ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระแก้ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
DaParz (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งลบ
บรรทัด 1:
{{ลบ}}
ในอดีต มีภูเขาอยู่ลูกหนึ่ง ตั้งอยู่หน้าสถานีรถไฟชุมทางทุ่งสง ชาวบ้านในระแวกนั้นเรียกภูเขาลูกนั้นว่า เขาดีปลี ได้ฟังต่อ ๆ กันมาว่า ถ้าหากผู้ใดขึ้นไปบนภูเขาลูกนี้แล้ว บางคนจะพบเห็นต้นและดอกดีปลีขนาดใหญ่ผิดปกติมากและถ้าใครเก็บดอกดีปลีเพื่อจะนำกลับไปบ้าน ก็จะเกิดอาถรรพ์ เดินหลงทางกลับลงจากภูเขาไม่ได้ ต้องเดินวกไปวนมาอยู่บนภูเขานั้น แต่เมื่อนำดอกดีปลีนั้นตั้งไว้ที่ต้นแล้ว ก็จะพบทางลงจากภูเขากลับลงได้ ชาวบ้านจึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า เขาดีปลี
คำว่า “ ดีปลี ” หมายถึง พืชชนิดหนึ่งซึ่งชาวบ้านปักษ์ใต้เรียกว่า ดีปลี มีรสเผ็ดร้อน อยู่ในสกุลเดียวกันกับพริกนั้นเอง มีประโยชน์สำหรับใช้ประกอบเป็นเครื่องปรุงอาหาร เช่น แกงเผ็ด หรือตำน้ำพริก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ตรวจการคณะสงฆ์ อ.ทุ่งสง ในครั้งนั้น ท่านพระอุดมศีลาจารย์ (ช่วย) วัดโคกหม้อ หรือวัดชัยชุมพล เป็นเจ้าคณะอำเภอทุ่งสง ได้นิมนต์เจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช ตรวจดูสถานที่เชิงเขาดีปลีแห่งนี้ เห็นว่าเป็นสถานที่สมควรจัดให้เป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ จึงได้ชวนชาวบ้านที่อยู่ใกล้เขาดีปลีมาประชุมกัน ที่ประชุมตกลงให้สร้างวัดขึ้น ณ ที่นี้ และให้เรียกภูเขาลูกนี้ว่า ภูเขาปรีดี ที่ตั้งวัดก็ให้เรียกว่า วัดเขาปรีดี ชาวบ้านต่างก็มีความสบายใจที่ได้สร้างวัดขึ้น และมีความพอใจกับชื่อของวัดและภูเขาปรีดีดังกล่าว เจ้าคณะอำเภอทุ่งสงในสมัยนั้นได้มอบหมายให้พระครูอินโทปมคุณ เจ้าอาวาสวัดเขากลาย ได้ช่วยพัฒนาวัดเขาปรีดี แห่งนี้โดยส่งพระสงฆ์มาอยู่เป็นผู้นำ ตามทราบชื่อพระสงฆ์นั้น ดังนี้
๑. พระจัน