ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เดอะนัทแครกเกอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
เนื้อเรื่องกล่าวถึงเด็กหญิงชื่อ คลารา (หรือ มารี หรือ มารีอา หรือ มาชา) กับน้องชายชื่อ ฟริตซ์ (หรือ มีชา) เหตุการณ์เกิดขึ้นในช่วงเทศกาล[[คริสต์มาส]] เมื่อเจ้าชายที่ถูกสาปให้กลายเป็นที่กระเทาะเปลือกลูกนัท กลับมามีชีวิตชั่วคราว ต่อสู้กับราชา[[หนู]] และพากันผจญภัยในอาณาจักร[[ของเล่น]]ของเทพธิดาขนมหวาน (sugar plum fairy)
 
ไชคอฟสกีได้คัดเลือกบางส่วนของดนตรีประกอบบัลเลต์ ออกมาจัดแสดงคอนเสิร์ต ใช้ชื่อว่า "เดอะนัทแครกเกอร์สวีท โอปุสที่ 71 เอ" ({{lang-en|The Nutcracker Suite, Op. 71a}}) บรรเลงครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1892 เป็นผลงานชิ้นหนึ่งของไชคอฟสกีที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะท่อนโซโลส่วนหนึ่งขององก์ที่สอง ใช้ชื่อว่า "Dance of the Sugar Plum Fairy" <ref>Alexander Poznansky, ''Tchaikovsky: The Quest for the Inner Man'', p. 544</ref> และส่วนของการเต้นระบำนานาชาติ
 
เดอะนัทแครกเกอร์สวีท ได้รับการคัดเลือกจาก[[วอลต์ ดิสนีย์]] ให้เป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์แอนิเมชัน ''[[แฟนเทเชีย (ภาพยนตร์)|แฟนเทเชีย]]'' ในปี ค.ศ. 1940 อำนวยเพลงโดย[[ลีโอโปลด์ สโตคอฟสกี]] นอกจากนี้ยังเคยถูก[[ดุค เอลลิงตัน]] นำไปดัดแปลงเป็นดนตรี[[แจ๊ส]] ในปี ค.ศ. 1960 <ref name="Panorama">[http://www.depanorama.net/index.htm A Duke Ellington Panorama] accessed May 27, 2010</ref>