ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏบวรเดช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 65:
เมรุชั่วคราวอันนี้ถือเป็นเมรุสามัญชนครั้งแรกบนท้องสนามหลวง ซึ่งก่อนหน้านั้นจะใช้เป็นที่ประกอบพิธีสำหรับเชื้อพระวงศ์เท่านั้น<ref>ชาตรี ประกิตนนทการ, เมรุคราวกบฏบวรเดช: เมรุสามัญชนครั้งแรกกลางท้องสนามหลวง, [[ฟ้าเดียวกัน]] [http://www.sameskybooks.org/ssmagshow.php?id=18 ปีที่ 5 ฉบับที่ 2] เม.ย.-มิ.ย. 2550, [[สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน]]</ref>
[[ไฟล์:19_153737_82.jpg|thumb|200px|อนุสาวรีย์หลักสี่ หรืออนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญในสมัยที่ยังใช้ชื่อว่าอนุสาวรีย์ปราบกบฏ]]
ต่อมาในวันที่ [[14 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2479]] ได้มีพิธีเปิดอนุสาวรีย์ปราบกบฎหรือ “[[อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญรัฐธรรมนูญ]]” ที่บริเวณ[[หลักสี่]] [[บางเขน]] ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สู้รบ เพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดชเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อเพียงตามแหล่งที่ตั้งว่า “อนุสาวรีย์หลักสี่”<ref name="Chatri" />
 
พ.ศ. 2482 นักโทษการเมืองจำนวนหนึ่งจากเหตุการณ์กบฏบวรเดชนี้ พร้อมกับนักโทษการเมืองอีกจำนวนหนึ่งจากเหตุการณ์[[กบฏนายสิบ]] ถูกส่งไปกักบริเวณอยู่ที่[[อ่าวตะโละอุดัง]] นิคมฝึกอาชีพตะรุเตา [[เกาะตะรุเตา]] [[จังหวัดสตูล]]<ref>การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, [http://www.tat.or.th/travelplacedet.asp?prov_id=91&id=926 อุทยานแห่งชาติตะรุเตา], ข้อมูลท่องเที่ยวจังหวัดสตูล, เว็บไซต์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย</ref> ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ[[อุทยานแห่งชาติตะรุเตา]]