ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jo Shigeru (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดทันใจด้วยสจห.
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4:
 
== ประวัติ ==
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้ประกาศว่า โดยที่ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศ
ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาเป็นเวลากว่าหกสิบห้าปีแล้ว
ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ได้มีการยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง แสดงว่า
รัฐธรรมนูญย่อมเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมแห่งกาลเวลาและสภาวการณ์ของบ้านเมือง
รัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์สำคัญที่กระจ่างแจ้ง ชัดเจน สามารถใช้เป็นหลัก
ในการปกครองประเทศและเป็นแนวทางในการจัดทำกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญและ
กฎหมายอื่นซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญได้ และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539 ได้บัญญัติให้มี'''[[สภาร่างรัฐธรรมนูญ]]'''ขึ้น ประกอบด้วยสมาชิก
ที่ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาจำนวนเก้าสิบเก้าคน มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้ง
ฉบับเพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการปฏิรูปการเมือง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า
โปรดกระหม่อมให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานกระแส
พระราชดำรัสเพื่อเป็นสิริมงคลแก่การทำงาน ภายหลังจากนั้นสภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำ
ร่างรัฐธรรมนูญโดยมีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้
ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุง
โครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โดยได้คำนึงถึงความ
คิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539 แล้ว ทุกประการ
 
[[ไฟล์:Green-constitue40.jpg|thumb|ภาพวาดการ์ตูนของ[[ชัย ราชวัตร]]ใช้สีเขียวเป็นพื้น ชักชวนให้สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ 2540]]การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ประสบอุปสรรคมีการเคลื่อนไหว เพื่อคว่ำรัฐธรรมนูญทั้งภายในและภายนอกสภา โดยการเคลื่อนไหวภายนอกสภานั้น กลุ่มที่ออกมาคัดค้าน เช่น กลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน และได้มีองค์กรการเมืองภาคประชาชนออกมาสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เช่น คณะกรรมการรณรงค์ประชาธิปไตย ([[ครป.]]) เครือข่ายผู้หญิงกับรัฐธรรมนูญ [[สมาคมคนพิการแห่งประเทศไทย]] ฯลฯ พรรคการเมืองซึ่งเป็นรัฐบาลในขณะนั้น ได้แก่ [[พรรคความหวังใหม่]] แสดงท่าทีไม่สนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญ รวมทั้งได้นำมวลชนจัดตั้งเข้ามาคัดค้าน ทำให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายสนับสนุน ที่ใช้ "สีเขียว" เป็นสัญลักษณ์ กับฝ่ายต่อต้าน ที่ใช้ "สีเหลือง" เป็นสัญลักษณ์