ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทรัพย์สิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Idioma-bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ang, lt ลบ: ka, no แก้ไข: pt
Clumsy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 57:
'''ทรัพย์''' ({{lang-en|thing}}) หมายถึง วัตถุมีรูปร่าง ซึ่งได้แก่สิ่งที่มองเห็นได้ด้วยตา สัมผัสได้ด้วยมือ อาทิ โต๊ะ ตู้ ตั่ง เตียง ช้าง มา วัว ควาย เป็นคำมาจากคำใน[[ภาษาสันสกฤต]]ว่า "ทฺรวฺย"<ref name = RoyinDict>ราชบัณฑิตยสถาน, 2551 : ออนไลน์.</ref>
 
'''ทรัพย์สิน''' หรือเดิมเรียก '''ทรัพย์สมบัติ'''<ref name = "Civil Procedure Act, RS 115-Section 10">ดู มาตรา 10 แห่ง [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2439/033/367.PDF พระราชบัญญัติกระบวนพิจารณาความแพ่ง รัตนโกสินทรศก 115]</ref> ({{lang-en|property, (โบราณ) propriety}}) หมายความถึง วัตถุทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นวัตถุมีรูปร่าง ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นวัตถุไม่มีรูปร่าง<ref name = RoyinDict/> ซึ่งแบ่งประเภทเป็น [[อสังหาริมทรัพย์]]-[[สังหาริมทรัพย์]] ซึ่งเดิมเรียก ทรัพย์สมบัติอันที่พึงเคลื่อนจากที่ได้-ทรัพย์สมบัติอันที่ไม่พึงเคลื่อนจากที่ได้<ref name = "Civil Procedure Act, RS 115-Section 10"/>, [[ทรัพย์แบ่งได้]]-[[ทรัพย์แบ่งไม่ได้]] และ [[ทรัพย์ในพาณิชย์]]-[[ทรัพย์นอกพาณิชย์]] นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งทรัพย์สินออกเป็น [[สังกมทรัพย์]]-[[อสังกมทรัพย์]], [[วิญญาณกทรัพย์]]-[[อวิญญาณกทรัพย์]] และ [[โภคยทรัพย์]] ซึ่งปัจจุบันได้ยกเลิกไปหมดแล้วใน[[ประเทศไทย]]<ref>บัญญัติ สุชีวะ, 2551 : 9.</ref> <ref>ไพจิตร ปุญญพันธุ์, 2539 : 862-865.</ref> <ref name = Manit-27>มานิตย์ จุมปา, 2551 : 27.</ref>
 
บุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สิน สิทธิเช่นนี้เรียก "[[ทรัพยสิทธิ]]" ({{lang-en|real right}}) อันมีขึ้นได้ก็แต่เฉพาะที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น อาทิ [[กรรมสิทธิ์]] [[สิทธิครอบครอง]] โดยเฉพาะผู้ทรงกรรมสิทธิ์นั้นย่อมมีอำนาจที่จะใช้สอย จำหน่ายจ่ายโอน ได้ดอกผล กับทั้งติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตน รวมถึงขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย