ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมเจ้าสวาสดิ์วัฒโนดม ประวิตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
substituteTemplate
บรรทัด 37:
หม่อมเจ้าหญิงสวาสดิ์วัฒโนดมทรงเข้ารับการศึกษาชั้นต้นใน[[พระบรมมหาราชวัง]] ต่อมาทรงเข้าศึกษาที่[[โรงเรียนอัสสัมชัญ]] ภายหลัง พระบิดาทรงจ้างครูแหม่มมาสอนพิเศษ ณ วังราชสกุลประวิตร เชิงสะพานเทเวศน์ ( บริเวณที่เป็นตลาดจันทร์ประวิตร ในปัจจุบัน ) พร้อมกับทรงศึกษาดนตรีจนมีความเชี่ยวชาญทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล และโปรดกีฬาทรงม้า
 
หม่อมเจ้าหญิงสวาสดิ์วัฒโนดมทรงโปรดการอ่านหนังสือตั้งแต่ท่านยังทรงพระเยาว์ และเป็นแรงบันดาลใจให้นิพนธ์นิยายต่างๆ ในเวลาต่อมา เมื่อพระชันษาได้ 17 ปี ทรงสนิทสนมกับ[[หม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์]] (พระชันษา 23 ปี) พระโอรสใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์]] ซึ่งประทับอยู่ที่วังใกล้กัน หม่อมเจ้าอากาศดำเกิงทรงกราบทูลให้[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] ทรงสู่ขอหม่อมเจ้าหญิงสวาสดิ์วัฒโนดม เป็นพระชายา ต่อหม่อมช้อย <ref>{{user:2T/ref/รักในราชสำนัก}}</ref> เมื่อ พ.ศ. 2471 แต่ทรงปฏิเสธเนื่องจากมิได้ทรงมีจิตปฏิพัทธ์ด้วย <ref>{{user:2T/ref/100นักประพันธ์}}</ref>อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=ประทีป เหมือนนิล
|ชื่อหนังสือ=100 นักประพันธ์ไทย
|URL=
|จังหวัด=กรุงเทพ
|พิมพ์ที่=สุวีริยาสาส์น
|ปี=2542
|หน้า=479
|ISBN=974-8267-78-4
}}
</ref>
 
หม่อมเจ้าหญิงสวาสดิ์วัฒโนดมทรงนิพนธ์นวนิยายเรื่องแรกเมื่อ พ.ศ. 2478 ขณะพระชันษาได้ 24 ปี โดยใช้นามปากกาว่า "ดวงดาว" โดยทรงให้เหตุผลว่า เพราะทรงโปรดที่จะทอดพระเนตรดวงดาวในยามค่ำคืน เพราะดูแล้วน่ารักดี แต่เมื่อทรงส่งเรื่อง "คำอธิษฐานของดวงดาว" ลงตีพิมพ์ใน[[หนังสือพิมพ์]]ประชาชาติวันอาทิตย์ นามปากกาได้กลายเป็น "บังใบ" ไป ซึ่ง[[มาลัย ชูพินิจ]] เป็นผู้ตั้งถวายโดยความเข้าใจผิด ชื่งต่อมาในภายหลังทรงเปลี่ยนมาใช้นามปากกา "ดวงดาว" ตลอดมา และมีผลงานติดต่อมาหลายเรื่อง เช่น นวนิยายเรื่อง "ผยอง", "เชลยศักดิ์" และ "เคหาสน์สีแดง"