ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนบัตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ข้อมูลใหม่ละเมิดลิขสิทธิ์ พบหลายเว็บ
บรรทัด 1:
'''ธนบัตร''' ({{lang-en|banknote}}) เป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยน ซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตาม[[กฎหมาย]] ธนบัตรจะใช้ควบคู่ไปกับ[[เหรียญกษาปณ์]] แต่โดยทั่วไปแล้วธนบัตรมักใช้สำหรับเงินจำนวนมาก ส่วนเหรียญกษาปณ์ใช้กับเงินจำนวนน้อย หรือเศษสตางค์
 
ในสมัยก่อน ค่าของเงินจะวัดโดยวัตถุที่นำมาใช้เป็นเงิน เช่น [[เบี้ย]], [[เงิน (ธาตุเคมี)|เงิน]] หรือ [[ทอง]] แต่การถือวัตถุมีค่าเหล่านี้ออกไปจำนวนมากย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สะดวกและเป็นอันตราย จึงใช้ธนบัตรเพื่อเป็นสื่อแลกเปลี่ยนแทน ธนบัตรเป็นเหมือนสัญญาว่าจะให้เงินไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งภายหลังสามารถนำไปแลกคืนเป็นเงินหรือทองได้ ภายหลังจึงเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อสิ่งของและบริการ ไม่ต้องแลกเป็นเงินหรือทองอีก
บรรทัด 19:
 
ธนบัตรที่นำออกใช้ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก 121 นั้น มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของรัฐบาลที่สัญญาจะจ่ายเงินตราให้แก่ผู้นำธนบัตรมายื่นโดยทันที ต่อมา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2471 ซึ่งกำหนดให้เงินตราของประเทศประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ ตลอดจนให้ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการเปลี่ยนลักษณะของธนบัตรจากตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นเงินตราอย่างสมบูรณ์
 
'''มรดกไทยในธนบัตร แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ'''
ธนบัตรเป็นของมีค่าที่ชนในชาติตระหนักในความสำคัญและคุณค่า และยังเป็นสื่อทำหน้าที่เผยแพร่ เอกลักษณ์ประจำชาติให้ทั่วโลกรู้จัก ดังนั้น การพิมพ์ธนบัตรจึงมักนำภาพที่เป็น สัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรือง ความภาคภูมิใจ มาเป็นส่วนประกอบในธนบัตร
ธนบัตรของไทยก็เช่นเดียวกัน ได้แสดงถึงประวัติศาสตร์ และอารยธรรมของไทย ที่ชนชาวไทยมีความ ประทับใจและภาคภูมิใจ บรรดาศิลปกรรม สถาปัตยกรรม และศิลปวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า จึงได้นำมาแสดงไว้ในธนบัตรอย่างผสมกลมกลืน มรดกไทยในธนบัตร แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
 
 
== ดูเพิ่ม ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ธนบัตร"