ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอเคอร์ (อิสราเอล)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Luckas-bot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: hu:Akkón
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
replaceViaLink
บรรทัด 32:
นักประวัติศาสตร์กรีกเรียกเมืองนี้ว่า “Ake” ที่แปลว่า “รักษา” ตามตำนานที่ว่าเฮราคลีสพบพันธ์ไม้สมุนไพรที่สามารถใช้ในการรักษาแผลของตนเองได้<ref>''The Guide to Israel'', Zev Vilnay, Ahiever, Jerusalem, 1972, p. 396</ref> นักประวัติศาสตร์กรีก[[โจซีฟัส]]เรียกเมืองนี้ว่า “Akre” ต่อมาไม่นานหลังจากที่ถูกยึดโดย[[อเล็กซานเดอร์มหาราช]]เอเคอร์ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “Antiochia Ptolemais” (อันติโอเคียโทเลเมส์) หลังจากที่อเล็กซานเดอร์มหาราชทรงแบ่งราชอาณาจักร เอเคอร์ก็ปกครองโดย[[ราชวงศ์ทอเลมี|ทอเลมี โซเตอร์]]<ref>{{cite web|url=http://www.bibleplaces.com/acco.htm|title=Acco, Ptolemais, Acre|publisher=BiblePlaces.com|accessdate=2008-10-20}}</ref>
 
นักประวัติศาสตร์กรีก[[สตราโบ]] (Strabo) กล่าวถึงเอเคอร์ว่าเป็นเมืองที่เป็นที่เป็นสนามรบในการต่อสู้เมื่อ[[จักรวรรดิเปอร์เชีย|เปอร์เชีย]]มารณรงค์ต่อต้าน[[อียิปต์]] ราว 165 ปีก่อนคริสต์ศักราช[[ไซมอน แม็คคาเบียส]] (Simon Maccabaeus) ได้รับชัยชนะต่อซีเรียหลายครั้งในยุทธการในบริเวณกาลิลี และได้ขับซีเรียเข้าไปในเมืองโทเลเมส์ ราว 153 ปีก่อนคริสต์ศักราช[[อเล็กซานเดอร์ บาลัส]] (Alexander Balas) ลูกของ[[อันติโอคัสที่ 4 แห่งอีพิฟานีส]] (Antiochus IV Epiphanes) ผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ซีเรียต่อ[[เดมิเทรียสที่ 1 โซเตอร์]] (Demetrius I Soter) ก็ยึดโทเลเมส์ที่เปิดประตูให้ เดมิเทรียสพยายามติดสินบนฝ่าย[[แม็คคาบีส]] (Maccabees) โดยใช้เงินที่รวมทั้งเงินที่มาจากรายได้ของโทเลเมส์สำหรับการบำรุง[[วัดแห่งเยรุซาเล็มเยรูซาเลม]] เพื่อหาเสียงสนับสนุนจากชนยิวในการต่อต้านบาลัสแต่ก็ไม่สำเร็จ [[โจนาธาน แม็คคาเบียส]] (Jonathan Maccabaeus) หันไปสนับสนุนบาลัส และในปี 150 ปีก่อนคริสต์ศักราชโจนาธานก็ได้รับการรับรองเป็นอย่างดีโดยบาลัสในโทเลเมส์ แต่หลายปีต่อมาไทรฟอนเจ้าหน้าที่ชาวซีเรียเกิดความไม่ไว้วางใจในตัวแม็คคาเบียสและล่อลวงตัวไปจับตัวเป็นนักโทษ
 
