ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่หนึ่ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 23:
 
อนุสัญญาแต่เดิมเมื่อปี ค.ศ. 1864 มีเพียง 10 มาตรา ก่อนที่จะได้รับการเพิมเติมมาเป็น 64 มาตราในปัจจุบัน สนธิสัญญาดังกล่าวคุ้มครองทหารที่ต้องออกจากการรบเนื่องจากความเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ เช่นเดียวกับบุคคลทางการแพทย์หรือบุคคลทางศาสนา และพลเรือนในพื้นที่ทำการรบ บทบัญญัติสำคัญของสนธิสัญญา ได้แก่:
* ในมาตรา 12 ทหารที่ได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยผู้ต้องออกจากการรบควรได้รับการปฏิบัติอย่างเมตตากรุณา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ควรสังหาร ทำให้บาดเจ็บ ทรมาน หรือนำตัวไปทดลองทางชีววิทยา มาตราดังกล่าวถือเป็นหลักสำคัญที่สุดของสนธิสัญญา และจำกัดความหลักการที่นำมาใช้กับส่วนที่เหลือของสนธิสัญญา รวมไปถึงข้อตกลงที่จะให้ความเคารพหน่วยแพทย์และสิ่งก่อสร้างทางการแพทย์ (ส่วนที่สาม) การมอบหมายให้ดูแลผู้ได้รับบาดเจ็บ (ส่วนที่สี่) อาคารและวัตถุดิบ (ส่วนที่ห้า) ยานพาหนะขนส่งทางการแพทย์ (ส่วนที่หก) และเครื่องหมายที่ใช้ในเชิงป้องกัน (ส่วนที่เจ็ด)
* มาตรา 15 มีใจความว่า ทหารที่เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บควรได้รับการรวมเข้าเป็นกลุ่ม ได้รับการเอาใจใส่และการปกป้อง ถึงแม้ว่าพวกเขาอาจจะอยู่ในสถานภาพเชลยศึก
* มาตรา 16 มีใจความว่า คู่ขัดแย้งควรระบุรูปพรรณของผู้ตายและผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ และส่งข้อมูลดังกล่าวให้กับคู่ขัดแย้งฝ่ายตรงข้าม
* มาตรา 9 เป็นการอนุญาตให้กาชาดสากล "หรือองค์กรสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด" ในการให้ความคุ้มครองและการรักษาทหารที่เจ็บป่วยและได้รับบาดเจ็บ เช่นเดียวกับบุคคลทางการแพทย์และบุคคลทางศาสนา
 
ปัจจุบัน มีชาติสมาชิก 194 ประเทศที่เข้าร่วม[[อนุสัญญาเจนีวา]] ค.ศ. 1949 ซึ่งรวมไปถึงสนธิสัญญานี้และสนธิสัญญาอีกสามฉบับ
{{โครงส่วน}}
 
== อ้างอิง ==