ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอกราช เก่งทุกทาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Iro (คุย | ส่วนร่วม)
แจ้งต้องการอ้างอิงด้วยสจห.
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
{{เพิ่มอ้างอิง}}
บรรทัด 1:
{{ต้องการเพิ่มอ้างอิง}}
{{ลิงก์ไปภาษาอื่น}}
[[ไฟล์:Ekarat.jpg|thumb|200px|เอกราช เก่งทุกทาง]]
'''นายเอกราช เก่งทุกทาง''' ([[ชื่อเล่น]]: หนุ่ย) [[ผู้บรรยายกีฬา]]ทาง[[ทรูวิชั่นส์]] และ[[ไทยทีวีสีช่อง 3]], [[คอลัมนิสต์]]เกี่ยวกับ[[ฟุตบอล]] ใน[[หนังสือพิมพ์]]หลายฉบับ ปัจจุบัน (ตั้งแต่[[พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2552]]) ดำรงตำแหน่ง[[บรรณาธิการ]]อำนวยการ [[นิตยสาร]][[โฟร์โฟร์ทู (ภาษาไทย)]] ซึ่งได้รับ[[ลิขสิทธิ์]]ในการผลิตอย่างถูกต้องจาก [[:en:FourFourTwo|FourFourTwo Magazine]] [[ประเทศอังกฤษ]]<ref>[http://www.ryt9.com/s/bmnd/748532 “FourFourTwo” นิตยสารเพื่อคอฟุตบอล] จาก[[เว็บไซต์]][http://www.ryt9.com อะไรที่ไหนดอตคอม]</ref>
 
== ประวัติ ==
บรรทัด 9:
จากนั้นจึงเริ่มงาน จากการเป็นคอมเมนเตเตอร์ หรือผู้ให้ทัศนะเสริม ในการบรรยายกีฬาชนิดต่างๆ แต่ที่ทำได้ดีที่สุดคือฟุตบอล ปัจจุบัน นอกจากการเป็นผู้บรรยายกีฬาทางทรูวิชั่นส์แล้ว ยังเป็นคอลัมนิสต์ประจำหน้ากีฬา หนังสือพิมพ์[[มติชนรายวัน]] และเคยเป็นคอลัมนิสต์ของเครือสยามสปอร์ต โดยใช้[[นามปากกา]]ว่า ''ขุนไข่'' อีกด้วย
 
เอกราชได้รับการยกย่องว่า เป็นผู้บรรยายการแข่งขันฟุตบอลที่มีความสามารถมากที่สุดคนหนึ่งในปัจจุบัน จนได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้พากษ์ในนัดชิงชนะเลิศ[[ฟุตบอลโลก 2002]] ที่[[ญี่ปุ่น]]-[[เกาหลีใต้]] และ นัดชิงชนะเลิศ[[ฟุตบอลโลก 2006]] ที่[[เยอรมนี]] เป็นต้น ในปี [[พ.ศ. 2546]] ได้รับการชักชวนจาก[[สรยุทธ สุทัศนะจินดา]] เป็น[[พิธีกร]]ร่วม ใน[[รายการโทรทัศน์]] ''[[เรื่องเล่าเช้านี้]]'' ทาง[[ไทยทีวีสีช่อง 3]] ในส่วนของข่าวกีฬา และข่าวต่างประเทศ และเป็นคนแรกที่เปิดเผยออกอากาศว่า ชื่อเดิมของ [[ปุณยวีร์ สุขกุลวรเศรษฐ์]] คือ ''ไทรทอง หุ่นศาสตร์''
 
นอกจากนี้ ช่วงก่อนที่รายการ[[คุยคุ้ยข่าว]]สุดสัปดาห์จะปิดตัวลง (ราวปลายปี [[พ.ศ. 2549]]; สลับกับ [[ณัฐธีร์ โกศลพิศิษฐ์]]) และในการรายงานข่าว[[แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547|เหตุการณ์คลื่นสึนามิถล่มภาคใต้]] เมื่อวันที่ [[26 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2547]] เอกราชเข้าช่วยสรยุทธดำเนินรายการ ที่ห้องส่ง[[สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์]]ด้วย อนึ่ง เอกราชเคยมีบทบาทการแสดงใน[[ภาพยนตร์ไทย]]เรื่อง ''[[ดรีมทีม]]'' เมื่อปี [[พ.ศ. 2551]] โดยรับบทเป็นพ่อของตัวละครเด็กในเรื่อง นอกจากเรื่องกีฬาแล้ว เอกราชยังเคยเป็นบรรณาธิการนิตยสาร[[เอฟเอชเอ็ม (ภาษาไทย)]] มาก่อน