ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสังเคราะห์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kanawan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Kanawan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
<big>'''2. การสังเคราะห์ในรูปแบบมุ่งที่การค้นหาวิธีการของกระบวนการผลิต'''</big> เป็นการสังเคราะห์ที่มุ่งเน้นการค้นคว้าหาวิธีการของกระบวนการผลิตโดยผู้สังเคราะห์ยังมีโนทัศน์ของกระบวนการผลิตที่ไม่ชัดเจน และยังเป็นเพียงสมมติฐาน การสังเคราะห์ในรูปแบบนี้หมายถึงการค้นคว้าวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น การสังเคราะห์กระบวนการผลิตยาใหม่ๆ การสังเคราะห์กระบวนการผลิตสีที่มีคุณลักษณะพิเศษ รวมทั้งนวัตกรรมต่างๆ โดยการสังเคราะห์ในรูปแบบนี้ผู้สังเคราะห์ต้องใช้ข้อมูลทางวิชาการที่แม่นยำร่วมกับประสบการณ์และตรรกะเข้าสังเคราะห์และคาดคะเนผลเพื่อมุ่งหากระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ตามวัตถุประสงค์ให้สำเร็จถูกต้องและชัดเจน และนำกระบวนการผลิตที่สังเคราะห์ได้นั้นไปพัฒนาสู่กระบวนการสังเคราะห์ในรูปแบบมุ่งที่ผลผลิตต่อไป การสังเคราะห์ในรูปแบบนี้จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอีกหากข้อมูลที่นำมาสังเคราะห์ได้ผ่านการสืบค้นแยกแยะด้วยการวิเคราะห์มาก่อนแล้ว
 
<big>'''3. การสังเคราะห์ในรูปแบบที่มุ่งในการหาผลสรุปให้กับเหตุการณ์หรือแนวคิด'''</big> หมายถึงการสังเคราะห์เหตุการณ์หรือแนวคิดต่างๆตั้งแต่สององค์ประกอบขึ้นไปเพื่อหาผลสรุปให้กับเหตุการณ์หรือแนวคิดนั้นๆ เช่นการสรุปบทความจากหนังสือต่างๆ การประชุมเพื่อสังเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลายต่างๆเพื่อหาข้อสรุปถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นโดยรวมทั้งหมด โดยใช้ตรรกะและประสบการณ์ของผู้สังเคราะห์เข้าร่วมพิจารณา และอาจใช้ข้อมูลที่สรุปได้จากการสังเคราะห์ไปพัฒนาเป็นกระบวนการที่เป็นรูปธรรมต่อไป การสังเคราะห์ในรูปแบบนี้จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอีกหากข้อมูลที่นำมาสังเคราะห์ได้ผ่านการสืบค้นแยกแยะด้วยการวิเคราะห์มาก่อนแล้ว
 
<big>'''4. การสังเคราะห์ในรูปแบบที่มุ่งในการทำนายหรือคาดเดาสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต'''</big> หมายถึงการสังเคราะห์เหตุการณ์หรือแนวคิดต่างๆตั้งแต่สององค์ประกอบขึ้นไปเพื่อหาผลสรุปให้กับการทำนายและคาดเดาสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต การสังเคราะห์ในรูปแบบนี้มุ่งเน้นที่การคาดเดาเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยใช้ข้อมูลหลากหลายรูปแบบหลายองค์ประกอบทั้งที่เคยเกิดขึ้นในอดีตและกำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบันนำมาสังเคราะห์ ร่วมกับประสบการณ์และตรรกะของผู้สังเคราะห์เพื่อที่จะนำไปสู่ข้อสรุปในการคาดเดาเหตุการณ์หรือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต และอาจใช้ข้อมูลที่สรุปได้จากการสังเคราะห์ไปพัฒนาเป็นกระบวนการที่เป็นรูปธรรมต่อไป การสังเคราะห์ในรูปแบบนี้จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นอีกหากข้อมูลที่นำมาสังเคราะห์ได้ผ่านการสืบค้นแยกแยะด้วยการวิเคราะห์มาก่อนแล้ว