ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มัมมี่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: gu:મમી
Poonyo (คุย | ส่วนร่วม)
รวมเนื้อหามาจากหน้า การทำมัมมี่
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Mummy 501594 fh000031.jpg|thumb|มัมมี่ภายในพิพิธภัณฑ์]]
 
'''มัมมี่''' ''({{lang-en|Mummy}})'' คือศพที่ดองหรือแช่ในน้ำยาพิเศษใน[[ประเทศอียิปต์]] พันทั่วทั้งร่างกายด้วยผ้าลินินสีขาว เพื่อเป็นการรักษาสภาพของศพเพื่อรอการกลับคืนร่างของวิญญาณผู้ตาย ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ คำว่า "มัมมี่" มาจากคำว่า "มัมมียะ" ''(Mummiya)'' ซึ่งเป็นคำในภาษา[[เปอร์เซีย]] มีความหมายถึงร่างของซากศพที่ถูกดองจนกลายเป็นสีดำ โดยชาวอียิปต์โบราณจะทำมัมมี่ของ[[ฟาโรห์]]และเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ และนำไปฝังในลักษณะแนวนอนภายใต้พื้นแผ่นทรายของอียิปต์ อาศัยแรงลมที่พัดผ่านในแถบทะเลทรายอาระเบียและทะเลทรายในพื้นที่รอบบริเวณของอียิปต์ เพื่อป้องกันการเน่าเปื่อยของซากศพที่อาบด้วยน้ำยา
 
ในอียิปต์โบราณมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องของชีวิตหลังความตาย เกี่ยวกับการหวนกลับคืนร่างของวิญญาณ โดยมีความเชื่อว่าเมื่อวิญญาณออกจากร่างไปชั่วระยะเวลาหนึ่งจะหวนกลับคืนสู่ร่างเดิมของผู้เป็นเจ้าของ จึงต้องมีการถนอมและรักษาสภาพของร่างเดิม โดยการแช่และดองด้วยน้ำยาบีทูมิน ซึ่งจะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้ซากศพเน่าเปื่อยผุผังไปตามกาลเวลา
บรรทัด 11:
เมื่อศพแห้งสนิทแล้ว ก็จะถูกนำมาเคลือบด้วยน้ำมันสน จากนั้นจะมีการตกแต่งและพันศพด้วยผ้าลินินสีขาวชุบ[[เรซิน]] มัมมี่ที่เสร็จสมบูรณ์แล้วจะถูกนำบรรจุลงในหีบศพ พร้อมกับเครื่องรางของขลังต่างๆ และมัมมี่บางตัวยังมีหน้ากากที่จำลองใบหน้าของผู้ตายวางไว้ในหีบศพของมัมมี่อีกด้วย
 
=== วิธีทำมัมมี่อย่างละเอียด ===
นับเป็นเวลาหลายร้อยปี กว่าชาวอียิปต์โบราณจะพัฒนาวิธีรักษาศพให้ใกล้เคียงสภาพเดิมให้นานที่สุดอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ด้วยวิธีที่เรียกว่า [[mummification]] ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ
 
# '''embalming''' เป็นวิธีรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อย
# '''wrapping''' เป็นวิธีพันผ้าศพหลังผ่านขั้นตอนแรก
 
ทั้งสองขั้นตอนใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 70 วัน โดยสัปเหร่อต้องสวมหน้ากากหมาไน ซึ่งเป็นเศียรของเทพ [[Anubis]] อันเป็นเทพที่ทำหน้าที่สัปเหร่อนั่นเอง ต้องใส่สมุนไพรที่หน้ากากขณะทำงานเพื่อกลบกลิ่นศพ
 
ขั้นตอนแรกของ [[embalming]] คือวางศพไว้บนเตียงหินมีขอบ ปลายเตียงที่มีรูให้ของเหลวที่เกิดจากการทำศพไหลลงภาชนะที่วางไว้บนพื้น จากนั้นจึงทำความสะอาดศพด้วย [[palm wine]] และสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม แล้วล้างด้วยน้ำจากแม่น้ำ[[ไนล์]]อีกครั้ง ตามด้วยผ่าท้องบริเวณสีข้างหรือบั้นเอวด้านซ้ายด้วย [[sharp stone]] แล้วดึงอวัยวะภายในออก อวัยวะเหล่านี้เป็นแหล่งที่มีเชื้อ bacteria จำนวนมาก โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ซึ่งเต็มไปด้วย bacteria ที่เป็นสาเหตุให้ลำไส้ใหญ่เน่าก่อนแล้วลุกลามให้ส่วนอื่นของศพเน่าตามมา
 
