ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
|ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์จักรี]]
}}
'''พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาลวมาลย์''' ประสูติวันที่ [[19 กันยายน]] [[พ.ศ. 2430]] เป็นพระราชธิดาใน[[รัชกาลที่ 5]] กับ[[เจ้าจอมมารดาวง]] สิ้นพระชนม์วันที่ [[19 เมษายน]] [[พ.ศ. 2433]] พระชันษา 3 ปี
เจ้าจอมมารดาวง (เนตรายน) NETRA^YANAบางแห่งเขียนวงศ์ เป็นธิดาขรัวยายอรุ่น และพระยาอรรคราชนาถภักดี (เนตร) ขรัวยายอรุ่นนั้นตามประวัติว่าเป็นธิดาคนที่๒ของหลวงมหามณเฑียร (จุ้ย) และท่านนุ่ม ต่อมาได้ถวายตัวเป็นละคร แล้วเป็นเจ้าจอมในรัชกาลที่๔เมื่อสิ้นรัชกาลที่๔แล้ว ได้กราบถวายบังคมลาออกจากราชการ ไปสมรสกับขุนศรีสยามนุกูลกิจ (เนตร ) เวลานั้นเป็นผู้ช่วยกงสุลเยเนราลอยู่ที่เมืองสิงคโปร์ ต่อมาได้เป็นพระยาสมุทบุรานุรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการแทนที่บิดา ภายหลังเลื่อนเป็นพระยาอรรคราชนารถภักดี รับราชการในกระทรวงต่างประเทศ ขรัวยายอรุ่นนั้นเมื่อถึงรัชกาลที่๕ ได้กลับเข้ามารับราชการเป็นครูละครที่ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าพระบรมราชเทวี ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้เป็นพระพี่เลี้ยงทูลกระหม่อมหญิง กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร เมื่อเจ้าจอมมารดาวงมีพระเจ้าลูกเธอพระองค์เจ้าโกมลเสาวมาลย์ จึงได้เป็นขรัวยาย ขรัวยายอรุ่นเกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน๕ ปีขาล พ.ศ. ๒๓๘๕ ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ ได้กล่าวประวัติขรัวยายอรุ่นซึ่งเป็นมารดาเจ้าจอมมารดาวงมาแล้ว จะขอกล่าวประวัติพระยาอรรคราชนารถภักดี ผู้บิดาเพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อย เพราะเป็นเรื่องน่ารู้ คือพระยาอรรคราชนารถภักดี (เนตร) เ ป็นบุตรพระยาสมุทบุรานุรักษ์ (เกิด) เมื่อรัชกาลที่๕ โปรดให้ออกไปศึกษาภาษาอังกฤษที่สิงคโปร์ ซึ่งในเวลานั้นก็น้อยตัวเต็มที่ เมื่อทราบภาษาอังกฤษพอควรแล้ว โปรดให้เป็นขุนศรีสยามนุกูลกิจ กงสุลที่๒ ประจำอยู่ที่สิงคโปร์ เป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้เป็นกงสุลไทยในต่างประเทศในสมัยนั้น เจ้าจอมมารดาวง มีพระองค์เจ้าคือ พระองค์เจ้าหญิงโกมลเสาวมาลย์ ประสูติวันที่ ๑๘ ๑๙กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๐ สิ้นพระชนม์วันที่ ๑๘๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๓ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงโกมลเสาวมาลย์ (พระอิสริยยศเมื่อแรกประสูติ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาลย์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว; เฉลิมพระนามเมื่อสิ้นพระชนม์แล้วเป็น พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาลย์ โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 23.10.24532/1910; เฉลิมพระนามเมื่อสิ้นพระชนม์แล้วเป็น พระเจ้าพี่นางเธอพระองค์เจ้าโกมลเสาวมาลย์ โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 9.12.2468/1925;เฉลิมพระนามเมื่อสิ้นพระชนม์แล้วเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าหญิงโกมลเสาวมาลย์ โดยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล10.7.2476/1935)ประสูติ19.9.2430/1867;สิ้นพระชนม์19.4.2433/1890 (แต่เจ้าจอมมารดาวง)
 
