ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สะพานมหาดไทยอุทิศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Heuristics (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''สะพานมหาดไทยอุทิศ''' เปิดใช้เป็นทางการเมื่อวันที่ [[23 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2457]] เป็นสะพานของ[[ถนนบริพัตร]] [[เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]] [[กรุงเทพมหานคร]] เพื่อข้าม[[คลองมหานาค]] ณ จุดบรรจบระหว่างคลองมหานาคกับ[[คลองโอ่งอ่าง-บางลำพู]] มาเชื่อมกับ[[ถนนดำรงรักษ์]]และ[[ถนนหลานหลวง]]
 
'''สะพานมหาดไทยอุทิศ''' ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับ[[ภูเขาทอง]] [[วัดสระเกศ]]และ[[ป้อมมหากาฬ]] สร้างขึ้นเพื่อเดพระเกียรติ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โดย[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] เสนาบดี[[กระทรวงมหาดไทย]]ร่วมกับข้าราชการของกระทรวงทั่วประเทศร่วมกันบริจาคค่าก่อสร้าง ซึ่งรวมเงินได้ 41,241 บาท 61 สตางค์ มอบให้กรมสุขาภิบาลเป็นผู้สร้าง สิ้นค่าก่อสร้างไปทั้งสิ้น 57,053 บาท 29 สตางค์ ส่วนที่เกินทรงโปรดเกล้าให้กรมสุขาภิบาลออกเงินสมทบ
 
 
การก่อสร้างสะพานมหาดไทยอุทิศเป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเพื่อให้การสัญจรไปมาสะดวกขึ้นเนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่รวมของถนนหลายสาย แต่เสด็จสวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามสะพานมหาดไทยอุทิศและโปรดเกล้าให้กรมสุขาภิบาลทำหุ่นจำลองตัวสะพพานไปตั้งถวายตัวในงานพระราชทานเพลิงพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย
 
 
สะพานมหาดไทยอุทิศมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและก่อสร้างตามวิธีสมัยใหม่ กลางราวสะพานมีภาพ[[ประติมากรรมนูนต่ำ]]เป็นรูปสตรีอุ้มเด็ก ในมือมีช่อซ่อนดอกกลิ่น ด้านซ้ายเป็นรูปผู้ชายยืนจับไหล่ของเด็ก เป็นภาพแสดงถึงความโศรกเศร้าอาลัยรำลึกในพระหมากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เส้น 12 ⟶ 9:
พระบาทสมเด็จพระมงกุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดสะพานด้วยพระองค์เองในคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 
==อ้างอิง==
* กนกวลี ชูชัยยะ. '''พจนานุกรมสามานยนามไทย: วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม.''' ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์เผยแพร่ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548.
 
[[หมวดหมู่:สะพานในกรุงเทพมหานคร|มหาดไทยอุทิศ]]
==อ้างอิง==
[[หมวดหมู่:เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย]]
* กนกวลี ชูชัยยะ '''พจนานุกรมสามานยนามไทย: วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม''' ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์เผยแพร่ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548