อวัยวะที่นำเอาออกมาได้แก่ กระเพาะอาหาร ปอด ตับ ลำไส้ ส่วนหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย ที่ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่า เป็นศูนย์กลางของ[[จิตวิญญาณ]] ความเฉลียวฉลาดและความรู้สึกนึกคิด ให้คงไว้ในศพ อันที่จริงยังมีม้าม ไต รังไข่และมดลูกที่ไม่ได้นำออกมา
 
นับว่าชาวอียิปต์โบราณมีวิทยาการสูงทีเดียว อวัยวะที่นำออกมาล้วนเป็นอวัยวะที่อาจมีเชื้อ bacteria และเน่าก่อนอวัยวะอื่น ทำให้พลอยลุกลามเน่าไปทั้งตัว อาจทำให้ทำมัมมี่ไม่สำเร็จ
 
ส่วนเนื้อสมองนั้น แต่เดิมไม่ได้นำออก เมื่อศพแห้งสมองสูญเสียของเหลวจึงแห้งเหี่ยวเป็นก้อนกลิ้งอยู่ในกะโหลก เวลาเคลื่อนศพมีเสียงดัง ต่อมาจึงมีการนำเนื้อสมองออกมา โดยใช้เหล็กที่มีปลายเป็นตะขอสอดเข้าไปทางรูจมูก ผ่านฐานกะโหลกส่วน [[ethmoid]] ซึ่งเป็นส่วนที่บางที่สุด เพื่อตีเนื้อสมองให้แตก แล้วคว่ำหน้าให้เนื้อสมองไหลออกมาทางจมูก เรียกวิธีนี้ว่า [[transethmoidal excerebration]] หลังจากนั้นจึงใส่น้ำมันดิน [[bitumen]] ที่ต้มจนเดือดเข้าไปแข็งตัวในกะโหลก บ้างก็ใช้ [[resin]]
 
อวัยวะต่างๆที่นำออกมาจากศพ จะถูกล้างให้สะอาดแล้วกลบด้วยสารที่เรียกว่า [[natron]] ซึ่งเป็น [[native sodium carbonate]] และ [[sodium bicarbonate]] ซึ่งมีคุณสมบัติในการดูดสารน้ำได้ดี เมื่ออวัยวะเหล่านี้แห้งแล้ว จึงห่อด้วยผ้าแล้วเก็บในโถ ([[canopic jar]]) ที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรือหินสลัก ฝาโถสลักเป็นเศียรของเทพ 4 องค์ที่เป็นบุตรของเทพ [[Horus]] (เทพสูงสุดที่ชาวอียิปต์โบราณนับถือ) คือ
 
* ตับบรรจุในโถ [[Imsety]] เทพที่มีเศียรเป็นคน
* ปอดบรรจุในโถ [[Hapy]] เทพที่มีเศียรเป็น[[บาบูน]]
* กระเพาะอาหารบรรจุในโถ [[Duamutef]] เทพที่มีเศียรเป็น[[หมาไน]]
* ลำไส้บรรจุในโถ [[Qebehsenuef]] เทพที่มีเศียรเป็นเหยี่ยว
 
โถทั้ง 4 นี้ถูกเก็บไว้ในกล่องที่ถูกปกปักรักษาด้วยเทวี 4 องค์ คือ [[Isis]], [[Nephthys]], [[Selket]], [[Neith]] โดยทำเป็นรูปสลักวางอยู่ที่มุมกล่องมุมละองค์ เป็นรูปเทวีทั้ง 4 กางปีกเพื่อปกป้องอวัยวะในโถ กล่องนี้ถูกเก็บไว้ในสุสานพร้อมศพ
 
