ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สะพานกรุงธน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:KrungThon.jpg|thumb|300px|right|สะพานกรุงธนหรือสะพานซังฮี้]]
 
'''สะพานกรุงธน''' ({{lang-en|Krung Thon Bridge}}) หรือ '''สะพานซังฮี้''' เป็นสะพานข้าม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ที่บริเวณ[[ถนนราชวิถี]] เชื่อมระหว่างแชขวงแขวงวชิรพยาบาล [[เขตดุสิต]] กับแขวงบางพลัดและแขวงบางยี่ขัน [[เขตบางพลัด]] [[กรุงเทพมหานคร]] ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของ[[กรมทางหลวงชนบท]]
 
== ประวัติ ==
'''สะพานกรุงธน''' เริ่มก่อสร้างเมื่อ [[31 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2497]] โดยบริษัทฟูจิ คาร์แมนูแฟ็กเจอริง จำกัด ของ[[ประเทศญี่ปุ่น]]
ซึ่งมีบริษัท สหวิศวการโยธา จำกัด เป็นผู้แทนใน[[ประเทศไทย]] และได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2498]]
สะพานกรุงธนประกอบด้วยโครงสะพานเหล็กยาว 6 ช่วง เชิงสะพานทั้งสองฝั่งเป็นคอนกรีต มีทางเท้าทั้งขนาบสองข้าง
บรรทัด 11:
 
=== ปากเล่าจากชาวบ้าน ===
จากการเล่าของผู้เฒ่าชาวบ้านผู้ที่อยู่อาศัยบริเวณเขตบางพลัด และเคยมีส่วนร่วมในการก่อสร้างนั้น ได้กล่าวไว้ว่า ในขณะที่ก่อสร้าง จะมีการขุดหลุมเป็นหลาย ๆ หลุม มีขนาด 1 ตาราง[[ตารางวา]] และลึก 1 [[ศอก]] เพื่อจะได้ทำเป็นฐานราบที่มั่นคง เพราะว่าบริเวณนั้นเป็นบริเวณสวนริมแม่น้ำ เป็นหลุมเป็นบ่อ จึงต้องทำให้พื้นเรียบก่อนถึงจะสร้างได้
 
ส่วนดินที่จะขนมาอัดตรงหลุมนั้น ต้องไปนำมาจากสวนของตนเอง โดยนายจ้างจะจ่ายค่าแรงต่อหลุมให้ 12 [[บาท]]ซึ่งถือว่ามีค่ามากในสมัยนั้น พออัด[[ดิน]]ให้แน่นแล้ว ก็ต้องขน[[หิน]] และ[[ทราย]]มาอัดอีก แล้วจึงเท[[ปูน]]ลงใส่ จึงถือได้ว่าสะพานนี้ เป็นสะพานที่สร้างด้วยชาวบ้าน ไม่ใช่กรรมกร