ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แรพโซดีอินบลู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''แรพโซดีอินบลู''' ({{lang-en|Rhapsody in Blue}}) เป็นผลงานประพันธ์ของ[[จอร์จ เกิร์ชวิน]]สำหรับบรรเลงเดี่ยว[[เปียโน]]ร่วมกับวงดนตรีแจ๊ส เกิร์ชวินแต่งเพลงนี้ในปี ค.ศ. 1924 โดยผสมผสานระหว่างแนว[[ดนตรีคลาสสิก]]กับเทคนิคการเล่นแบบ[[แจ๊ส]]และ[[แร็กไทม์]] เป็นผลงานในแนวทดลองชิ้นแรกๆ ของเขา ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง สร้างชื่อเสียงให้กับเกิร์ชวินในฐานะนักแต่งเพลง ได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นดนตรีที่สื่อถึง[[เอกลักษณ์]]ของความเป็น[[นิวยอร์ก]] และเป็นเพลงหนึ่งที่ได้รับความนิยมที่สุดในสหรัฐอเมริกา <ref name=AH>Schwarz, Frederick D. (1999). [http://www.americanheritage.com/articles/magazine/ah/1999/1/1999_1_126.shtml Time Machine: 1924 Seventy-five Years Ago: Gershwin’s Rhapsody. ''American Heritage'' 50(1), February/March 1999]. Retrieved Feb 17 2007.</ref>
 
[[File:James Abbot McNeill Whistler 012.jpg|thumb|ภาพ ''Nocturne in Black and Gold: The Falling Rocket'' ของวิสต์เลอร์ ที่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิร์ชวิน]]
เกิร์ชวินแต่งเพลงนี้โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการนั่ง[[รถไฟ]]สาย[[บอสตัน]]-นิวยอร์ก โดยใช้จังหวะดนตรีเลียนแบบเสียงรางรถไฟ <ref>[http://www.washingtonpost.com/wp-srv/national/horizon/nov98/gershwin.htm George Gershwin: He Got Rhythm] Ron Cowen, The Washington Post</ref> และจากภาพ[[จิตรกรรมสีน้ำมัน]]ชื่อ ''Nocturne in Black and Gold: The Falling Rocket'' และ ''Arrangement in Gray and Black'' ผลงานของของ[[เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์]] <ref>Schiff, David (1997). Gershwin: Rhapsody in Blue. Cambridge University Press. ISBN 0-521-55077-7. p. 13</ref>
 
เกิร์ชวินใช้เวลาแต่งเพลงนี้เพียง 5 สัปดาห์ให้กับวงดนตรีของ[[พอล ไวท์แมน]] เพื่อใช้สำหรับบรรเลงในการแสดง[[คอนเสิร์ต]] ''An Experiment in Modern Music'' ที่หอประชุม Aeolian ในย่าน[[ไทม์สแควร์]] <ref>Schiff, David (1997). Gershwin: Rhapsody in Blue. Cambridge University Press. ISBN 0-521-55077-7. หน้า 53</ref> ในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 คอนเสิร์ตครั้งนี้มีนักแต่งเพลงคนสำคัญหลายคนเข้าร่วมแสดงและชมด้วย เช่น [[จอห์น ฟิลิป ซูซา]], [[เซอร์เก รัคมานินอฟ]] <ref>Downes, Olin (1924). "A Concert of Jazz". The New York Times. February 13, 1924. p. 16.</ref> ในการแสดงรอบปฐมทัศน์นี้ จอร์จ เกิร์ชวินเป็นผู้เล่นเปียโนด้วยตัวเอง