ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 10:
กูแบร์แต็งเชื่อว่า ปัจจัยหนึ่งที่สามารถยกระดับการศึกษาฝรั่งเศสได้ก็คือ การศึกษาด้านกีฬา (sports education) ซึ่งจะช่วยพัฒนาศักยภาพของคนรุ่นใหม่ไฟแรงในยุคนั้น ส่วนตัวของกูแบร์แต็งเอง ก็มีความชื่นชอบในกีฬารักบี้ เขาได้เป็นกรรมการตัดสิบกีฬารักบี้ชิงชนะเลิศระดับประเทศฝรั่งเศสในวันที่ [[20 มีนาคม]] [[ค.ศ. 1892]]
 
ต่อมา ดร. วิลเลียม เพนนี บรุกส์ (Dr William Penny Brookes) มีแนวคิดที่จะฟื้นฟูการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกกลับขึ้นมาอีกครั้ง หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยโบราณถูกล้มเลิกไปใน [[ค.ศ. 393]] กูแบร์แต็งสนใจในแนวคิดนี้ โดยคิดจะขยายวงการแข่งขันโดยเปิดโอกาสให้นักกีฬาจากทั่วโลกสามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ จึงร่วมมือกับ ดร. บรุกส์, [[สหราชอาณาจักร]] และ[[ประเทศกรีซ]]ซึ่งมีความสนใจในแนวคิดนี้ เริ่มพัฒนาแผนการจัดการแข่งขันกีฬานานาชาติขึ้น
 
วันที่ [[23 มิถุนายน]] [[ค.ศ. 1894]] ในซอร์บอน (Sorbonne) กรุงปารีส [[คณะกรรมการโอลิมปิกสากล]] (IOC) ก็ถือกำเนิดขึ้น และเริ่มเตรียมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ขึ้น โดยให้กีฬาโอลิมปิกครั้งแรกจะจัดขึ้นในกรุง[[เอเธนส์]] [[ประเทศกรีซ]] เพื่อให้เกียรติแก่ประเทศผู้ให้กำเนิดกีฬาโอลิมปิก และกำหนดให้กีฬาจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี มีประธาน IOC คนแรกคือ Demetrius Vikelas