ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปูเขียว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{Taxobox | image = Live_Mud_Crabs.jpg | image_caption = ปูทะเลมีชีวิตในตลาดสดที่ออสเตรเลีย ...
 
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ต้องการสรุป
บรรทัด 1:
{{ต้องการสรุป}}
{{Taxobox
| image = Live_Mud_Crabs.jpg
เส้น 18 ⟶ 19:
'''ปูทะเล''' หรือ '''ปูดำ''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: serrated mud crab, mangrove crab, black crab, [[ชื่อวิทยาศาสตร์]]: ''Scylla serrata'') เป็น[[ปู]][[สปีชีส์|ชนิด]]หนึ่งที่อาศัยอยู่ใน[[ทะเล]]
 
== ลักษณะ ==
มีลักษณะกระดองกลมรีเป็น[[รูปไข่]] [[สีดำ]]ปน[[แดง]]หรือ[[สีน้ำตาล]]เข้ม ขอบระหว่างนัยน์ตามีหนาม 4 อัน ส่วนด้านข้างนัยน์ตาแต่ละข้างมีหนามข้างละ 8-9 อัน ก้ามจะมีหนามแหลม ส่วนขาอื่น ๆ ไม่มีหนาม ตัวผู้จะมีก้ามขนาดใหญ่แข็งแรงกว่าตัวเมียอย่างเห็นได้ชัด เจริญเติบโตด้วยวิธีการ[[ลอกคราบ]] โดยตรงขอบหลังของกระดองจะเผยออกให้เห็นกระดองใหม่ยังเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ ซึ่งเรียกว่า ปูสองกระดอง ถ้าหากเป็นตัวเมียที่มีความสมบูรณ์เพศจะมี[[ไข่]]อยู่ในกระดอง ซึ่งพบมากในเดือน[[พฤศจิกายน]] ปลายสุดของขาคู่ที่ 2-4 มีลักษณะแหลมเรียกว่า "ขาดิน" ทำหน้าที่ในการ[[เดิน]]เคลื่อนที่ ส่วนขาคู่ที่ 5 เป็นคู่สุดท้ายเรียกว่า "ขาว่ายน้ำ"ตอนปลายสุดของขาคู่นี้มีลักษณะแบนคล้ายใบพาย ใช้สำหรับ[[ว่ายน้ำ]]
 
เส้น 25 ⟶ 26:
ปูทะเลในบางแหล่งจะมีสีสันที่แตกต่างกันออกไปมากมาย ทั้ง [[สีเขียว]]หม่น, [[สีน้ำเงิน|สีฟ้า]], [[สีขาว]]อ่อน ๆ หรือ[[สีเหลือง]] ซึ่งปูเหล่านี้จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เช่น ปูทองโหลง, ปูทองหลาง, ปูขาว เป็นต้น<ref>[http://guru.sanook.com/dictionary/dict_fish/%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5/ ปูทะเล]</ref>
 
== การขยายพันธุ์ ==
ฤดูกาลวางไข่ผสมพันธุ์ของปูทะเลอยู่ในช่วงเดือน[[กันยายน]]-[[ธันวาคม]] แม่ปูจะมีไข่ในระหว่างเดือนกันยายน-[[ตุลาคม]] สามารถ
วางไข่ได้ตลอดทั้งปี โดยจะวางไข่ชุกชุมในระหว่างเดือน[[สิงหาคม]]-ธันวาคม ไข่ของปูทะเลจะมี[[สีส้ม]]แดง เมื่อไข่แก่ขึ้นจะเป็นสีน้ำตาลเกือบดำ ซึ่งจะถูกปล่อยออกมานอกกระดองบริเวณใต้จับปิ้ง<ref>[http://www.nicaonline.com/new-20.htm การเพาะเลี้ยงปูทะเล]</ref>
 
== การกระจายพันธุ์และความสำคัญต่อมนุษย์ ==
พบกระจายพันธุ์อยู่ตามแถบชายฝั่งของ[[แอฟริกา]], [[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]จนถึง[[ออสเตรเลีย]] โดยอาศัยอยู่ในโคลนตมตาม[[ป่าชายเลน]]หรือปาก[[แม่น้ำ]]ที่น้ำท่วมถึง กินอาหารจำพวก[[สัตว์น้ำ]]ขนาดเล็ก ซาก[[พืช]] ซาก[[สัตว์]]ต่าง ๆ สำหรับใน[[ประเทศไทย]]พบได้ทั้งฝั่ง[[อ่าวไทย]]และ[[ทะเลอันดามัน|ฝั่งอันดามัน]]
 
เส้น 36 ⟶ 37:
ปูทะเลเป็นที่นิยมรับประทานอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเวลาที่กำลังลอกคราบเพราะเนื้อปูจะนิ่ม กระดองยังไม่แข็งเท่าไหร่ ซึ่งเรียกว่า "ปูนิ่ม"<ref>[http://ranong.doae.go.th/Otoppunim.htm สารคดีเกษตร ปูนิ่ม]</ref>
 
== อ้างอิง ==
* {{รายการอ้างอิง}}
[[หมวดหมู่:ปู]]
[[หมวดหมู่:สัตว์เศรษฐกิจ]]