็นลำดับ โดยอธิบายว่าความละเอียดลึกซึ้งของธรรมปฏิบัตินั้นสามารถเห็นได้ด้วยตาภายใน มิใช่การตีความตามตัวอักษร ตามพระปริยัติ''' เพราะธรรมนั้นมิได้รู้ด้วยปัญญาอันเกิดจากความคิดหรือจินตมยปัญญา แต่ต้องรู้เห็นและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมนั้น ด้วย ปัญญาจักษุ ธรรมจักษุ ที่จะทำให้เห็นและเข้าถึงพระรัตนตรัยภายในตัว คือ พุทธรัตนะ(ธรรมกายหยาบ) ธรรมรัตนะ(ดวงธรรม) สังฆรัตนะ(ธรรมกายละเอียด)<ref>หนังสือเรียนวิชาความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยธรรมกายแคลิฟอร์เนีย พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553,บทที่ 4,หน้า 83 </ref><ref>[http://main.dou.us/view_content.php?s_id=137&page=3 สมาธิ 5หลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน บทที่ 3 หน้า 45-62]</ref> อันอยู่ภายในกายของมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย เว้นแต่ว่า สัตว์เดรัจฉานนั้นไม่อาจเข้าถึงกายในกาย หรือ กายธรรมได้ เพราะสัตว์มีกายหยาบหรือรูปร่างภายนอกที่ไม่เหมาะสมต่อการสร้างสมบารมี และมักมีลักษณะเป็นลำตัวขวาง ทำให้หาศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ภายในได้ยากกว่ามนุษย์ ตามแนวปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย อธิบาย คำว่า '''การเข้าถึงไตรสรณคมน์'''ตามนัยยะที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ว่ามีนัยยะ คือ การเข้าถึงกายต่างๆ ดวงธรรมต่างๆ จนกระทั่งเข้าถึง พระรัตนตรัยภายในตัว มิใช่เพียงการสวดมนต์เพื่อขอรับไตรสรณคมน์ อันเป็นการรับด้วยปากและยังเป็นเพียงการ "ขอถึง" มิใช่การ "เข้าถึง" ไตรสรณคมน์ซึ่งมีอยู่ภายในตัวอย่างแท้จริง
 
 
ความแตกต่างจากธรรมปฏิบัติในสำนักอื่นอย่างมากอีกอย่างหนึ่ง คือ การสอนถึงผลของการเจริญภาวนา โดยแนวธรรมปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ได้แบ่งกาย<ref>[http://www.kalyanamitra.org/book/pdf/visutthi3.pdf วิสุทธิวาจา เล่มที่ 3 หน้า 70-72]</ref>ที่ถือว่าเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่าคือ กายมนุษย์หยาบ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์หยาบ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหมหยาบ กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหมหยาบ กายอรูปพรหมละเอียด กายโคตรภูหยาบ กายโคตรภูละเอียด
ส่วนกายที่เป็นกายเที่ยงแท้คือ เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา เริ่มตั้งแต่ กายธรรมพระโสดาบันหยาบ กายธรรมพระโสดาบันละเอียด กายธรรมพระสกิทาคามีหยาบ กายธรรมพระสกิทาคามีละเอียด กายธรรมพระอนาคามีหยาบ กายธรรมพระอนาคามีละเอียด กายธรรมอรหัตตหยาบ และ กายธรรมอรหัตตละเอียด รวมทั้งหมดได้ 18 กาย ซึ่งแต่ละกายจะมีดวงธรรมอีกทั้งหมด 6 ดวงคั่นอยู่ ได้แก่ ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งการสอนธรรมปฏิบัติที่แจงรายละเอียด 18 กายเช่นนี้ไม่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก และ สำนักอื่นนอกแนวปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ทำให้มีหลายฝ่ายมองว่าพระราชภาวนาวิสุทธิ์พยายามตั้งลัทธิใหม่และสอนสั่งนอกพระไตรปิฎก ในขณะที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ยืนยันว่า เป็นเพราะการสังคายนาในยุคหลังพุทธปรินิพพานทำให้คำว่าธรรมกายเลือนหายไป ซึ่งจะมีคำว่าธรรมกายหลงเหลืออยู่ในพระไตรปิฎกบ้าง แต่วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในนั้นได้สูญหายไปนานแล้ว ในขณะที่อาจจะยังหลงเหลือหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกในนิกายหรือในภาษาอื่นๆ เช่น นิกายวชิรญาณ หรือ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาธิเบต จึงเป็นเหตุให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์มีดำริให้พระภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา จำนวนหนึ่งทำหน้าที่เผยแพร่และศึกษาพระพุทธศาสนาในภาษาต่างๆ เพื่อรอคอยวันที่จะได้ประชุมสงฆ์ทั่วโลกและชำระพระไตรปิฎกที่อยู่ในนิกายและภาษาต่างๆ อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้ยังไม่เป็นที่ประจักษ์และน่าเชื่อถือแก่พระมหาเถระผู้ใหญ่ภายในประเทศไทยซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระปริยัติธรรมและภาษาบาลี จึงเป็นเหตุให้ในสังคมไทยยังมีพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยยังคงไม่เห็นด้วยกับคำสอนและแนวปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
 
ซึ่งการสอนธรรมปฏิบัติที่แจงรายละเอียด 18 กายเช่นนี้ไม่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก และ สำนักอื่นนอกแนวปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
ทำให้มีหลายฝ่ายมองว่าพระราชภาวนาวิสุทธิ์พยายามตั้งลัทธิใหม่ และ สอนสั่งนอกพระไตรปิฎก ในขณะที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ได้ยืนยันว่า เป็นเพราะการสังคายนาในยุคหลังพุทธปรินิพพานทำให้คำว่าธรรมกายเลือนหายไป ซึ่งจะมีคำว่าธรรมกายหลงเหลืออยู่ในพระไตรปิฎกบ้าง แต่วิธีปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายภายในนั้นได้สูญหายไปนานแล้ว ในขณะที่อาจจะยังหลงเหลือหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฎกในนิกายหรือในภาษาอื่นๆ เช่น นิกายวชิรญาณ หรือ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาธิเบต จึงเป็นเหตุให้พระราชภาวนาวิสุทธิ์มีดำริให้พระภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา จำนวนหนึ่งทำหน้าที่เผยแพร่และศึกษาพระพุทธศาสนาในภาษาต่างๆ เพื่อรอคอยวันที่จะได้ประชุมสงฆ์ทั่วโลกและชำระพระไตรปิฎกที่อยู่ในนิกายและภาษาต่างๆ อย่างไรก็ดี สิ่งเหล่านี้ยังไม่เป็นที่ประจักษ์และน่าเชื่อถือแก่พระมหาเถระผู้ใหญ่ภายในประเทศไทยซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในพระปริยัติธรรมและภาษาบาลี จึงเป็นเหตุให้ในสังคมไทยยังมีพุทธศาสนิกชนจำนวนไม่น้อยยังคงไม่เห็นด้วยกับคำสอนและแนวปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}