นายด่านเมืองปากน้ำอีกตำแหน่ง ที่ปรากฏในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ มีราชทินนามว่า สมุทรบุรานุรักษ์ เป็นราชทินนามที่ปรากฏตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี เมื่อครั้งที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้บุคคลเชื้อสายแขกสุลัยมาน นามเดิมว่า หวัง บุนนาค ที่สืบเชื้อสายจากตระกูลรับราชการ มาแต่สมัยสมเด็จพระเอกาทศรฐ (พ.ศ.๒๑๔๘) ท่านเป็นผู้มีความชำนาญในการเดินเรือทางทะเล คำว่า สมุทรบุรานุรักษ์ จึงเป็นความหมายที่เกี่ยวกับทะเล แต่สมัยนั้นทรงโปรดให้ดำรงตำแหน่งเป็นทหารประจำที่เมืองสงขลา สมัยรัชกาลที่ ๑ จึงมีการโปรดเกล้าฯ ให้พระสมุทรบุรานุรักษ์ (หวัง) บุนนาค มาเป็นเจ้าเมืองชลบุรี ก่อนที่จะให้มาเป็นนายทหารเรือในกรุงเทพฯ การแต่งตั้งพระยาสมุทรบุรานุรักษ์ในตำแหน่งเจ้าเมืองสมุทรปราการ เพิ่งมีบันทึกในสมัยรัชกาลที่ ๔ คือ ท่านพระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (เกิด)เนตรายน โดยปรากฏหลักฐานในปี พ.ศ. ๒๓๙๘ ในพิธีต้อนรับผู้สำเร็จราชการเกาะอังกฤษฮ่องกง “เซอร์ จอห์น บาวริงก์” เข้ามาในประเทศสยาม เพื่อทำสนธิสัญญาสัมพันธ์พระราชไมตรี อย่างไรก็ตาม หากเราสังเกตการลงบันทึกทำเนียบ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ บนกำแพง ตรงบันไดทางขึ้นชั้นสองศาลากลางจังหวัด รายชื่อลำดับที่ ๑ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ คนแรก กลับบันทึกว่าเป็นพระยาอรรคราชนารถภักดี ทั้งนี้เพราะท่านมีนามเดิมสมัยเป็นผู้ว่าฯ ก็คือ พระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (เนตร) ซึ่งเป็นบุตรของพระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (เกิด) ในสกุล เนตรายน พระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (เนตร) เป็นผู้หนึ่ง ที่ได้รับการยอมรับ ในผลงาน ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยความที่เคยได้รับพระราชทานโอกาส อันยากนัก ที่คนธรรมดาสามัญจะได้รับ คือ การได้ทุนการศึกษา ไปเรียนที่สิงคโปร์ ที่ซึ่งเป็นแหล่งฝึกปรือทางภาษา และวัฒนธรรมมากมาย ทั้งอังกฤษ จีนกลาง จีนฮกเกี้ยน จีน แต้จิ๋ว และมาลายู ทำให้ท่านมีคุณสมบัติมากพอ ที่จะต้องรับผิดชอบที่ด่านเมืองสมุทรปราการ อันเป็นเมืองที่ต้องให้การต้อนรับชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าออกปากน้ำเจ้าพระยา เมื่อครั้งที่รัชกาลที่ ๕ เสด็จกลับจากประเทศสิงคโปร ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (เนตร) เป็นผู้แทนในการจัดส่งช้างสำริต พระราชทานแด่ประเทศสิงคโปร เพื่อเป็นการตอบแทนแห่งราชไมตรีที่ทรงได้รับ หน้าที่ของพระยาสมุทรบุรานุรักษ์จึงไม่ใช่เป็นเพียงตำแหน่งเจ้าเมืองเท่านั้น แต่ยังมีฐานะเป็นผู้แทนทางการทูตที่ประจำ ณ ด่านเมืองสมุทรปราการอีกด้วย ภายหลังพระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (เนตร) จึงได้เลื่อนเป็น พระยาอรรคราชรถนาภักดี ในกระทรวงต่างประเทศ ธิดาท่านคนหนึ่ง คือเจ้าจอมมารดาวง ในรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นสกุล “เนตรายน