ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มภาษาทิเบต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
moveCategory
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''ภาษากลุ่มทิเบต''' (Tibetan languages) เป็นกลุ่มย่อยของภาษาที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ ของ[[ตระกูลภาษากลุ่มย่อยทิเบต-พม่า]] ที่พูดโดย[[ชาวทิเบต]]ที่อยู่ในบริเวณ[[เอเชียกลาง]]ติดต่อกับ[[เอเชียใต้]] ได้แก่ [[ที่ราบสูงทิเบต]] ภาคเหนือของ[[อินเดีย]]ใน[[บัลติสถาน]] [[ลาดัก]] [[เนปาล]] [[สิกขิม]] และ[[ภูฏาน]] ส่วนใหญ่ใช้ในการเขียนงานทางศาสนาโดยเฉพาะ[[ศาสนาพุทธ]]
ด้วยเหตุผลทางการเมือง สำเนียงของ[[ภาษาทิเบตกลาง]] (รวมทั้งลาซา) คาม และอัมโดในจีน ถือเป็นภาษาทิเบตเพียงภาษาเดียว ในขณะที่[[ภาษาซองคา]] [[ภาษาสิกขิม]] [[ภาษาเศรปา]]และ[[ภาษาลาดัก]] ถือเป็นภาษาเอกเทศต่างหาก แม้ว่าผู้พูดภาษาดังกล่าวจะถือตนว่าเป็นชาวทิเบตด้วย ในทางภาษาศาสตร์ ภาษาซองคาและภาษาเศรปามีความใกล้เคียงกับภาษาทิเบตสำเนียงลาซามากกว่าสำเนียงคามและอัมโด
 
มีผู้พูดภาษากลุ่มทิเบตทั้งหมดราว 6 ล้านคน ภาษาทิเบตสำเนียงลาซามีผู้พูดประมาณ 150,000 คนที่เป็นผู้ลี้ภัยในอินเดียและประเทศอื่นๆ ภาษาทิเบตใช้พูดโดยชนกลุ่มน้อยในทิเบตที่อยู่ใกล้เคียงกับชาวทิเบตมากว่าศตวรรษ แต่ไม่สามารถรักษาภาษาและวัฒนธรรมของตนไว้ได้ [[ชาวเกวียง]]ในคามนั้น รัฐบาลจีจัดให้เป็นชาวทิเบต แต่[[ภาษาเกวียงอิก]]ไม่ใช่ภาษากลุ่มทิเบต แม้จะอยู่ในตระกูลภาษากลุ่มย่อยทิเบต-พม่า
 
[[ภาษาทิเบตคลาสสิก]]ไม่ใช่ภาษาที่มีวรรรยุกต์ แต่บางสำเนียง เช่น ทิเบตกลางและคาม ได้พัฒนาเสียงวรรณยุกต์ขึ้น ส่วนสำเนียงอัมโดและลาดัก และ[[ภาษาบัลติ]]ไม่มีวรรณยุกต์ ลักษณะของภาษาทิเบตในปัจุบันเป็นแบบรูปคำติดต่อแม้ว่าจะไม่พบลักษณะนี้ในภาษาทิเบตคลาสสิก