ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าติโลกราช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{เก็บกวาดบุคคล}}
 
'''พระเจ้าติโลกราช''' ([[พ.ศ. 1952]] – [[พ.ศ. 2030]]) [[กษัตริย์อาณาจักรล้านนา]]องค์ที่ 9 [[ราชวงศ์เม็งราย]] (ครองราชย์ [[พ.ศ. 1985]] – [[พ.ศ. 2030]]) พระนามเดิมคือ "เจ้าลก" หรือ "ท้าวลก" เนื่องจากเป็นพระโอรสองค์ที่ 6 ใน[[พญาสามฝั่งแกน]] ([[ลก]] ในภาษาไทเดิม มีความหมายว่า ลำดับที่ 6) ร่วมรัชสมัย[[สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ]] แห่ง[[กรุงศรีอยุธยา]]
 
== ขึ้นครองราชสมบัติ ==
พระเจ้าติโลกราช เดิมชื่อเจ้าลก ทรงประสูติในปี [[พ.ศ. 1952]] ทรงเป็นพระโอรสลำดับที่ 6 ใน[[พญาสามฝั่งแกน]] เมื่อทรงเจริญพระพรรษาถึงกาลสมควร พระบิดาทรงโปรดให้พระองค์ไปครอง[[เมืองพร้าววังหิน]]หรืออำเภอพร้าว จ.เชียงใหม่ ในปัจจุบัน ต่อมาเกิดราชการสงครามขึ้นแล้ว ทัพของเจ้าลก ยกไปสมทบพระบิดาช้า พระบิดาจึงทรงลงพระอาญา เนรเทศเจ้าลกไปครอง[[เมืองยวมใต้]]หรืออำเภอแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอนในปัจจุบัน
 
ต่อมามีอำมาตย์ของ[[พระเจ้าสามฝั่งแกนคน]]หนึ่งชื่อ "[[สามเด็กย้อย]]" คิดเอาราชสมบัติให้เจ้าลก จึงได้ซ่องสุมกำลังลอบไปรับเจ้าลกจากเมืองยวมใต้มาซ่อนตัวไว้ที่[[นครเชียงใหม่]] ในขณะที่[[พระเจ้าสามฝั่งแกน]]ประทับแปรพระราชฐานอยู่ที่[[เวียงเจ็ดลิน]] การเริ่มชิงราชสมบัติทำโดยการเผาเวียงเจ็ดลิน แล้วบังคับให้[[พระเจ้าสามฝั่งแกน]]สละราชสมบัติ [[พระเจ้าสามฝั่งแกน]]จึงจำต้องมอบราชสมบัติให้เจ้าลก เป็น[[พระเจ้าเชียงใหม่]]ในปี [[พ.ศ. 1985]] ทรงพระนามว่า '''พระมหาศรีสุธรรมติโลกราช''' มีพระชนมายุ 32 พรรษา ส่วนพระราชบิดาถูกส่งตัวไปไว้ที่ [[เมืองสาด]]- อยู่ในรัฐฉาน [[พม่า]] และปูนบำเหน็จความชอบ[[สามเด็กย้อย]]เป็น "[[เจ้าแสนขาน]]" แต่อยู่มาได้เพียง 1 เดือน 15 วัน [[เจ้าแสนขาน]]ก็คิดก่อการเป็นขบถอีก พระเจ้าติโลกราช จึงให้ "[[หมื่นโลกนคร]]" พระเจ้าอาของพระองค์ [[ผู้ครองเมืองลำปาง]] เข้าจับตัว[[เจ้าแสนขาน]]ไปคุมขังแต่ไม่ให้ทำร้าย เมื่อพ้นโทษได้ลดยศเป็น "[[หมื่นขาน]]" และให้ไปครอง[[เมืองเชียงแสน]]หรือ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ในปัจจุบัน แทน
 
== ราชการสงคราม ==