ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าซองจงแห่งโครยอ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
| ละตินเกาหลี = Seongjong
}}
'''พระเจ้าซองจงแห่งโครยอ''' ({{เกาหลี|성종|ฮันจา=成宗|MC2000=Seongjong|MR=Sŏngchong}} ค.ศ. 960 - ค.ศ. 997) กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง[[ราชวงศ์โครยอ]] (ค.ศ. 981 - ค.ศ. 997) ในรัชสมัยของพระองค์มีการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่เพื่อกำจัดอำนาจขุนนางท้องถิ่น และมีสงครามกับพวกคิตัน[[ราชวงศ์เหลียว]]
 
องค์ชายวัง ชี เป็นพระโอรสขององค์ชายวัง อก (왕욱, 王旭) พระราชโอรสของ[[พระเจ้าแทโจแห่งโครยอ|พระเจ้าแทโจ]] ในค.ศ. 981 [[พระเจ้าคยองจงแห่งโครยอ|พระเจ้าคยองจง]]สวรรคตแต่พระเยาว์ พระราชโอรสองค์ชายวัง ซง (왕송, 王訟 ภายหลังขึ้นครองราชย์เป็น[[พระเจ้ามกจงแห่งโครยอ|พระเจ้ามกจง]]) ก็พระชนมายุเพียง 2 พรรษา ไม่อาจขึ้นครองบ้านเมืองได้ บัลลังก์จึงตกมาสู่องค์ชายวัง ชี (왕치, 王治) ซึ่งเป็นพระโอรสขององค์ชายวังอก และเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าแทโจ เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าซองจงก็ทรงสถาปนาพระราชบิดาองค์ชายวัง อกเป็นพระเจ้าแทจง (대종, 戴宗)
 
ในค.ศ. 982 พระเจ้าซองจงทรงปฏิรูปการปกครองท้องถิ่นเสียใหม่ตามแบบจีน เดิมที่การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นของขุนนางที่ยึดครองดินแดนเหล่านั้นมาตั้งแต่ปลายสมัยชิลลา และตำแหน่งผู้ครองนครนั้นก็สามารถตกไปให้ลูกหลานได้<ref>http://www.koreanhistoryproject.org/Ket/C04/E0405.htm</ref> แต่พระเจ้าซองจงทรงเปลี่ยนใหม่ ทรงแบ่งอาณาจักรออกเป็น 12 ส่วน แต่ละส่วนมีเจ้าครองนครให้มีวาระการดำรงตำแหน่ง และสืบทอดไปยังลูกหลานไม่ได้ต้องได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางเท่านั้น เป็นการล้มล้างอำนาจของขุนนางท้องถิ่นที่มีมานานตั้งแต่ก่อตั้งอาณาจักร พระเจ้าซองจงยังทรงตั้งโรงเรียนขึ้นตามท้องถิ่นต่างๆเพื่อให้บุคคลที่มีความสามารถสอบ[[จอหงวน]]เข้ารับราชการมาแทนที่กลุ่มขุนนางเดิม
 
{{main|สงครามโครยอ-เหลียว}}
ในค.ศ. 983 ฮ่องเต้[[จักรพรรดิเหลียวเซิ่งจง|เหลียวเซิ่งจง]] (遼聖宗) มีพระราชโองการให้ทัพคิตันบุกยึดลุ่ม[[แม่น้ำยาลู]] ทำให้ต้องทำสงครามกับ[[ราชวงศ์ซ้อง]] ฮ่องเต้เซิ่งจงสร้างป้อมปราการขึ้นตามลุ่มแม่น้ำยาลูเพื่อกันไม่ให้พวก[[นูร์เชน]]ให้ความช่วยเหลือราชวงศ์ซ้อง แต่พระเจ้าซองจงทรงเห็นว่าพวกคิตันอาจจะมาบุกโครยอจึงสร้างป้อมปราการขึ้นบ้านบ้างตามแม่น้ำยาลู ฮ่องเต้เซิ่งจงเห็นดังนั้นก็เข้าใจว่าโครยอจะเป็นปฏิปักษ์ต่อตน จึงส่งทัพคิตันมาบุกภายใต้การนำของเซี่ยวเสี้ยวซุนหนิง (蕭遜寧) ทัพคิต้นบุกเข้ามาอย่างรวดเร็ว เผาทำลายบ้านเมือง แต่ถูกทัพโครยอหยุดไว้ได้ที่แม่น้ำชองชอน เซี่ยวซุนหนิงจึงมาเจรจาสงบศึกกับพระเจ้าซองจง
 
แต่ข้อเรียกร้องของเซี่ยวซุนหนิงนั้นรุนแรง คือต้องการให้โครยอยกดินแดนตอนเหนือให้เหลียว ตัดความสัมพันธ์กับราชวงศ์ซ้อง และมาเป็นประเทศราชของเหลียว ทำให้ราชสำนักโครยอแตกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายที่เห็นว่าควรยอมจำนนกับฝ่ายที่เห็นว่าควรสู้ต่อไป นำโดยแม่ทัพซอ ฮี แม่ทัพโครยอในศึกครั้งนี้ ระหว่างที่ราชสำนักกำลังถกเถียงกันอยู่เซี่ยวซุนหนิงก็ยกทัพบุกเข้ามาอีกทำให้ราชสำนักตกใจแทบสิ้นสติ แม่ทัพซอ ฮี จึงของอาสาเป็นผู้แทนเจรจากับพวกคิตัน แม่ทัพซอ ฮี (서희) หลอกเซี่ยวซุนหนิงว่า ดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลทางตอนเหนือรวมทั้ง[[คาบสมุทรเหลียวตง]]เป็นของอาณาจักรโคกูรยอ ดังนั้นจึงควรจะเป็นของโครยอด้วย และบอกอีกว่าโครยอจะยอมเป็นข้าของราชวงศ์เหลียวต่อเมื่อราชวงศ์เหลียวกำจัดพวกนูร์เชนที่อยู่ตามแม่น้ำยาลูออกไป เซี่ยวซุนหนิงเห็นว่า เหลียวก็ทำสงครามกับซ้องหนักอยู่แล้ว จะต้องมาปราบพวกนูร์เชนอีกคงไม่ไหว<ref>http://www.koreanhistoryproject.org/Ket/C04/E0406.htm</ref> จึงยกดินแดนทางตอนเหนือจรดแม่น้ำยาลูที่พวกนูร์เชนอาศัยอยู่ ให้โครยอไปเลยดีกว่า
 
สิ้นสุดสงครามราชสำนักโครยอเริ่มความสัมพันธ์ทางการทูตกับราชวงศ์เหลียว และตัดความสัมพันธ์กับราชวงศ์ซ้องไปชั่วคราว แม่ทัพซอ ฮี นำทัพเข้าปราบปรามชาวนูร์เชน ได้ดินแดนเพิ่มขึ้นไปจรดแม่น้ำยาลู พระเจ้าซองจงมีพระราชโองการให้สะสมกำลังกองทัพและสร้างป้อมปราการขนาดใหญ่ขึ้นหกแห่งที่ชายแดน
 
ค.ศ. 997 พระเจ้าซองจงสวรรคตไม่มีพระราชโอรสสืบบัลลังก์ [[พระเจ้ามกจง]]องค์ชายวังซงพระราชโอรสของพระเจ้าคยองจงจึงขึ้นครองราชย์ต่อเป็นพระเจ้ามกจง
 
 
 
 
เส้น 35 ⟶ 33:
*พระราชินีมุนด็อก
*พระสนมมุนฮวา