ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอศรีมโหสถ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aaroadsthai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 25:
* '''ทิศใต้''' ติดต่อกับ[[อำเภอพนมสารคาม]] ([[จังหวัดฉะเชิงเทรา]])
* '''ทิศตะวันตก''' ติดต่อกับ[[อำเภอบ้านสร้าง]]
 
== ชาวลาวเวียงจันทน์ในอ.ศรีมโหสถ ==
ในปีพ.ศ. 2369 มีการกวาดต้อน “ลาวเวียง” มาอยู่ศรีมโหสถ
บริเวณอำเภอศรีมโหสถที่เป็นป่าดงเริ่มมีชุมชนบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น เมื่อรัชกาลที่ 3 ยกทัพไปตีได้เวียงจัน (ลาว) เมื่อ พ.ศ.2369 แล้วให้กวาดต้อนลาวพวนกับลาวเวียงจันมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณป่าดงทางตะวันออกของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ นครนายก, ปราจีนบุรี, จนถึงฉะเชิงเทรา คือบริเวณลำน้ำท่าลาดที่ต่อไปจะได้ชื่อว่า พนมสารคาม มีลาวอีกกลุ่มหนึ่งไปตั้งบ้านเรือนอยู่พนัสนิคม (ชลบุรี)
 
ชาวลาวเวียง คือ ชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์ ในช่วงสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ของกองทัพสยาม ตั้งแต่สมัยธนบุรี - ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ หลังจากที่ฝ่ายไทยยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ และหลวงพระบาง
 
ครอบครัวเชลยชาวลาวเวียงจันทน์ถูกกวาดต้อนเข้ามาไทยในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 1 ปีพ.ศ. 2321 จากนั้นถูกกวาดต้อนเข้ามาอีกในการตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 2 ปีพ.ศ. 2335 และถูกกวาดต้อนเข้ามาเป็นครั้งที่ 3 ปีพ.ศ. 2369 - 2371 แต่ในสงครามตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 3 เมื่อปีพ.ศ. 2369 - 2371 กองทัพสยามได้กวาดต้อนผู้คนทั้งหมดในเขตเมืองเวียงจันทน์เข้ามาฝั่งไทย จนเวียงจันทน์ถึงกับเป็นเมืองร้างผู้คน
 
การตีเมืองเวียงจันทน์มีทั้งหมด 3 ครั้งดังนี้
 
1. การตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 1 ปีพ.ศ. 2321 (ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าตากสินแห่งกรุงธนบุรี) หลังจากพระเจ้าตากสินมหาราชกู้เอกราชจากพม่าได้แล้ว พระองค์ทรงขุ่นข้องหมองใจกับ "เจ้าสิริบุญสาร" ผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ เนื่องจากเจ้าสิริบุญสารช่วยเหลือพม่าในการตีกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งเจ้าสิริบุญสารได้ผิดใจกับคนลาวด้วยกันคือ พระวอและพระตา ที่อยู่ในความคุ้มครองของธนบุรีครั้นเดือนอ้าย ปีจอ พุทธศักราช ๒๓๒๑ (เดือนธันวาคม พ.ศ. 2321) พระเจ้าแผ่นดินสยาม คือ พระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรีทรงขุ่นข้องหมองใจกับพระเจ้าศิริบุญสารแห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต(นครเวียงจันทน์) เนื่องจากพระเจ้าศิริบุญสารนำเครื่องบรรณาการไปมอบแก่พระเจ้าอังวะและขอให้กองทัพพม่าไปช่วยตีพระยาวรราชภักดีที่เมืองจำปานคร(หนองบัวลำภู) ซึ่งเป็นกบฏต่อกรุงศรีสัตนาคนหุต(นครเวียงจันทน์)พระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรีจึงโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ กับเจ้าพระยาสุรสีห์ฯ ยกกองทัพบกจำนวน ๒๐,๐๐๐ ออกจากรุงธนบุรี ขึ้นไปตั้งประชุมพลที่เมืองนครราชสีมา จากนั้นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ให้เจ้าพระยาสุรสีห์ฯ แยกทัพลงไปกรุงกัมพูชา เกณฑ์กองทัพ ๑๐,๐๐๐ และต่อเรือรบ เรือไล่ แล้วให้ขุดคลองอ้อมเขาหลี่ผี ยกทัพเรือขึ้นไปตามลำน้ำโขง ไปบรรจบกองทัพบก ณ นครล้านช้างเวียงจันทน์กองทัพธนบุรีล้อมนครเวียงจันทน์ไว้ 4 เดือนถึงสามารถตีเมืองได้ เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบ ก็ทรงพระโสมนัสให้มีตราหากองทัพกลับยังพระมหานคร สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก จึงตั้งพระยาสุโภ ขุนนางเมืองล้านช้างให้อยู่รั้งเมือง แล้วนำครอบครัวเชลยชาวเมืองเวียงจันทน์หลายหมื่นครัวเรือน ขุนนางท้าวเพลี้ยทั้งปวง และราชบุตรพระเจ้าศิริบุญสารทั้งสามองค์คือเจ้านันทเสน เจ้าอินทวงศ์ เจ้าอนุวงศ์ กับทรัพย์สิ่งของเครื่องศาสตราวุธ ช้าง ม้า เป็นอันมาก และเชิญพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต กับ พระบาง เลิกทัพกลับยังกรุงธนบุรีโดยพระราชกำหนด กองทัพมาถึงเมืองสระบุรี ในเดือนยี่ ปีกุนหลังจากที่ตีและเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์ได้แล้วก็จึงกวาดต้อนครอบครัวเชลยศึกชาวเมืองเวียงจันทน์หลายหมื่นครัวเรือน ประมาณ 100,000 คน ข้ามแม่น้ำโขง มาอยู่ในเขตจังหวัดสระบุรี จันทบุรี และบางยี่ขัน ในบรรดาชาวเมืองเวียงจันทน์ที่ถูกกวาดต้อนมาก็มีโอรสของเจ้าสิริบุญสารรวมอยู่ด้วย 3 พระองค์ คือ เจ้านันทเสน เจ้าอินทวงศ์ และเจ้าอนุวงศ์
 
