ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chale yan (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
 
ทรงได้รับการกล่าวขานว่าเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกาจ เพราะตลอดรัชกาลพระองค์ทำสงครามเป็นส่วนใหญ่ โดยก่อนขึ้นครองราชย์ เมื่อเจริญพรรษาขึ้น ทรงกระทำพิธีเจาะพระกรรณ (เจาะหู) อันเป็นราชประเพณีของพม่าเช่นเดียวกับพระราชพิธีโสกันต์ของไทย โดยเลือกที่จะทำพิธีที่พระเจดีย์ชเวมอดอ (พระธาตุมุเตา) กลางเมืองหงสาวดีของมอญ โดยมีทหารคุ้มกันแค่ 500 นาย โดยไม่ทรงหวาดหวั่นทหารมอญนับหมื่นที่ล้อมอยู่ จนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว และเมื่อทรงครองราชย์ พระองค์ได้ทำการสงครามแผ่ขยายอาณาจักรตองอูไปตามหัวเมืองต่าง ๆ เช่น [[รัฐยะไข่|ยะไข่]], [[พะสิม]], [[หงสาวดี]], [[แปร]], [[เมาะตะมะ]] และ [[อยุธยา]] เป็นต้น โดยเฉพาะ การได้ชัยชนะเหนือหงสาวดี โดยนับว่าเป็นกษัตริย์พม่าพระองค์แรกที่สามารถเอาชนะหงสาวดี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของชนชาติมอญ อันเป็นคู่ปรับสำคัญของชาวพม่าในอดีต และได้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูลงมาที่หงสาวดี
 
[[ไฟล์:L470426103631ooo.JPG|thumb|right|ภาพวาด[[นัต]]พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ จากหน้าปกหนังสือ มหาราชวงษ์พงษาวดารพม่า ของ[[สำนักพิมพ์มติชน]]]]
เนื่องจากเป็นกษัตริย์พม่าพระองค์แรกที่ทำสงครามกับอยุธยา ด้วย[[ศึกเชียงไกร เชียงกราน]] และจากสงครามคราวเสียสมเด็จพระสุริโยทัย คนไทยร่วมสมัยรู้จักพระองค์ในนามว่า '''พระยาหงสาปังเสวกี''' หรือ '''พระเจ้าหงสาวดีลิ้นดำ''' ตามคติความเชื่อในเรื่องบุญญาธิการ และมีพระนามอื่นแตกต่างออกไป เช่น ชาว[[มอญ]]เรียกพระองค์ว่า "พระเจ้าฝรั่งมังโสด"