ตัวศพก็เช่นเดียวกันคือ ใส่ natron เข้าไปในช่องท้อง แล้วจึงกลบด้วย natron อีกชั้น มีการเปลี่ยน natron ทุก 3 วัน และใช้ระยะเวลา 40-60 วัน ศพก็จะแห้งสนิท ส่วนของเหลวที่เกิดจากการทำศพจะไหลออกทางรูที่ปลายเตียงลงสู่ภาชนะที่รองอยู่ด้านล่าง และถูกเก็บไว้เพื่อฝังไปพร้อมศพ
 
เมื่อครบกำหนดจึงล้างศพด้วยน้ำจากแม่น้ำไนล์ จากนั้นทาผิวด้วยน้ำมันเพื่อให้มีความยืดหยุ่น แล้วตกแต่งศพด้วยลูกตาเทียม ถ้าผู้ตายมีเศรษฐานะดีอาจติดขนคิ้วด้วยเส้นผม ใส่ผมปลอม หรือแต่งเล็บด้วยทองคำประดับพลอย อาจอัดเมล็ดพริกไทยเข้าไปในจมูกเพื่อป้องกันจมูกบี้ บ้างก็อัดลินินในช่องปากเพื่อให้แก้มเต่ง
 
ประมาณปี 1000 BC จึงเริ่มมีการห่ออวัยวะภายในด้วย[[ลินิน]] บรรจุกลับเข้าไปในช่องท้อง แล้วอัดด้วยขี้เลื่อย ใบไม้แห้ง หรือลินิน เพื่อให้สภาพใกล้เคียงกับเมื่อยังมีชีวิตอยู่ ส่วนโถทั้ง 4 แม้ไม่ได้ใช้บรรจุอวัยวะภายในแล้ว ยังคงถูกเก็บไว้ในสุสานดังเดิม
 
ขั้นตอนต่อไปเรียกว่า wrapping คือพันด้วยผ้าลินิน โดยเริ่มพันจากศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า คล้ายการพันเฝือกหลายชั้น ส่วนของนิ้ว แขนและขาให้พันแยกออกจากกัน ทุกชั้นทาด้วย resin เหลว ระหว่างพันผ้ามีการวางเครื่องรางหลายชนิด แล้วพันลินินทับ มีพิธีสวดมนต์ขณะพันผ้า และวางม้วนกระดาษ [[papyrus]] ที่เรียกว่า [[book of death]] หรือ[[คัมภีร์มรณะ]] ไว้กลางลำตัว พันผ้าอีกหลายชั้น แล้วจึงห่อด้วยผืนผ้าลินินที่วาดภาพเทพ [[Osiris]] ซึ่งเป็นเทพแห่งยมโลก และเป็นบิดาของเทพ Horus ห่อซ้ำอีกชั้นด้วยผ้าผืนใหญ่ แล้วจึงผูกด้วยลินินเป็นปล้องๆ แบบเดียวกับมัดตราสัง
 
หลังจากนั้นต้องทำพิธีเปิดปาก เปิดตา ด้วยความเชื่อว่าเพื่อให้มัมมี่มองเห็น กินอาหารและดื่มน้ำได้นั่นเอง แล้วจึงบรรจุในโลงศพ ([[coffin]]) ที่มีลักษณะคล้ายรูปร่างคน 3 ชั้น แล้วจึงวางลงในโลงศพหิน ([[sarcophagus]]) เขียนรูปผู้ตายไว้ที่ฝาโลงหินเพื่อให้วิญญาณที่เรียกว่า [[Ka]] กลับร่างเดิมได้ถูกต้องขณะฟื้นคืนชีพ
 
จะเห็นว่าการทำมัมมี่ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูง ผู้มีเศรษฐานะดีเท่านั้นที่ทำได้ ส่วนผู้มีเศรษฐานะต่ำอาจใช้วิธีทำหุ่นเหมือนผู้ตายแทนการทำมัมมี่ก็ได้
ชาวอียิปต์โบราณเชื่อว่านอกจากร่างกายแล้วยังมีจิตวิญญาณ เรียกว่า [[unseen twin]] ประกอบด้วย [[Ka]] หมายถึง [[spirit]] และ [[Ba]] หมายถึง [[soul]]
 
