ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฌูอัน มิโร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
โคอัน มีโร ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ชูอัน มีโร
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
ในปี [[ค.ศ. 1919]] มีโรเดินทางไปปารีส ที่นั่นเองเขาได้พบกับศิลปินรุ่นพี่เชื้อชาติเดียวกันคือปีกัสโซ ซึ่งคบหากันเรื่อยมา มีโรได้รับอิทธิพลทางความคิดเกี่ยวกับ[[บาศกนิยม|ศิลปะบาศกนิยม]] (cubism) ผสานกับคตินิยมแบบดั้งเดิม (primitivism) เมื่อมีโรเดินทางกลับไปสเปน เขาพยายามแสวงหาแนวทางการสร้างสรรค์ของตนเอง แต่ก็ยังไม่พบแนวทางของตนเองอย่างแท้จริง ผลงานจิตรกรรมของมีโรในช่วงนี้ยังคงอาศัยรูปทรงธรรมชาติเป็นแนว หากแต่ได้ตัดรูปทรงที่ไม่ต้องการบางส่วนออกไปและเพิ่มเติมสีสันที่แปลกใหม่ตามความรู้สึกของเขาลงไป
 
ในปี [[ค.ศ. 1920]] มีโรเดินทางไป[[กรุงปารีส]]อีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้เขาเข้าร่วมกลุ่มกับ[[กลุ่มล้ำยุค|ศิลปินหัวก้าวหน้า]] ([[avant-gardeอาวองการ์ด]]) ในขณะนั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ศิลปะ[[คติดาดา]] (dadaism; dada) กำลังได้รับความสนใจจากศิลปินรุ่นใหม่ ต่อมาลัทธินี้ได้สลายตัวไป เกิด[[ลัทธิเหนือจริง]] (surrealism) ผู้ก่อตั้งลัทธินี้คือ [[อองเดร เบรอตง]] (André Breton กวีชาวฝรั่งเศส ค.ศ. 1896-1966) เบรอตงกล่าวว่า ลัทธิเหนือจริง (surrealim) คือสิ่งที่ดำเนินไปเองตามจิตที่บริสุทธิ์ อาจแสดงออกด้วยถ้อยคำและวิธีการอื่น ๆ โดยปราศจากการควบคุมตามกฎเกณฑ์เก่า ๆ [[ศิลปิน]]ด้าน[[ทัศนศิลป์]] ในลัทธินี้มีหลายคน เช่น [[ซัลบาดอร์ ดาลี]] [[ฟรานซิส เบคอน]] (Francis Bacon จิตรกร[[ชาวอังกฤษ]] เกิด ค.ศ. 1910) [[มักซ์ แอนสท์]] (Max Ernst จิตรกร[[ชาวเยอรมัน]] ค.ศ. 1891-1976) โดยกลุ่มศิลปินหัวก้าวหน้าซึ่งมีทั้ง [[นักคิด]] [[นักเขียน]] [[กวี]] และ[[จิตรกร]] มีโรสนใจแนวคิดของลัทธิที่เกิดขึ้นใหม่นี้มากเมื่อเขาได้พบกับเบรอตงในกรุงปารีส
 
ในปี [[ค.ศ. 1923]] เขากระตือรือร้นที่จะสร้างผลงานตามแนวคิดดังกล่าว มีโรจึงได้เข้าร่วมกับกลุ่มดังกล่าว แนวคิดของลัทธิเหนือจริงมีอิทธิพลต่อเขามากถึงกับประกาศว่า เขาจะฆ่าจิตรกรรมแบบเก่าที่เคยทำมาคือ[[สัจนิยม]]และ[[บาศกนิยม]] เพื่อหันมาสร้างสรรค์ผลงานแนวใหม่ตามความคิดของเขา เพื่อสะท้อนความคิดฝันและแรงปรารถนาที่ออกมาจากจิตใต้สำนึกอย่างฉับพลันและเป็นอิสระ ผลงานของมีโรสร้างความตื่นเต้นให้กับกลุ่มเซอร์เรียลลิสม์มาก