2. การตีเมืองเวียงจันทน์ครั้ง 2 ปี พ.ศ. 2335 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1 ) เจ้านันทเสนผู้ครองเมืองเวียงจันทน์ ได้ยกทัพไปตีเมืองพวนและเมืองแดง พร้อมกวาดต้อนครอบครัวลาวพวนและลาวทรงดำ มาถวายเพื่อแลกเปลี่ยนกับครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์ที่อยู่ในไทย แต่รัชกาลที่ 1 ทรงไม่ประทานให้และทรงปลดเจ้านันทเสนออกจากตำแหน่งเจ้าเมืองเวียงจันทน์ พร้อมกับทรงยกกองทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์กวาดต้อนครอบครัวชาวเวียงจันทน์เข้ามาในหัวเมืองชั้นในอีก
 
3. การตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งที่ 3 ปีพ.ศ. 2369 - 2371 (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3) เจ้าอนุวงศ์เจ้าเมืองเวียงจันทน์ไม่ยอมเป็นเมืองขึ้นต่อกรุงเทพ ได้ยกกองทัพเมืองเวียงจันทน์และกองทัพเมืองจำปาศักดิ์เข้ามายึดเมืองโคราช(นครราชสีมา) พร้อมกับยกกองทัพมากวาดต้อนครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์ในสระบุรีกลับคืนไปยังเวียงจันทน์ รัชกาลที่ 3 จึงโปรดให้ยกกองทัพไปปราบเจ้าอนุวงศ์ แล้วกองทัพสยามก็ได้กวาดต้อนครอบครัวชาวลาวเวียงจันทน์เข้ามาในประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง การกวาดต้อนชาวลาวเวียงครั้งนี้เป็นครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ชาวลาวเวียงถูกกวาดต้อนมา ซึ่งอาจมีครอบครัวเชลยศึกชาวลาวเวียงหลายแสนคนถูกกวาดต้อนมา และถูกจับแยกกันให้ไปอาศัยอยู่ในหลายพื้นที่ของไทย เพื่อง่ายแก่การปกครองและเพื่อไม่ให้ชาวลาวเวียงรวมกลุ่มกันได้
 
กองทัพสยามได้นำพาครอบครัวเชลยลาวเวียง ชาวเมืองเวียงจันทน์ข้ามแม่น้ำโขงและแบ่งแยกให้ไปอาศัยอยู่ตามที่สถานที่ต่างๆ ดังนี้
 
(1) จังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดสุรินทร์(หัวเมืองเขมรป่าดง) การยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทร์ จำปาศักดิ์จนได้รับชัยชนะ ได้กวาดต้อนชาวเวียงจันทร์มาเป็นจำนวนมาก มาอยู่ที่ ต.สิ ,ต.ขุนหาญ
,ต.ห้วยจันทน์ อำเภอขุนหาญ จ. ศรีสะเกษ ต.หมากเขียบ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ,บ้านตาอุด บ้านโสน อำเภอขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ส่วนในเขตจ.สุรินทร์ก็มีชาวลาวเวียงในเขตเมืองสุรินทร์และเมืองสังขะ
 
(2) จังหวัดสระบุรี ซึ่งน่าจะมีชาวลาวเวียงจันทน์เยอะที่สุด เพราะถูกกวาดต้อนเข้ามาตั้งแต่สงครามตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งแรกในสมัยธนบุรี ชาวลาวเวียง คือชาวลาวจากเวียงจันทน์ ปัจจุบันมีอยู่มากที่อำเภอแก่งคอย อำเภอหนองแค อำเภอหนองแซง อำเภอวิหารแดง อำเภอเสาไห้ และอำเภอบ้านหมอ ลาวแง้ว คือชาวลาวที่มาจากชนบทชานเมืองเวียงจันทน์ ปัจจุบันอยู่ที่บ้านตาลเสี้ยน บ้านหนองระกำ อำเภอพระพุทธบาท และบางหมู่บ้านในอำเภอหนองโดน
 
(3) จังหวัดลพบุรี มีชุมชนชาวลาวเวียงในลพบุรี แต่ถูกเรียกว่า "ลาวแง้ว" เพราะชาวลาวแง้วมาจากเขตชานเมืองเวียงจันทน์
 
(4) จังหวัดราชบุรี ไทยลาวตี้ หรือไทยลาวเวียง เป็นคนเชื้อสายลาวจากเมืองเวียงจันทน์ เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตเมืองราชบุรี(จริงๆแล้วถูกกวาดต้อนเข้ามาในฐานะเชลยศึก) ตั้งแต่สมัยธนบุรีตลอดมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ที่เขาแร้ง อำเภอเมือง ฯ บ้านฆ้อง บ้านบ่อมะกรูด บ้านเลือก บ้านสิงห์ บ้านกำแพงเหนือ บ้านกำแพงใต้ บ้านดอนทราย บ้านหนองรี บ้านบางลาน อำเภอโพธาราม บ้านดอนเสลา บ้านหนองปลาดุก บ้านหนองอ้อ บ้านฆ้องน้อย อำเภอบ้านโป่ง บ้านนาสมอ บ้านสูงเนิน บ้านทำเนียบ บ้านเกาะ บ้านหนอง บ้านเก่า บ้านวังมะเดื่อ อำเภอจอมบึง
 
(5) จังหวัดในแถบภาคตะวันออกมีชุมชนชาวลาวเวียงกระจายกันอยู่ทั่วไป เช่น จังหวัดนครนายก
อำเภอศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี อำเภอสนามชัยเขต,อำเภอพนมสารคาม,อำเภอเมือง จ.ฉะเชิงเทรา อำเภอพนัสนิคม จ.ชลบุรี
 
(6) จังหวัดอ่างทองและอำเภอบ้านไร่ จ. อุทัยธานี ก็มีชุมชนลาวเวียงเช่นกัน
 
(7) จังหวัดเพชรบุรี มีชุนชนลาวเวียงบ้านสระพัง อำเภอเขาย้อย จ. เพชรบุรี
 
(8) จังหวัดสุพรรณบุรี มีชุมชนลาวเวียงในเขต อำเภออู่ทอง จ. สุพรรณบุรี
 
(9) บางกอก หรือ กรุงเทพมหานคร ชาวลาวเวียงที่ได้ถูกนำเข้าไปอยู่ในเขตพระนคร ส่วนใหญ่จะเป็นขุนนางที่มีการศึกษาหรือไม่ก็เชื้อพระวงศ์เวียงจันทน์ทั้งหลาย ในสมัย ร.4 ชาวบางกอกนิยม "แอ่วลาว" หรือ "เล่นแคน" กันมากจนรัชกาลที่ 4 ต้องสั่งห้ามไม่ให้ชาวบางกอกเล่นแคนในเขตพระนคร ชาวลาวเวียงในเขตพระนครก็ได้เข้ารับราชการและเป็นใหญ่เป็นโตมากมาย เช่น พลเอก เชาวลิต ยงใจยุทธ หรือ แม้แต่สมเด็จย่า ท่านก็เคยกล่าวไว้ว่า ครอบครัวของท่านมาจากเวียงจันทน์และครอบครัวท่านก็นิยมรับประทานข้าวเหนียว
 
== การปกครองส่วนภูมิภาค ==