Ba หรือ soul คือดวงวิญญาณที่มีลักษณะเป็นนกตัวเล็กๆ มีหัวเหมือนผู้ตายบินวนเวียนรอบๆมัมมี่ ส่วน Ka หรือ spirit เป็นดวงจิตที่ตายไปพร้อมกับร่างกาย จึงต้องทำมัมมี่หรือสร้างรูปเหมือนไว้ให้ Ka อาศัยอยู่ มัมมี่นับเป็นรูปเหมือนที่ดีที่สุด ต้องจัดอาหารให้ด้วย เพราะเชื่อว่าไม่เช่นนั้น Ka ก็จะตายไปพร้อมร่าง เมื่อกลับมาเกิดใหม่ Ka และ Ba ก็จะมารวมกันกับร่างที่เตรียมไว้ เพื่อฟื้นคืนชีพใหม่อีกครั้ง
 
เรื่องของมัมมี่เป็นที่สนใจในวงการแพทย์มาช้านาน เหตุเพราะต้องศึกษาโดยให้มัมมี่คงสภาพเดิม จึงไม่สามารถผ่าออกมาศึกษาได้ ทำให้นักโบราณคดีและนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ในอดีตสามารถศึกษาร่างของมัมมี่ได้ในวงจำกัด โดยศึกษาทาง [[x-ray]] และส่องกล้อง ([[scope]])
 
ครั้นเมื่อวิทยาการทางการแพทย์เจริญก้าวหน้าจนมีเครื่อง [[MRI]] ในปัจจุบัน จึงสามารถศึกษามัมมี่ได้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น โดยเฉพาะส่วนของกะโหลก ทำให้ทราบวิธีทำมัมมี่ละเอียดขึ้น ตัวอย่างเช่น ทราบว่ามีทั้งที่เก็บสมองไว้ และเอาสมองออกด้วยวิธี [[transethmoidal excerebration]] คือเห็นรูที่ฐานกะโหลกศีรษะบริเวณเหนือโพรงจมูกจากเครื่อง MRI เป็นต้น
 
นอกจากนี้ยังพบโรคต่างๆและสาเหตุการตายของชาวอียิปต์โบราณ เช่น [[เพดานโหว่]] ([[cleft palate]]) กะโหลกแตก (fracture skull) โพรงอากาศที่กะโหลกอักเสบ ([[mastoiditis]]) โรคเหงือกและฟัน
 
โรคที่พบบ่อยในอียิปต์โบราณ มีโรคตา [[พยาธิ]] [[วัณโรค]] (TB) [[เกาต์]] (gout) โรคไขข้อ ([[rheumatism]]) [[ฝีดาษ]] ([[smallpox]]) โรคทางนรีเวช ([[women’s disease]])
 
ส่วนยาที่ใช้ได้แก่ ขี้ผึ้ง ([[ointment]]) ยาน้ำ ([[potions]]) ยาเม็ดที่ทำจาก[[สมุนไพร]] ไขมัน เลือด อวัยวะสัตว์ น้ำผึ้ง เป็นต้น
 
จะเห็นได้ว่าอียิปต์ยุคโบราณ มีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการสูงทีเดียว มัมมี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม วิหารขนาดใหญ่ สมบัติล้ำค่ามากมายมหาศาลที่เก็บไว้ในสุสานเตรียมไว้ใช้ในโลกหน้าของตุตันคาเมนอันลือชื่อ เป็นสุสานนี้ซ่อนอยู่ในหุบผากษัตริย์ จึงหลุดรอดสายตาโจรขโมยหลงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน
 
ส่วนสุสานที่ทำเป็นปิรามิดขนาดมหึมาเป็นสิ่งก่อสร้างที่พบเห็นได้โดยง่าย จึงถูกขโมยไม่เหลือสมบัติให้เห็นในปัจจุบัน
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* [http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=4711456734538 กว่าจะได้เป็น “มัมมี่” ]
* http://www.ancientegypt.co.uk/mummies/home.html
{{จบอ้างอิง}}
 
== ดูเพิ่ม ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/มัมมี่"