โทเลเมส์ถูกยึดโดย[[อเล็กซานเดอร์ แจนเนียส]] (Alexander Jannaeus), โดย[[คลีโอพัตราที่ 7 แห่งอียิปต์]] (Cleopatra VII of Egypt) และต่อมาโดย [[ไทเกรนีสมหาราช]] (Tigranes the Great) นอกจากนั้นโทเลเมส์ก็ยังเป็นที่ที่[[พระเจ้าแฮรอดมหาราช]]ทรงสร้าง[[โรงพลศึกษากรีก]] (Greek gymnasium) และเป็นที่ที่ชาวยิวมาพบเพโทรเนียสผู้ที่ถูกส่งมาติดตั้งประติมากรรมของจักรพรรดิโรมันในวัดของชาวยิว และพยายามหว่านล้อมให้เพโทรเนียสเดินทางกลับไปโรม [[นักบุญพอล]]ใช้เวลาวันหนึ่งในโทเลเมส์ (กิจการ 21:7) โรมันก่อตั้งเมืองเป็นอาณานิคมที่เรียกว่า “โคโลเนีย คลอเดอี เซซารี” (Colonia Claudii Cæsaris)
บรรทัด 40:
=== การปกครองโดยอาหรับและโดยนักรบครูเสด ===
[[ไฟล์:Akko19th.jpg|thumb|left|220px|เมืองเอเคอร์เก่าเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20]]
หลังจากกองทหารของ[[เฮราคลิอุส]] (Heraclius) แห่ง[[จักรวรรดิไบแซนไทน์]]ถูกทำลายโดยกองทัพมุสลิมของ [[คาลิด อิบน์ อัล-วาลิด]] (Khalid ibn al-Walid) ใน[[ยุทธการยาร์มุค]] (Battle of Yarmouk) และเมืองคริสเตียนแห่ง[[เยรุซาเล็มเยรูซาเลม]]ตกไปเป็นของกาหลิบ[[อุมาร์]] (Umar) แล้ว เอเคอร์ก็ตกไปเป็นของ[[อาณาจักรกาหลิบราชิดัน]] (Rashidun Caliphate) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 638, ต่อมา[[อาณาจักรกาหลิบอูมายยัด]] (Umayyad Caliphate) และต่อมา[[อาณาจักรกาหลิบอับบาซิด]] (Abbasid Caliphate) จนกระทั่งมาถูกยึดโดย[[บอลด์วินที่ 1 แห่งเยรุซาเล็มเยรูซาเลม]] ระหว่าง[[สงครามครูเสดครั้งที่ 1]] ในปี ค.ศ. 1104 หลังจากนั้นนักรบครูเสดก็สร้างเอเคอร์ให้เป็นเมืองท่าหลักในปาเลสไตน์<ref name="jewishmag1">{{cite web|url=http://www.jewishmag.com/30MAG/acco/acco.htm |title=Archaeology in Israel - Acco (Acre) |publisher=Jewishmag.com |date= |accessdate=2009-05-05}}</ref> เอเคอร์ถูกยึดกลับไปเป็นของฝ่ายมุสลิมโดยSaladin[[ศอลาฮุดดีน]]ในปี ค.ศ. 1187 แต่อีกสองปีต่อมาก็มาถูกล้อมโดยไม่คาดโดย[[กีแห่งลูซิยอง]] (Guy of Lusignan) แต่ก็ยึดไม่ได้จนกระทั่งเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1191 โดย[[สมเด็จพระเจ้าริชาร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ]], [[พระเจ้าฟิลิปที่ 2 แห่งฝรั่งเศส]] และ[[เลโอโปลด์ที่ 5 ดยุคแห่งออสเตรีย]] และกองทัพเยอรมันบางส่วนและกองทัพครูเสด เอเคอร์จึงกลายเป็นเมืองหลวงของ[[ราชอาณาจักรเยรุซาเล็มเยรูซาเลม]]ที่ยังเหลืออยู่ในปี ค.ศ. 1192 ต่อมาในปี ค.ศ. 1229 เอเคอร์ก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของ[[อัศวินเซนต์จอห์น]] นักรบครูเสดเรียกเมืองนี้ว่า “เอเคอร์” หรือ “เซนต์จอห์นแห่งเอเคอร์” หรือ “แซงต์-ฌองดาเครอ” (Saint-Jean d'Acre) เพราะเข้าใจผิดว่าเป็นเมือง[[เอครอน]] (Ekron) ของ[[ฟิลลิสตีน]] (Philistines) ทางตอนเหนือของ[[ฟิลลิสตีน|ฟิลลิสเชีย]]ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตอนไต้ของอิสราเอล เอเคอร์เป็นที่ตั้งมั่นสุดท้ายของนักรบครูเสดที่มาเสียแก่[[มามลุค]] (Mamluk) แห่ง[[อาณาจักรกาหลิบอับบาซิด]] (Abbasid Caliphate) หลังจาก[[การล้อมเอเคอร์ (ค.ศ. 1291)|การถูกล้อม]]ในปี ค.ศ. 1291
 
ตัวเมืองเก่าของเอเคอร์<ref>UNESCO: Old City of Acre[http://whc.unesco.org/en/list/1042]</ref> ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น[[มรดกโลก]]โดยองค์การ[[ยูเนสโก]]เมื่อปี ค.ศ. 2001