ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงชาติไอร์แลนด์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
[[ไฟล์:Flag of Ireland.svg|thumb|300px|[[ไฟล์:FIAV 111111.svg|20px]] ธงชาติไอร์แลนด์ สัดส่วนธง 1:2]]
 
'''[[ธงชาติ]][[สาธารณรัฐไอร์แลนด์]]''' ({{lang-ga|bratach na hÉireann}} / ''suaitheantas na hÉireann''<ref>[http://www.taoiseach.gov.ie/attached_files/html%20files/BunreachtNAhÉireann1.htm Bunreacht na hÉireann, Airteagal 7]</ref><ref>''[http://historical-debates.oireachtas.ie/D/0067/D.0067.193705110029.html Bunreacht na hEireann (Dréacht) – Dara Céim]'', Díospóireachtaí Parlaiminte, Dáil Éireann, Volume 67, 11 May, 1937</ref>) เป็น[[ธงสามสี]]รูป[[สี่เหลี่ยมผืนผืนผ้า]] พื้นธงแบ่งแถบสีตามแนวตั้ง แต่ละแถบมีขนาดเท่ากัน เรียงตามลำดับ คือ [[สีเขียว]] [[สีขาว]] และ[[สีแสด]] <ref>[http://www.taoiseach.gov.ie/index.asp?locID=194&docID=242 Department of the Taoiseach]</ref><ref>[http://www.taoiseach.gov.ie/index.asp?locID=194&docID=243 Constitution of Ireland - Bunreacht na hÉireann (Article 7)]</ref> ธงนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ธงไตรรงค์ไอริช" หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า "Irish tricolour"<ref>In the English language, when referring to the Irish tricolour, it is correctly pronounced as "''try''-colour" as opposed to "trickalour" for the French tricolour and other flags.{{Citation needed|date=May 2009}}</ref> สัดส่วนของธงกว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน โดยทางการแล้ว ความหมายของธงไชาติไอร์แลนด์มิได้มีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐ<ref name="Constitution">[http://www.constitution.org/cons/ireland/constitution_ireland-en.htm Bunreacht na hÉireann]</ref> แต่โดยทั่วไปแล้ว ได้มีนิยามความหมายของธงไว้ว่า สีเขียวคือสีแห่งความเป็น[[ชาตินิยม]]ของชาวไอริชตามธรรมเนียมปฏิบัติ สีแสดเป็นสีของกลุ่ม[[ออเรนจ์อินสติติวชั่น]] (Orange Institution) ซึ่งเป็นชื่อขององค์กร[[ศาสนาคริสต์]][[นิกายโปรแตสแตนท์]]แห่งหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในทางการเมืองของไอร์แลนด์ ส่วนสีขาวซึ่งแทรกอยู่ระหว่างสีทั้งสองถือเป็นสัญลักษณ์แห่ง[[สันติภาพ]]<ref name="Irish Government">[http://www.taoiseach.gov.ie/attached_files/Pdf%20files/The%20National%20Flag.pdf Taoiseach.gov.ie]</ref> สีขาวที่กลางธงนี้ยังอาจหมายถึงการสงบศึกครั้งสุดท้ายระหว่างฝ่ายสีเหลือกับฝ่ายสีแสดก็ได้<ref>[http://www.taoiseach.gov.ie/index.asp?locID=194&docID=242 'National Flag]' Department of the Taoiseach "Youth Zone" web page.</ref>
 
ประวัติของธงนี้เริ่มต้นในปี [[ค.ศ. 1848]] เมื่อกลุ่มสตรีชาวฝรั่งเศสกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่งที่เห็นใจในการต่อสู้ของชาวไอริชได้มอบธงสามสีธงนี้เป็นของขวัญแก่[[โทมัส ฟรานซิส มีเกอร์]] (Thomas Francis Meagher) ผู้นำ[[ขบวนการยังไอร์แลนด์]] (Young Ireland) ซึ่งเป็นขบวนการชาตินิยมไอร์แลนด์ที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง<ref name="Sean Duffy">Sean Duffy, The Concise History of Ireland, 2005</ref><ref name="Rick">Rick Steve's Ireland 2008</ref> อย่างไรก็ตามกว่าธงดังกล่าวจะได้ชักขึ้นครั้งแรกก็ล่วงเลยมาถึงปี [[ค.ศ. 1916]] เมื่อชาวไอริช[[การลุกฮือวันอีสเตอร์|ได้ลุกฮือต่อต้านสหราชอาณาจักร]]ในวันอีสเตอร์ของปีนั้น ธงสามสีของไอร์แลนด์ได้ถูกชักขึ้นเหนือที่ทำการไปรษณีย์กลางที่กรุง[[กรุงดับลิน]] จึงถือกันว่าธงสามสี เขียว-ขาว-แสด เริ่มมีฐานะเป็นธงชาติไอร์แลนด์ครั้งแรกในเหตุการณ์ครั้งนั้น<ref name=Design>[http://www.taoiseach.gov.ie/attached_files/Pdf%20files/The%20National%20Flag.pdf The National Flag: Design], Department of the Taoiseach.</ref>
 
ธงสามสีธงนี้ได้รับการยอมรับฐานะการเป็นธงชาติจาก[[สาธารณรัฐไอริช]]เมื่อปี [[ค.ศ. 1919]] ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่าง[[สงครามประกาศเอกราชไอร์แลนด์]] หลังจากนั้นรัฐบาลของ[[เสรีรัฐไอริช]] (ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1922 - 1937) จึงได้ให้สถานะเป็นธงชาติตามรัฐธรรมนูญของไอร์แลนด์ในปี [[ค.ศ. 1937]] ด้วยเหตุว่ากลุ่มชาตินิยมไอร์แลนด์จำนวนมากถือกันว่าธงนี้คือธงชาติของ[[เกาะไอร์แลนด์]]ทั้งหมด ทำให้กลุ่มชาตินิยม[[ไอร์แลนด์เหนือ]]จำนวนมากจึงใช้ธงชาติไอร์แลนด์เป็นสัญลักษณ์ของตนเช่นเดียวกับสมาคมนักกีฬาเกลิก (Gaelic Athletic Association) ซึ่งการใช้ธงดังกล่าวมักจะนำมาซึ่งความขัดแย้งอยู่เสมอ<ref>Sugden, John & Harvie, Scott (1995). [http://cain.ulst.ac.uk/csc/reports/sugdenharvie/sugdenharvie95-3.htm Sport and Community Relations in Northern Ireland], Centre for the Study of Conflict, School of History, Philosophy and Politics, Faculty of Humanities, [[University of Ulster]]. Retrieved on 14 June 2007.</ref>